รายงานฉบับใหม่ของสหประชาชาติ พบว่า พ่อแม่ในประเทศเอเชีย นิยมเลือกเพศของเด็กก่อนการคลอด โดยมีจีนและอินเดียนำหน้าประเทศอื่นๆเรื่องความนิยมให้ลูกที่กำลังจะเกิดเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
สาเหตุที่ในหลายประเทศนิยมเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง มาจากปัจจัยด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี ultrasound ที่ทำให้พ่อแม่ทราบเพศของทารกในครรภ์ตั้งแต่ก่อนคลอด รวมถึงนโยบายของบางประเทศที่จำกัดจำนวนเด็กในแต่ละครอบครัว
รายงานชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในช่วงการประชุมด้านประชากรในเอเชีย (Asia Population Conference) ซึ่งมีขึ้นที่กรุงเทพในสัปดาห์นี้ คณะวิจัยเปิดเผยถึงปัญหาระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นถ้า พ่อแม่เลือกที่จะให้ทารกเพศชายเกิดมากกว่าทารกหญิง โดยคาดว่าผลกระทบต่อความเป็นชุมชนอาจมีเวลายาวนานอย่างน้อยห้าสิบปี
ผู้วิจัยเรื่องนี้กล่าวว่า ในปี ค.ศ. 2010 น่าจะมีประชากรเพศหญิงน้อยกว่าชายจำนวนประมาณ 117 ล้านคน ซึ่งช่องว่างทางเพศลักษณะนี้พบมากในประเทศจีนและอินเดีย รายงานชิ้นนี้ชี้ว่า ภายในปี ค.ศ 2030 จำนวนผู้ชายในทั้งสองประเทศน่าจะมีมากกว่าผู้หญิงถึง 50% ในหมู่คนที่ต้องการแต่งงาน
เจ้าหน้าที่ที่เขียนรายงานเรื่องนี้ คุณ Christophe Guilmoto ซึ่งทำงานให้กับ Center for Population and Development ที่กรุงปารีสกล่าวว่า หากช่องว่างมีต่อไปเรื่อยๆ ผู้ชายจะหาคู่ยากขึ้น และกรณีนี้จะเป็นปัญหาด้านประชากร
ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ กล่าวว่า ผู้หญิงในบางประเทศเช่นอินเดียยอมทำแท้งหลายครั้งจนกว่าจะได้ลูกผู้ชาย จนเสี่ยงต่อการมีลูกยากในที่สุด คุณ Guilmoto เสนอว่า เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ ควรมีการปรับความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากระบบวรรณะ และประเพณีการให้สินสอดแก่ผู้ชายในอินเดีย
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Ron Corben /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท
สาเหตุที่ในหลายประเทศนิยมเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง มาจากปัจจัยด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี ultrasound ที่ทำให้พ่อแม่ทราบเพศของทารกในครรภ์ตั้งแต่ก่อนคลอด รวมถึงนโยบายของบางประเทศที่จำกัดจำนวนเด็กในแต่ละครอบครัว
รายงานชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในช่วงการประชุมด้านประชากรในเอเชีย (Asia Population Conference) ซึ่งมีขึ้นที่กรุงเทพในสัปดาห์นี้ คณะวิจัยเปิดเผยถึงปัญหาระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นถ้า พ่อแม่เลือกที่จะให้ทารกเพศชายเกิดมากกว่าทารกหญิง โดยคาดว่าผลกระทบต่อความเป็นชุมชนอาจมีเวลายาวนานอย่างน้อยห้าสิบปี
ผู้วิจัยเรื่องนี้กล่าวว่า ในปี ค.ศ. 2010 น่าจะมีประชากรเพศหญิงน้อยกว่าชายจำนวนประมาณ 117 ล้านคน ซึ่งช่องว่างทางเพศลักษณะนี้พบมากในประเทศจีนและอินเดีย รายงานชิ้นนี้ชี้ว่า ภายในปี ค.ศ 2030 จำนวนผู้ชายในทั้งสองประเทศน่าจะมีมากกว่าผู้หญิงถึง 50% ในหมู่คนที่ต้องการแต่งงาน
เจ้าหน้าที่ที่เขียนรายงานเรื่องนี้ คุณ Christophe Guilmoto ซึ่งทำงานให้กับ Center for Population and Development ที่กรุงปารีสกล่าวว่า หากช่องว่างมีต่อไปเรื่อยๆ ผู้ชายจะหาคู่ยากขึ้น และกรณีนี้จะเป็นปัญหาด้านประชากร
ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ กล่าวว่า ผู้หญิงในบางประเทศเช่นอินเดียยอมทำแท้งหลายครั้งจนกว่าจะได้ลูกผู้ชาย จนเสี่ยงต่อการมีลูกยากในที่สุด คุณ Guilmoto เสนอว่า เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ ควรมีการปรับความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากระบบวรรณะ และประเพณีการให้สินสอดแก่ผู้ชายในอินเดีย
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Ron Corben /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท