ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การทำงานที่บ้านก็ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายได้เช่นกัน


Dilge Timoçin
Dilge Timoçin
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:01 0:00

ความเบื่อหน่ายในที่ทำงานไม่ได้เกิดขึ้นกับคนที่ต้องทำงานในออฟฟิสเป็นเวลายาวนานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับผู้คนนับล้านที่ต้องทำงานที่บ้านเนื่องจากการระบาดของโคโรนาไวรัสในขณะนี้อีกด้วย

ความเหนื่อยหน่ายมักเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับความเครียดในระดับสูงเป็นเวลานานๆ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจได้ การที่คนทำงานจำนวนมากต้องเปลี่ยนมาทำงานอยู่ที่บ้านสลับกับการทำงานอื่นๆ ในบ้านไปด้วยอย่างกะทันหัน คนเหล่านั้นอาจมีแนวโน้มที่จะรู้สึกเหนื่อยหน่ายมากขึ้น

Vanessa K. Bohns รองศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรที่มหาวิทยาลัย Cornell University กล่าวว่าการที่ต้องเปลี่ยนที่ทำงานอย่างกระทันหัน การที่ลูกๆ ต้องอยู่ที่บ้าน และความกังวลที่มาพร้อมกับการระบาดใหญ่ตลอดจนผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้อาการเหนื่อยหน่ายทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดอาการเบื่อหน่ายจากการทำงานที่บ้านมีดังต่อไปนี้:

ขอบเขตต่างๆ ของชีวิตหายไป การขาดความสมดุลในชีวิตการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย และการที่ต้องทำงานที่บ้านก็ทำให้ยากยิ่งขึ้นไปอีกที่จะหาความสมดุลนั้น

การเดินทางจากที่ทำงานกลับบ้านทุกวันเป็นการบังคับให้แยกขอบเขตของงานออกจากชีวิตส่วนตัว และแม้จะมองว่าการที่ไม่ต้องเดินทางไปทำงานนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่นั่นก็หมายถึงว่าไม่มีสิ่งกั้นขวางใดๆ ระหว่างที่ทำงานและบ้านเลย

Ben Fanning ผู้เขียนหนังสือ "The Quit Alternative: The Blueprint for Creating the Job You Love Without Quitting” กล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่เมื่อต้องทำงานอยู่ที่บ้านคือ พวกเขาทำงานชั่วโมงยาวนานกว่าปกติ

Vanessa K. Bohns แนะนำว่าในการแก้ปัญหานี้ จะต้องมีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน เช่นกำหนดเวลาที่จะหยุดทำงาน ไม่ทำงานในเวลากลางคืนหรือในวันหยุดสุดสัปดาห์ กำหนดเวลาว่างให้ชัดเจน และควรทำให้ตนเองรู้สึกถึงความแตกต่างในตอนที่ไม่ได้ทำงานอย่างเช่นการเปลี่ยนเสื้อผ้าให้สะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งหมายถึงว่ากำลังหยุดพักจากการทำงาน นอกจากนี้ควรกำหนดเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ด้วย

ขาดการควบคุม คนทำงานที่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตารางเวลา การมีปฏิสัมพันธ์ และไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเบื่อหน่าย ดังนั้นการสร้างตารางเวลาที่ใช้กำหนดเวลาทำงาน เวลาสำหรับครอบครัว และเวลาว่าง จะสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้

ความเครียดที่ต้องการจะเป็น 'พนักงานดีเด่น' คนบ้างานที่มักจะทำงานอยู่เสมอไม่เคยหยุดตั้งแต่ก่อนการเกิดโรคระบาด พอต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน คนเหล่านั้นก็กังวลว่าคนอื่นๆ จะคิดว่าตัวเองทำงานไม่เต็มที่ และการที่คนอเมริกันกว่า 20 ล้านคนต้องตกงาน และผู้คนมากมายขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการงาน ยิ่งทำให้เกิดความกดดันมากขึ้นสำหรับคนทำงานที่พยายามจะแสดงให้เห็นว่าตนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน Vanessa K. Bohns บอกว่าตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่คนควรจะลดความคาดหวังในตัวเองลง และควรจะรู้สึกพอใจกับคำว่า “ดีเพียงพอ” นอกจากนี้ควรคุยกับเจ้านายถึงเรื่องความคาดหวังต่างๆ และตัวเจ้านายเองก็ควรยืดหยุ่นและเข้าใจลูกน้องด้วย

ขาดการเชื่อมต่อทางสังคม การทำงานที่บ้านอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่บ้านที่เต็มไปด้วยผู้คน การที่มีเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานคอยรับฟังปัญหาหรือช่วยคลายทุกข์เวลาที่เกิดความตึงเครียดช่วยบรรเทาความเหนื่อยหน่ายได้ แต่เมื่อไม่มีสิ่งเหล่านี้ที่บ้าน ก็จะทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวมากๆ แม้ว่าการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเหล่านี้ในเวลาที่ทำงานอยู่ที่บ้านเป็นเรื่องยาก แต่ก็ควรมีการจัดการประชุมทางโทรศัพท์หรือวิดีโอเพื่อช่วยสานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วย

ไม่มีเวลาให้ตัวเอง อย่าลืมเพิ่มการดูแลตนเองเข้าในตารางงานที่วุ่นวายด้วย อาจจะเป็นอะไรที่ทำได้ง่ายๆ เช่นชะลอการทำงานให้ช้าลงในช่วงบ่าย หรือเลือกทำเฉพาะงานที่พึงพอใจ

XS
SM
MD
LG