ลิ้งค์เชื่อมต่อ

Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) กล่าวว่ารัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังร่างกฎหมายใหม่ๆที่มุ่งจะควบคุมสื่อยุคใหม่หรือ new media


องค์กร Southeast Asian Press Alliance หรือ SEAPA กล่าวว่า รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังร่างกฎหมายใหม่ๆเกี่ยวกับสื่อที่มุ่งจะควบคุมสื่อยุคใหม่ หรือ new media โดยมีนักข่าว และ bloggers หรือผู้ที่เขียนบทความแสดงความเห็นออนไลน์ เป็นเป้าสำคัญ

เนื่องในโอกาสวัน World Press Freedom Day องค์กร Southeast Asian Press Alliance หรือ SEAPA กล่าวว่า รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังร่างกฎหมายใหม่ๆเกี่ยวกับสื่อที่มุ่งจะควบคุมสื่อยุคใหม่ หรือ new media โดยมีนักข่าว และ bloggers หรือผู้ที่เขียนบทความแสดงความเห็นออนไลน์ เป็นเป้าสำคัญ


SEAPA กล่าวว่า แนวโน้มสำคัญที่เห็น คือรัฐบาลกำลังเปลี่ยนจุดมุ่งเน้น จากการกระจายเสียงและสิ่งพิมพ์ ไปที่สื่อสังคม หรือ social media และข่าวออนไลน์

นาง Gayathry Venkiteswaran ผอ. บริหารของ SEAPA บอกว่า ข่าวออนไลน์เป็นเป้าการปราบปรามบ่อยที่สุด

เจ้าหน้าที่ของ SEAPA ผู้นี้บอกว่า ในขณะที่สื่อออนไลน์ ข่าวจากพลเมือง และ blog กำลังแพร่สพัด รัฐบาลเหล่านี้ก็พยายามนำมาตรการเก่าๆบางอย่างมาใช้ ซึ่งก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้บ้าง

รายงานของ SEAPA กล่าวถึงมาตรการที่รัฐบาลเวียตนามใช้ควบคุม “เว็บไซต์ผิดกฎหมาย” ซึ่งนำไปสู่การจับกุมผู้สื่อข่าวออนไลน์ หรือ netizen แล้ว 19 คน พร้อมกับนักข่าวอีก 5 คน ในจำนวนนี้มีบาดหลวงและ blogger รวมอยู่ด้วยสามคน คนเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่า “ดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล”

Reporters without Borders จัดเวียตนามไว้ที่อันดับ 172 จากจำนวนทั้งหมด 179 ประเทศ สำหรับดัชนีเสรีภาพของสื่อ หรือ press freedom index

ส่วนที่พม่า เป็นที่หวังกันว่า การปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การผ่อนคลายกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ จะก้าวหน้าต่อไปในร่างกฎหมายสื่อฉบับใหม่ ที่รัฐสภาจะพิจารณาต่อไปในปีนี้

แต่โฆษก Debbie Stothard ของ Alternative ASEAN Network ซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชน บอกว่า การปฏิรูปทางด้านสื่อของพม่า อาจไม่ก้าวหน้าไปตามความคาดหมาย เพราะหลายส่วนของร่างกฎหมายฉบับนี้ ขอยืมมาจากกฎหมายของเวียตนาม

รายงานของ SEAPA กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเทศไทย อนาคตสำหรับเสรีภาพของสื่อ ไม่แน่นอน แม้นักวิเคราะห์จะกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว สื่อไทยส่วนใหญ่มีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นทางด้านสังคมและการเมือง แต่กฎหมายเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยังมีการลงโทษอย่างหนักอยู่ต่อไป

นาย Benjamin Zawacki นักวิจัยเรื่องเอเชียของ Amnesty International กล่าวว่า แนวโน้มสำหรับคำตัดสินลงโทษผู้ที่ถูกกล่าวหาตามกฎหมายฉบับนี้ สร้างบรรยากาศของความกลัวขึ้นมา

โดยสรุปอย่างกว้างๆ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า สื่อออนไลน์ เปิดทางให้มีการแสดงความคิดเห็นทางสังคมและการเมืองมากขึ้น และในบางประเทศ ช่วยถ่วงดุลให้กับสื่อในประเทศที่เอียงไปเข้าข้างใดข้างหนึ่งได้ โดยยก new media ในมาเลย์เซียและสิงคโปร์มาเป็นตัวอย่างว่า ช่วยให้ฝ่ายค้านได้แสดงความคิดเห็นและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น

XS
SM
MD
LG