ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เหมืองแร่ในแคลิฟอร์เนีย ตัวแปรพลิกสหรัฐฯ เป็นผู้นำสินแร่หายาก  


FILE - A view of the MP Materials rare earth open-pit mine in Mountain Pass, California, January 30, 2020.
FILE - A view of the MP Materials rare earth open-pit mine in Mountain Pass, California, January 30, 2020.

ในปีนี้ เหมืองแร่อายุกว่า 70 ปีในทะเลทรายโมฮาวี รัฐแคลิฟอร์เนีย จะกลายเป็นศูนย์กลางการฟื้นฟูระบบขุดแร่ของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ

การฟื้นฟูเหมืองครั้งนี้จะเน้นไปที่กระบวนการผลิตแร่โลหะหายาก ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด สมาร์ทโฟน และยุทโธปกรณ์บางประเภท โดยกฎหมายการให้อำนาจด้านกลาโหมแห่งชาติฉบับล่าสุด กำหนดให้ระบบของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ใช้แร่โลหะหายากที่มาจากเหมืองนอกประเทศจีน และถูกขุดนอกประเทศจีนภายในเวลาห้าปี และให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับแร่ที่มาจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ก่อน

ทางกระทรวงกลาโหมได้ทำสัญญากับบริษัทผู้ผลิตแร่หายากหลายบริษัท โดยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ต้องการรับรองว่า แร่สำคัญที่ได้มานั้นมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยหนึ่งในบริษัทที่ทำสัญญากับกระทรวงคือ บริษัท MP Materials เจ้าของและผู้ดำเนินการเหมืองเมาน์เทน พาส ซึ่งเป็นเหมืองสินแร่หายากเพียงเหมืองเดียวในทวีปอเมริกาเหนือ

ตั้งแต่วิศวกรชาวอเมริกันพบเหมืองนี้ในปีค.ศ. 1949 มีการพบแร่สำคัญที่เหมือง 17 ชนิด ทำให้เหมืองเมาน์เทน พาส เป็นแหล่งผลิตสินแร่หายากเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งโลก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ จีนสามารถควบคุมสินแร่หายากเหล่านี้เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ จนสามารถควบคุมห่วงโซ่อุปทานระดับโลกของสินแร่นี้ได้ราว 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากจีนมีบทบาทสำคัญในการแปรรูปแร่เหล่านี้ แม้ข้อมูลของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ หรือ USGS จะระบุว่า จีนจะมีแหล่งสินแร่หายากเพียงหนึ่งในสามของสินแร่หายากทั่วโลกก็ตาม

FILE - Workers transport soil containing rare earth elements for export at a port in Lianyungang, Jiangsu province, China, October 31, 2010.
FILE - Workers transport soil containing rare earth elements for export at a port in Lianyungang, Jiangsu province, China, October 31, 2010.

สหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในกระบวนการผลิตแร่เกือบทั้งหมดให้กับจีน เนื่องจากจะต้องส่งแร่ให้จีนแปรรูป ทำให้เหมืองแห่งนี้ได้กลายเป็นผู้ป้อนผลิตภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมสินแร่หายากของจีนไป

แม้สินแร่เหล่านี้จะชื่อ “สินแร่หายาก” แต่แร่เหล่านี้ก็ไม่ได้มีน้อยมากจนเกินไป โดย USGS ระบุว่า แม้แร่เหล่านี้จะถูกจัดว่าหายาก แต่แท้จริงแล้วกลับมีจำนวนค่อนข้างมากในชั้นเปลือกโลก

รายงานประจำปีของ USCS เมื่อปีที่แล้วระบุว่า แม้จะมีประเทศราว 20 ประเทศทั่วโลกทำเหมืองสินแร่หายาก แต่สหรัฐฯ ก็ยังเป็นแหล่งสินแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีแร่เก็บไว้ราว 1.4 ล้านตัน

แม้ชั้นหินของสหรัฐฯ จะกักเก็บสินแร่หายากเป็นปริมาณพอใช้ราว 100 ปี หากอัตราการบริโภคยังเป็นไปตามปัจจุบัน แต่จีนกลับเป็นแหล่งแปรรูปที่เปลี่ยนสินแร่เหล่านี้เป็นวัสดุที่ผู้ผลิตนำไปใช้งานได้

เฟลิกซ์ เค ชาง นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศ เมืองฟิลาเดเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย บอกว่า ขั้นตอนการแปรรูปแร่นี่เองที่ทำให้จีนมีอำนาจสูงในตลาดการผลิตสินแร่หายาก

XS
SM
MD
LG