ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาติเอเชียเตรียมรับมือกับการดูแลประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น


FILE - A group of elderly women rest in their wheelchairs at a residential compound in Beijing, China, March 31, 2016.
FILE - A group of elderly women rest in their wheelchairs at a residential compound in Beijing, China, March 31, 2016.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:57 0:00

บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า คาดว่าจำนวนคนสูงอายุในเอเชียจะเพิ่มขึ้นอีก 200 ล้านคน โดยจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ต่างจากยุโรปที่จะเพิ่มขึ้นที่ 31 เปอร์เซ็นต์ และทวีปอเมริกาเหนือที่จะเพิ่มขึ้นที่ 55 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านดูเเลสุขภาพเพิ่มขึ้น มีผลต่อการวางแผนการใช้จ่ายด้านงบประมาณสาธารณสุขของรัฐ

ศูนย์ Asia Pacific Risk Center (APRC) ของบริษัท M & Mc ประมาณว่า ค่าใช้จ่ายในการดูเเลสุขภาพประชากรสูงวัยในเอเชียที่จะเพิ่มขึ้นตลอดในช่วง15 ปีข้างหน้า อาจจะสูงขึ้นไปถึง 20 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Mika Marumoto ผู้อำนวยการบริหารแห่ง the Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) กล่าวว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียต้องเตรียมตัวให้พร้อมมากขึ้น ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มากับการปรับเปลี่ยนทางลักษณะประชากรนี้

Marumoto กล่าวว่า ในระดับชาติ รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องศึกษาอัตราการเเก่ตัวของประชากรในประเทศกับตัวเลขของประชากรสูงวัยที่เเน่ชัด เพื่อหาทางรับมืออย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน

Wolfram Hedrick กับ Jonathan Tan ผู้อำนวยการอาวุโสเเห่ง Asia Pacific
Risk Center ในสิงค์โปร์กล่าวในบทความแสดงความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้ว่า ค่าใช้จ่ายด้านการดูเเลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตของเอเชีย ทวีปที่ได้ชื่อว่าเติบโตทางเศรฐกิจมากที่สุดในโลกทวีปหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนชี้ว่า ค่าดูเเลรักษาพยาบาลคนสูงวัยจะกลายเป็นภาระทางงบประมาณด้านการคลังของรัฐบาลที่สำคัญมากทั่วทั้งทวีปเอเชีย

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ ADB ชี้ว่าในเอเชีย
ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกและในจีน
ค่าใช้จ่ายนี้จะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี ค.ศ. 2050 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็ว กับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิภายในประเทศที่ค่อนข้างสูง ประเทศเกาหลีใต้จะมีค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นพอๆ กัน โดยสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโดยรวม

Keizo Takemi สมาชิกวุฒิสภาญี่ปุ่นและประธานคณะกรรมาธิการด้านยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพระดับโลก กล่าวในงานประชุมเกี่ยวกับการสูงวัยที่จัดในกรุงฮานอยเมื่อเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวด้านความต้องการใช้บริการด้านการดูแลทางสุขภาพของประชากรสูงวัยในบรรดาประเทศเอเชียที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงรายได้น้อย

Takemi กล่าวว่า ในเกาหลี ไต้หวัน จีน ไทย และศรีลังกา ประชากรสูงวัยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากจากปี ค.ศ. 2000 หรือเมื่อ 16 ปีที่แล้วเป็นต้นมา คาดว่าประเทศเอเชียเหล่านี้จะกลายเป็นสังคมสูงอายุ เพราะจะมีจำนวนประชากรสูงวัย 14 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่าในช่วงปี ค.ศ. 2016 ถึง 2026

Takemi ย้ำว่า ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคล้ายกันนี้จะพบชัดเจนในเวียดนาม
อินโดนีเซีย พม่า คาซัคสถาน และอิหร่าน โดยแนวโน้มที่แตกต่างซึ่งจะเห็นได้ คือประเทศที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและอย่างช้าๆ ซึ่งเขาชี้ว่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว อินเดียและมองโกเลีย จะเป็นประเทศเอเชียที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ

ญี่ปุ่นกำลังประสบกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับจำนวนประชากรสูงวัยจำนวนมากอยู่ในขณะนี้ ญี่ปุ่นมีคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปประมาณ 32 เปอร์เซ็นหรือ 41 ล้านคนจากทั้งหมดจำนวนประชากรทั้งหมด 127 ล้านคน

Donghyun Park นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเเห่งธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB
กล่าวว่าสำหรับเอเชีย ที่เป็นที่รู้จักในนาม "Tiger economies" หรือเศรษฐกิจเสือเอเซียในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 การมีจำนวนประชากรที่เริ่มสูงวัยมากขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

Park กล่าวว่า เป็นที่รู้กันดีว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางประชากรแบบนี้ไม่เป็นที่ต้องการนัก เพราะมีผลลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเศรษฐกิจเอเชียจะได้รับผลกระทบแน่นอน

จีนเป็นตัวอย่างสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็วจะมีผลกระทบต่อความสำเร็จของการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

Park นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเเห่ง ADB กล่าวปิดท้ายรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงทางลักษณะอายุของประชากรในเอเชีย จะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในเอเชีย โดยไม่เเบ่งแยกว่าจะเป็นประเทศเอเชียที่มีรายได้สูง เช่น เกาหลี สิงคโปร์ หรือไต้หวัน หรือประเทศรายได้ปานกลาง อย่างเช่น ประเทศจีน

(รายงานโดย Ron Corben / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG