นักวิเคราะห์การเลือกตั้งกัมพูชาระบุว่าสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาชนกัมพูชาหรือพรรค CPP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆมารวมทั้งในครั้งล่าสุดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความผิดปกติในคูหาเลือกตั้งต่างๆ รวมถึงการที่มีเจ้าหน้าที่ของพรรค CPP หลายคนไปปรากฎตัวที่คูหาเลือกตั้งหลายแห่ง
คุณมู โซคัว คือสมาชิกของพรรคฝ่ายค้าน สม รังสี (Sam Rainsy) หรือ SRP ซึ่งพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ แม้แต่ในเขตที่พรรคมีฐานเสียงเข้มแข็งเช่นในกรุงพนมเปญ เธอให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับวีโอเอว่าเธอพบเห็นการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหลายอย่าง รวมทั้งการข่มขู่คุกคามผู้ลงคะแนน และยังเห็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลส่วนท้องถิ่นหลายคนยืนอยู่กับสมาชิกพรรค CPP ข้างๆคูหาเลือกตั้งหลายแห่ง ซึ่งเธอเชื่อว่าการที่มีสมาชิกพรรค CPP ปรากฎตัวอยู่ข้างคูหาเลือกตั้งต่างๆนั้นมีผลต่อการลงคะแนนของผู้มีสิทธิออกเสียงแน่นอน
ทางด้านผู้สังเกตุการณ์การเลือกตั้งกัมพูชา คุณตุน สะร่าย ซึ่งเป็นประธานกลุ่มสิทธิมนุษยชน Adhoc ชี้ว่าที่ผ่านมาพรรค CPP ได้รับประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในสังคมกัมพูชามายาวนาน โดยปกตินักการเมืองท้องถิ่นจะเป็นผู้บริจาคเงินหรือสิ่งของต่างๆให้กับชาวบ้านแลกกับคะแนนเสียง ซึ่งหากชาวบ้านครอบครัวใดหรือหมู่บ้านใดไม่ลงคะแนนให้นักการเมืองผู้นั้น หมู่บ้านนั้นก็อาจจะไม่ได้รับของบริจาคในคราวต่อไป ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติในกัมพูชา
อย่างไรก็ตามคุณตุน สะร่าย ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการขององค์กรตรวจสอบการเลือกตั้ง Comfrel อีกตำแหน่งหนึ่ง กล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าบางอย่างในกระบวนการเลือกตั้งของกัมพูชา เนื่องจากมีการข่มขู่คุกคามและความรุนแรงน้อยลงกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน แม้จะยังมีปัญหาอยู่บ้างเรื่องการใช้เจ้าหน้าที่รัฐบาล ตำรวจ ทหารและสื่อมวลชนของรัฐในการช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับพรรครัฐบาล CPP ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า กัมพูชายังต้องเดินทางอีกไกลกว่าจะสามารถประกาศได้เต็มปากเต็มคำว่ามีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม
ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งกัมพูชาผู้นี้ชี้ว่า กัมพูชายังไม่มีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมหากวัดตามมาตรฐานสากล เนื่องจากพรรค CPP ยังคงควบคุมสื่อมวลชนต่างๆทั้งโทรทัศน์ วิทยุและหนังสือพิมพ์ สืบเนื่องจากข่าวที่ว่าสถานีวิทยุบางแห่งในกัมพูชาถูกสั่งไม่ให้เสนอรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักในวันเลือกตั้ง ซึ่งรวมถึงรายงานข่าวจาก VOA ภาคภาษาเขมรและ Radio Free Asia ด้วย
ล่าสุดในวันจันทร์ ทางกระทรวงการสื่อสารของกัมพูชายืนยันว่าได้มีการสั่งห้ามออกอากาศรายงานข่าวจาก VOA และ Radio Free Asia ในวันเลือกตั้งจริง โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย
คุณมู โซคัว คือสมาชิกของพรรคฝ่ายค้าน สม รังสี (Sam Rainsy) หรือ SRP ซึ่งพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ แม้แต่ในเขตที่พรรคมีฐานเสียงเข้มแข็งเช่นในกรุงพนมเปญ เธอให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับวีโอเอว่าเธอพบเห็นการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหลายอย่าง รวมทั้งการข่มขู่คุกคามผู้ลงคะแนน และยังเห็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลส่วนท้องถิ่นหลายคนยืนอยู่กับสมาชิกพรรค CPP ข้างๆคูหาเลือกตั้งหลายแห่ง ซึ่งเธอเชื่อว่าการที่มีสมาชิกพรรค CPP ปรากฎตัวอยู่ข้างคูหาเลือกตั้งต่างๆนั้นมีผลต่อการลงคะแนนของผู้มีสิทธิออกเสียงแน่นอน
ทางด้านผู้สังเกตุการณ์การเลือกตั้งกัมพูชา คุณตุน สะร่าย ซึ่งเป็นประธานกลุ่มสิทธิมนุษยชน Adhoc ชี้ว่าที่ผ่านมาพรรค CPP ได้รับประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในสังคมกัมพูชามายาวนาน โดยปกตินักการเมืองท้องถิ่นจะเป็นผู้บริจาคเงินหรือสิ่งของต่างๆให้กับชาวบ้านแลกกับคะแนนเสียง ซึ่งหากชาวบ้านครอบครัวใดหรือหมู่บ้านใดไม่ลงคะแนนให้นักการเมืองผู้นั้น หมู่บ้านนั้นก็อาจจะไม่ได้รับของบริจาคในคราวต่อไป ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติในกัมพูชา
อย่างไรก็ตามคุณตุน สะร่าย ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการขององค์กรตรวจสอบการเลือกตั้ง Comfrel อีกตำแหน่งหนึ่ง กล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าบางอย่างในกระบวนการเลือกตั้งของกัมพูชา เนื่องจากมีการข่มขู่คุกคามและความรุนแรงน้อยลงกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน แม้จะยังมีปัญหาอยู่บ้างเรื่องการใช้เจ้าหน้าที่รัฐบาล ตำรวจ ทหารและสื่อมวลชนของรัฐในการช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับพรรครัฐบาล CPP ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า กัมพูชายังต้องเดินทางอีกไกลกว่าจะสามารถประกาศได้เต็มปากเต็มคำว่ามีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม
ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งกัมพูชาผู้นี้ชี้ว่า กัมพูชายังไม่มีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมหากวัดตามมาตรฐานสากล เนื่องจากพรรค CPP ยังคงควบคุมสื่อมวลชนต่างๆทั้งโทรทัศน์ วิทยุและหนังสือพิมพ์ สืบเนื่องจากข่าวที่ว่าสถานีวิทยุบางแห่งในกัมพูชาถูกสั่งไม่ให้เสนอรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักในวันเลือกตั้ง ซึ่งรวมถึงรายงานข่าวจาก VOA ภาคภาษาเขมรและ Radio Free Asia ด้วย
ล่าสุดในวันจันทร์ ทางกระทรวงการสื่อสารของกัมพูชายืนยันว่าได้มีการสั่งห้ามออกอากาศรายงานข่าวจาก VOA และ Radio Free Asia ในวันเลือกตั้งจริง โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย