ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มูลค่าบิตคอยน์พุ่งทำสถิติสูงสุด หลังมีข่าวสถาบันการเงินต่างๆ ยอมรับมากขึ้น


FILE PHOTO: A representation of virtual currency Bitcoin is seen in front of a stock graph in this illustration taken March 15, 2021. REUTERS/Dado Ruvic/Illustration/File Photo
FILE PHOTO: A representation of virtual currency Bitcoin is seen in front of a stock graph in this illustration taken March 15, 2021. REUTERS/Dado Ruvic/Illustration/File Photo
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:52 0:00


มูลค่าของบิตคอยน์พุ่งทำสถิติใหม่ในวันพุธ ที่กว่า 66,000 ดอลลาร์ ต่อบิตคอยน์ หลังได้อานิสงส์มาจากกระแสข่าวว่า สถาบันการเงินทั้งหลายเริ่มยอมรับการใช้สกุลเงินดิจิทัลนี้มากขึ้นแล้ว ตามรายงานของสำนักข่าว เอพี

รายงานข่าวระบุว่า มูลค่าของบิตคอยน์ขึ้นไปแตะระดับ 66,901.30 ดอลลาร์ ต่อบิตคอยน์ เมื่อเวลา 10.52 น. ตามเวลาภาคพื้นตะวันออกของสหรัฐฯ ก่อนจะอ่อนตัวลงมาในการซื้อขายระหว่างวัน

อย่างไรก็ตาม ระดับมูลค่าที่บันทึกได้ในช่วงเช้านั้น แสดงให้เห็นถึงการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากของราคาบิตคอยน์ ที่เคยร่วงไปที่ต่ำกว่าระดับ 30,000 ดอลลาร์ เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา และยังเป็นการทำสถิติใหม่เหนือระดับเกือบ 64,889 ดอลลาร์ ที่บันทึกไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตามข้อมูลของ CoinDesk ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency)

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กองทุนรวม ETF (exchange-traded fund) ที่ผูกติดกับบิตคอยน์กองแรกที่มีการนำเสนอขายต่อนักลงทุนดึงดูดความสนใจจากตลาดอย่างมาก จนทำให้ภาวะซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีคึกคักขึ้นมาทันที แม้ว่ากองทุนดังกล่าวที่ชื่อว่า ProShares BitCoin Strategy ETF จะไม่ได้ลงทุนโดยตรงในบิตคอยน์ก็ตาม แต่ลงทุนในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (futures market) ที่ผูกติดกับบิตคอยน์

ทั้งนี้ นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจในสกุลเงินดิจิทัลกันมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตามวิสัยการกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ซึ่งมีราคาที่ไม่เคลื่อนไหวตามสินทรัพย์อื่นๆ ในพอร์ตการลงทุนเดียวกัน โดยมีแนวคิดการลงทุนหนึ่งที่มองว่า บิตคอยน์นั้น นำเสนอความคุ้มครองจากผลกระทบของเงินเฟ้อแก่นักลงทุนได้ดี และบางรายมองว่า บิตคอยน์ เป็นสินทรัพย์ประเภท “ทองคำดิจิทัล” แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลมาสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวก็ตาม

(ที่มา: สำนักข่าว เอพี)

XS
SM
MD
LG