ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อังกฤษผ่อนคลายมาตรการกักตัว “พนักงานจำเป็น” หวังลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน


A social distancing sign is seen amid the spread of the coronavirus disease (COVID-19), in Leicester, Britain, May 27, 2021. REUTERS/Andrew Boyers
A social distancing sign is seen amid the spread of the coronavirus disease (COVID-19), in Leicester, Britain, May 27, 2021. REUTERS/Andrew Boyers
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:49 0:00


รัฐบาลอังกฤษเผยมาตรการใหม่ในวันอังคาร โดยจะผ่อนคลายกฎเกณฑ์เรื่องการกักตัว “พนักงานจำเป็น” หลายพันคน เช่น ผู้คุมเรือนจำ คนเก็บขยะ และสัตวแพทย์ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนคนทำงานในบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เวลานี้มีชาวอังกฤษราว 26 ล้านคนที่ดาวน์โหลดแอปของสำนักงานสาธารณสุขอังกฤษเอาไว้ในโทรศัพท์มือถือซึ่งจะเตือนให้กักตัวเป็นเวลา 10 วันหากสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีผลตรวจโควิดเป็นบวก

และเนื่องจากอังกฤษมีผู้ติดเชื้อวันละหลายหมื่นคน ระบบนี้จึงทำให้มีประชาชนจำนวนมากที่ต้องกักตัวจนทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนคนทำงานในธุรกิจหรือบริการที่จำเป็นต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงประกาศมาตรการเสริม คือให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบแล้วสามารถใช้ผลตรวจที่เป็นลบแทนการกักตัว 10 วัน และสามารถกลับไปทำงานได้ โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคมนี้

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางการได้อนุญาตให้ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่ควบคุมชายแดน และพนักงานการขนส่ง สามารถใช้วิธีแสดงผลตรวจแทนการกักตัวได้แล้วล่วงหน้า และกำลังขยายมาตรการนี้ให้ครอบคลุมถึงพนักงานจำเป็นอื่น ๆ เช่น ผู้คุมเรือนจำ คนเก็บขยะ ผู้จัดเก็บภาษี เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง และสัตวแพทย์ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มยกเลิกมาตรการควคุมและล็อกดาวน์ต่าง ๆ จนเกือบหมด รวมถึงการบังคับสวมหน้ากาก และการจำกัดจำนวนลูกค้า แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ติดเชื้อในอังกฤษเริ่มลดลงอีกครั้งตลอด 7 วันที่ผ่านมา โดยลดลงมาอยู่ที่ระดับ 23,511 คนในวันอังคาร ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าปัจจัยสำคัญคือการสิ้นสุดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2020 รวมทั้งนักเรียนปิดเทอมในช่วงฤดูร้อน ประกอบการที่มีชาวอังกฤษวัยผู้ใหญ่มากกว่า 70% ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว

(ที่มา: เอพี)

XS
SM
MD
LG