ที่ฟาร์มเลี้ยงเเมลงกินได้ Rocky Mountain Micro Ranch ในเดนเว่อร์ เป็นฟาร์มเลี้ยงเเมลงกินได้เเห่งเเรกเเละเเห่งเดียวของรัฐโคโลราโด้ Wendy McGill ผู้ก่อตั้งฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดเเละหนอนนกเพื่อขายให้กับร้านอาหารเเละผู้แปรรูปอาหาร
โครงการอาหารเเละการเกษตรเเห่งสหประชาชาติได้ชี้ว่าการเลี้ยงวัวเเละไก่เพื่อใช้เป็นแหล่งโปรตีนเลี้ยงคนทั่วโลกขาดความยั่งยืน โปรตีนจากแมลงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า McGill เลี้ยงแมลงได้น้ำหนักทั้งหมดเกือบ 275 กิโลกรัมต่อเดือนที่ฟาร์มเเห่งนี้
เธอกล่าวว่าอยากมีส่วนในการหาทางเลี้ยงปากท้องคนด้วยวิธีที่ดีกว่า เพราะเรามีที่ดินและแหล่งน้ำน้อยลง โลกก็ร้อนขึ้นและยังมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นอีกด้วย
คนที่มาเยี่ยมชม Micro Ranch ส่วนมากไม่เคยกินเเมลงมาก่อนเเละไม่อยากลิ้มลองนัก
เทียรี่ โคเอลลิ่ง คุณตาคนนี้บอกว่าแมลงดูไม่น่ากิน เขาเคยเห็นเเมลงไต่ตอมสัตว์ที่ตายเเล้ว จึงกินแมลงไม่ลง ต่างจากผู้มาเยี่ยมอีกคนหนึ่งที่นิยมการใช้ตัวอ่อนเเมลงเพื่อใช้เลี้ยงเด็กกำพร้า
แอมมี่ เเฟรงคลิน กล่าวว่าตนเองเป็นผู้ก่อตั้งหน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่เรียกว่า Farms for Orphans เเละทางหน่วยงานเลี้ยงเเมลงเพื่อใช้เป็นอาหารคนในประเทศต่างๆ ที่ทางหน่วยงานเข้าไปทำงานร่วมด้วยเเละเเมลงเป็นอาหารยอดนิยมมากในประเทศเหล่านี้
เธอบอกว่าสถานเด็กกำพร้าส่วนมากไม่มีที่ดินเลย จึงไม่มีโอกาสได้ปลูกพืชไว้กินเองหรือเเม้เเต่เพื่อเลี้ยงไก่ แมลงจึงกลายเป็นแหล่งโปรตีนที่เพาะเลี้ยงได้เพราะใช้พื้นที่เล็กน้อยเท่านั้น
ที่ร้านอาหารลิงเกอร์ (Linger) ในเดนเวอร์ เสริฟตัวอ่อนแมลงเป็นอาหารจานเด็ดในเมนูของร้าน ชอน บรูโน กุ๊กของร้านอาหารแห่งนี้บอกว่าทางร้านมีมดดำเเละเม็ดงาขาวโรยหน้าจิ้งหรีดที่คลุกกับเส้นก๋วยเตี๋ยวโซบะชาเขียว
เจเรอมี คิทเทลสัน ผู้จัดการร้านอาหารบอกว่าคนเราชอบกินเนื้อเเดงเเละไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดที่จะมาบอกคุณว่าการเลี้ยงปศุสัตว์ไม่ยั่งยืน ตนเองคิดว่าคนเราควรกินเเมลงเป็นอาหารให้มากขึ้น
และคุณตาโคเอลลิ่งที่ลังเลในตอนเเรก มาถึงตอนนี้บอกว่าเขาอาจจะลองกินเเมลง
เขาบอกว่าจิ้งหรีดปรุงรสที่ร้านอาหารลิงเกอร์อร่อยมากจนรู้สึกว่ามีจิ้งหรีดในจานไม่กี่ตัว
มีคนทั่วโลกมากว่าสองพันล้านคนที่กินเเมลงเป็นอาหารและในสหรัฐฯ ชาวอเมริกันก็เริ่มหันมากินแมลงกันบ้างเเล้วแบบค่อยเป็นค่อยไป
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยที่กรุงวอชิงตัน)