ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มีการเรียกร้องให้มีมาตรฐานทั่วสหรัฐเกี่ยวกับการถูกรังสีจากการตรวจ CT Scan


มีการเรียกร้องให้มีมาตรฐานทั่วสหรัฐเกี่ยวกับการถูกรังสีจากการตรวจ CT Scan
มีการเรียกร้องให้มีมาตรฐานทั่วสหรัฐเกี่ยวกับการถูกรังสีจากการตรวจ CT Scan

ขณะที่หลายฝ่ายวิตกกังวลว่า รังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจร่างกายด้วยวิธี CT Scan เพื่อวินิจฉัยโรค อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้นั้น นักวิทยาศาสตร์ นักรังสีวิทยา และบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ฉายรังสีต่าง ๆ ประชุมกันที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ ชานกรุงวอชิงตันเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการพิจารณากำหนดมาตรฐานสำหรับการใช้รังสีในการฉายแสงจับภาพตรวจร่างกายดังกล่าว

ขณะที่หลายฝ่ายวิตกกังวลว่า รังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจร่างกายด้วยวิธี CT Scan เพื่อวินิจฉัยโรค อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้นั้น นักวิทยาศาสตร์ นักรังสีวิทยา และบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ฉายรังสีต่าง ๆ ประชุมกันที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ ชานกรุงวอชิงตันเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการพิจารณากำหนดมาตรฐานสำหรับการใช้รังสีในการฉายแสงจับภาพตรวจร่างกายดังกล่าว

เทคโนโลยีการตรวจร่างกายด้วยการฉายรังสีจับภาพ Computed Tomography ที่เรียกย่อๆ ว่า CT Scan เป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในเวลา 25 ปีที่ผ่านมา แต่รายงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปี 2551 ระบุว่า การใช้อุปกรณ์จับภาพอวัยวะภายในที่ใช้การฉายรังสีแบบนี้ ทำให้ร่างกายต้องสัมผัสหรือถูกกัมมันตภาพรังสีโดยตรง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ และบทความในวารสารการแพทย์ที่ได้รับการยกย่องนับถือกว้างขวาง New England Journal of Medicine ในปี 2553 ตั้งคำถามว่า การฉายรังสีจับภาพตรวจอวัยวะภายในร่างกายแบบ CT Scan นั้น จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยโรคเสมอไปหรือไม่ การศึกษาค้นคว้าของแพทย์หญิง Rebecca Smith-Bindman ผู้เขียนบทความนั้นกับเพื่อนร่วมงานพบว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจากการตรวจ CT Scan อาจสูงถึง 1 ใน 80

ตามรายงานทางการแพทย์นั้น CT Scan ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็ง แต่รังสีที่ใช้นั้นเป็น Carcinogen หรือสารก่อมะเร็ง

ในการตรวจ CT Scan นักรังสีวิทยาจะเป็นผู้พิจารณากำหนดระดับความหนาแน่นของรังสีที่ใช้ และแพทย์เป็นผู้ตรวจสอบภาพที่ฉายออกมา แต่บนจอภาพไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่า คนไข้ได้รับรังสีมากน้อยแค่ไหน ระดับการใช้รังสีของแต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกันไป และนักรังสีวิทยาแต่ละคนที่โรงพยาบาลบางแห่ง ก็ใช้รังสีในระดับที่ต่างกัน ผู้ป่วยบางคนมีความวิตกเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพของผลการตรวจดังกล่าว

นายแพทย์ Roderic Pettigrew ผู้อำนวยการ National Institute of Biomedical Imaging and Bioengineering ซึ่งจัดการประชุมเรื่องมาตรฐานของการตรวจ CT Scan กล่าวว่า ในบางกรณี มีการตรวจแบบอื่นที่ไม่ใช้รังสีให้เลือกใช้แทนได้ อย่าง การตรวจด้วยคลื่นเสียง และการฉายภาพด้วนการสะท้อนของคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น



XS
SM
MD
LG