ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทึ่ง! นักวิทย์เผยการรักษาทางพันธุกรรมใหม่ช่วยคนตาบอดกลับมามองเห็นได้บางส่วน


In this photo, a blind patient is seen taking part in experiments carried out by American and European researchers in the field of optogenetics. During the experiments, a 58-year-old blind man was able to use special eyeglasses to identify and count diffe
In this photo, a blind patient is seen taking part in experiments carried out by American and European researchers in the field of optogenetics. During the experiments, a 58-year-old blind man was able to use special eyeglasses to identify and count diffe
Algae and Blindness
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00


นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นครั้งแรกที่การรักษาทางพันธุกรรมแบบใหม่ช่วยให้ผู้ป่วยตาบอดสามารถกลับมามองเห็นในบางส่วนได้

การรักษาดังกล่าวเป็นรูปแบบหนึ่งของ optogenetics หรือพันธุศาสตร์เชิงแสง ซึ่งเป็นวิธีการที่เปลี่ยนแปลงเซลล์ด้วยกลไกทางพันธุกรรมเพื่อให้ผลิตโปรตีนที่ไวต่อแสงได้

แม้ว่าวิธีการนี้จะใช้ในการศึกษาสมองมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีการวิจัยเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยตาบอด ในการทดลองครั้งใหม่ ผู้ป่วยตาบอดสามารถใช้แว่นตาชนิดพิเศษเพื่อระบุและนับวัตถุต่างๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะได้

เมื่อเร็วๆ นี้คณะนักวิจัยจากสหรัฐฯ และยุโรปได้รายงานการค้นพบนี้ในการศึกษาที่ปรากฏในวารสาร Nature Medicine

ผู้ป่วยรายหนึ่งในการศึกษานี้เป็นชายอายุ 58 ปี ที่ป่วยเป็นโรคจอตามีสารสีมาเป็นเวลา 40 ปี โรคนี้จะทำลายเซลล์ที่รับรู้แสงในจอประสาทของดวงตาและอาจทำให้ตาบอดสนิทได้

ทั้งนี้ เซลล์ที่รับแสงเหล่านี้เรียกว่าตัวรับแสง ซึ่งสื่อสารข้อมูลภาพไปยังสมองผ่านเส้นประสาทตา แต่เมื่อเซลล์เหล่านี้ค่อยๆ เสื่อมลง ก็จะเริ่มมีอาการมองไม่เห็น การทดลองนี้ได้ใช้วิธีการทางพันธุกรรมเพื่อเพิ่มโปรตีนที่รับรู้แสงลงในเซลล์จอประสาทของดวงตา

นักวิจัยกล่าวว่า โปรตีนที่ใช้ในการทดลองนี้มีชื่อเรียกว่า ChrimsonR ซึ่งสามารถพบได้ในสาหร่าย โปรตีนดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับแสงโดยการเปลี่ยนรูปร่างและปล่อยให้ไอออนไหลเข้าสู่เซลล์ และผู้ป่วยที่มีอาการมองไม่เห็นที่แย่ที่สุดจะถูกฉีดด้วยเวกเตอร์ หรือพาหะซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นเสมือนคู่มือทางพันธุกรรมสำหรับโปรตีน ChrimsonR

โปรตีนดังกล่าวมีความไวต่อแสงสีเหลืองเท่านั้น ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าพวกเขาใช้โปรตีนชนิดนี้เพราะปลอดภัยกว่าแสงสีฟ้าและทำให้ดวงตาเมื่อยล้าน้อยลง สำหรับการทดลองนี้ นักวิจัยได้สร้างชุดแว่นตาหรือแว่นกันลมชนิดพิเศษที่มีกล้องสำหรับจับภาพและฉายภาพบนจอประสาทตาที่ความยาวของคลื่นแสงสีเหลือง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มฝึกสวมแว่นกันลมประมาณห้าเดือนหลังการฉีด เพื่อให้โปรตีนมีเวลามากพอที่จะเกาะตัวในเซลล์ หลังจากเรียนรู้การใช้แว่นแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถจดจำ นับ ค้นหา และสัมผัสวัตถุต่างๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะตรงหน้าเขาได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังรายงานการพัฒนาความสามารถในการระบุวัตถุอื่นๆ ในระหว่างกิจกรรมประจำวันทั้งในสภาพแวดล้อมที่อยู่ในตัวอาคารและกลางแจ้งได้

José-Alain Sahel หัวหน้าการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยาที่มหาวิทยาลัย Pittsburgh เป็นผู้อำนวยการศูนย์ UPMC Eye Center และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Sorbonne University ที่ประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่า เขาหวังว่าวิธีการนี้จะการค้นพบครั้งสำคัญ

และว่าการทดลองนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะใช้ optogenetics ในการช่วยให้คนตาบอดกลับมามองเห็นได้ สำหรับตอนนี้ ผู้ป่วยตาบอดที่เป็นโรคเกี่ยวกับเซลล์รับแสงและเส้นประสาทตาที่ได้รับการผ่าตัดจะเป็นกลุ่มคนที่เหมาะสุดสำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้

อย่างไรก็ตาม Sahel กล่าวว่า ยังคงต้องใช้เวลาก่อนที่จะสามารถเสนอการรักษาด้วยวิธีนี้ให้กับผู้ป่วยอย่างกว้างขวางได้ ซึ่งคณะนักวิจัยหวังว่าจะได้เริ่มการทดลองครั้งใหม่กับผู้คนจำนวนมากขึ้นในกรุงปารีส พิตต์สเบิร์ก และลอนดอน ทันทีที่มีการยกเลิกข้อจำกัดโควิด-19

XS
SM
MD
LG