ลิ้งค์เชื่อมต่อ

UNODC ระบุเอเชียผลิต-เสพ-ค้า ยาเสพติดหลายประเภทเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ ATS และฝิ่น


Angola: Namibe vai ter centro de recuperação de tóxico-dependentes
Angola: Namibe vai ter centro de recuperação de tóxico-dependentes

รายงาน UNODC เปิดเผยว่าปริมาณการผลิต การเสพและค้ายาเสพติดในเอเชียเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะยาเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทประเภทแอมเฟตามีน

สำนักงานป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรมของสหประชาชาติหรือ UNODC เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ระบุว่า เอเชียกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญในด้านการป้องกันการผลิตยาเสพติดและการแพร่กระจายของยาเสพติดจำพวกแอมเฟตามีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทซึ่งรู้จักกันในชื่อ ATS รวมทั้งปัญหาการปลูกฝิ่นและการเสพกัญชาที่กำลังแพร่ระบาดในหมู่วัยรุ่นในเอเชีย

คุณ Gary Lewis ผู้แทนของ UNODC ประจำเอเชียระบุว่าแนวโน้มการผลิตและการเสพยาเสพติดประเภท ATS เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศจีนและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าในภาพรวมนั้นการผลิตและเสพยาเสพติดประเภทนี้ค่อนข้างคงที่ในภูมิภาคอื่นๆของโลก คุณ Gary Lewis ระบุว่าปัจจุบันครึ่งหนึ่งของผู้เสพยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีนทั่วโลกอาศัยอยู่ในเอเชีย

รายงานของ UNODC ชี้ว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตำรวจในเอเชียสามารถจับกุมยาเม็ด ATS ได้มากขึ้นถึง 4 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการผลิตเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนามและฮ่องกงนั้นยังพบว่ามีการใช้ยาสังเคราะห์และยาตามใบสั่งแพทย์ เช่นยาเคตามีนหรือที่เรียกกันสั้นๆว่ายาเคเพิ่มขึ้น ขณะที่ยา crystalline methamphetamine หรือยาไอซ์ก็มีการใช้อย่างแพร่หลายในบรูไน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ ส่วนที่ภูฏาน ศรีลังกาและบังกลาเทศ ปริมาณการใช้ยา ATS และกัญชาก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยเฉพาะในเขตเมือง

รายงานของสหประชาชาติฉบับนี้ระบุด้วยว่ามีชาวเอเชียราว 3 ล้าน 5 แสนคนที่ใช้เข็มฉีดยาเพื่อฉีดฝิ่นและยาบ้าเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัส HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์มากขึ้นด้วย
คุณ Gary Lewis ผู้แทนของ UNODC ประจำเอเชียระบุว่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะพม่าและลาวมีการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยผลผลิตฝิ่นของพม่าเพิ่มขึ้นเป็น 610 ตันเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากระดับ 580 ตันเมื่อปีก่อนหน้านั้น ส่วนลาวมีผลผลิตฝิ่นเพิ่มขึ้นเป็น 25 ตันเมื่อปี พ.ศ 2554

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติผู้นี้บอกว่า การแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่นในพม่านั้นต้องใช้แนวทางต่างๆผสมผสานกัน รวมถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆทดแทน แต่ไม่ใช่การกำจัดแบบถอนรากถอนโคนแบบที่รัฐบาลพม่าใช้ เพราะในที่สุดแล้วเกษตรกรเหล่านั้นก็จะกลับมาปลูกฝิ่นอีกครั้งเพื่อความอยู่รอด เหมือนที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
XS
SM
MD
LG