ลิ้งค์เชื่อมต่อ

32 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิคทำความตกลงที่บาหลี ร่วมงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และกำหนดแนวปฏิบัติต่อผู้อพยพผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ


32 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิคทำความตกลงที่บาหลี ร่วมงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และกำหนดแนวปฏิบัติต่อผู้อพยพผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ
32 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิคทำความตกลงที่บาหลี ร่วมงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และกำหนดแนวปฏิบัติต่อผู้อพยพผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ

ประเทศต่างๆ รวม 32 ประเทศในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคทำความตกลงที่จะร่วมมือกันทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และร่วมรับผิดชอบในปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศด้วย ความตกลงครั้งนี้มีขึ้นในการประชุมที่บาหลีในอินโดนีเซีย โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ทำข้อเสนอและผลักดันให้มีข้อตกลงในเรื่องนี้

ประเทศต่างๆ รวม 32 ประเทศในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคทำความตกลงที่จะร่วมมือกันทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และร่วมรับผิดชอบในปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศด้วย ความตกลงครั้งนี้มีขึ้นในการประชุมที่บาหลีในอินโดนีเซีย โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ทำข้อเสนอและผลักดันให้มีข้อตกลงในเรื่องนี้

ทั้ง 32 ประเทศเห็นด้วยกับข้อเสนอของออสเตรเลียที่อยากให้ทั้งภูมิภาคร่วมกันพิจารณาและแก้ไขปัญหาที่ว่านี้ การประชุมที่บาหลีเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศต่างๆในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคในเรื่องการลักลอบพาคนเข้าออกประเทศ การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง และแม้ข้อตกลงที่ว่านี้จะไม่มีข้อผูกพัน แต่ก็นับได้ว่าเป็นข้อตกลงในเรื่องนี้เป็นครั้งแรกของโลก

กรอบความร่วมมือที่ออกมาจากการประชุมที่บาหลี ให้แนวทางสำหรับการจัดการกับนักลักลอบพาคนเข้าออกประเทศ ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพผิดกฎหมาย และผู้ถูกนำตัวไปค้าขาย โดยมีหลักการว่าจะต้องปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ในลักษณะที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีและชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการรับภาระร่วมกันระหว่างประเทศด้วย

ตามตัวเลขขององค์การสหประชาชาติ ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคมีผู้ลี้ภัยเกือบสี่ล้านคน ในจำนวนนี้ มีทั้งประเทศที่เป็นที่มาของผู้ลี้ภัย เป็นทางผ่าน และเป็นจุดหมายปลายทางของผู้แสวงหาที่หลบภัย ผู้อพยพผิดกฎหมาย และผู้ที่ถูกนำตัวไปค้าขาย เฉพาะในปากีสถานมีประมาณ 1 ล้าน 7 แสนคน อิหร่านมากกว่าหนึ่งล้าน และราวๆ 150,000 คนในประเทศไทย

รมต. Marty Natalegawa ของกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประธานร่วมในการประชุมที่บาหลี กล่าวว่า การอพยพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายกำลังเป็นปัญหามากขึ้นทุกทีในภูมิภาค และประมาณกันว่า จำนวนผู้อพยพโดยรวมเวลานี้ ส่วนใหญ่เป็นการอพยพที่เกิดขึ้นในเอเชีย

อินโดนีเซียมักจะเป็นจุดผ่านสำหรับผู้ลี้ภัยที่มุ่งหน้าจะไปออสเตรเลีย และก็ยังเป็นแหล่งที่มาแห่งหนึ่งของผู้ที่ถูกนำไปค้าขายด้วย

ออสเตรเลียและอินโดนีเซียพยายามผลักดันเรื่องนี้มาเป็นเวลาสิบปีแล้ว ออสเตรเลียเป็นประเทศจุดหมายปลายทางประเทศหนึ่ง และมีปัญหามาตลอดในการจัดการกับผู้อพยพที่พยายามเดินทางเข้าประเทศ นาย Kevin Rudd รมต.กระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลีย กล่าวว่าข้อตกลงนี้ กำหนดวิธีจัดการกับผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัย รวมทั้งระเบียบปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศในการส่งตัวผู้ที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยกลับออกไปด้วย

แต่ที่ออสเตรเลียยังไม่ประสบความสำเร็จคือการหาประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพสำหรับศูนย์การจัดการกับผู้ลี้ภัย ออสเตรเลียได้ขอให้ทิมอร์ตะวันออกรับงานเรื่องนี้ แต่ถูกปฏิเสธโดยทิมอร์ตะวันออกกล่าวว่า มีงานเร่งด่วนอย่างอื่น แต่อย่างน้อยบรรดาประเทศที่ไปร่วมประชุม เห็นด้วยว่าควรจะมีการจัดตั้งศูนย์ที่ว่านี้ขึ้นมา

XS
SM
MD
LG