การที่ปธน.บารัค โอบาม่า พลาดการประชุมเอเปกและการประชุมประจำปีของสมาคมอาเซียน แสดงให้เห็นว่า ปธน.โอบาม่าไม่สามารถทำตามสิ่งที่ตนให้สัญญาไว้เมื่อช่วงต้นปีได้ นั่นคือการเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิด Code of Conduct หรือระเบียบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนบางประเทศ
ในการประชุมร่วมกับผู้นำสมาคมอาเซียนที่บรูไน รมต.ต่างประเทศสหรัฐ จอห์น แครี่ กล่าวขอโทษต่อที่ประชุมสืบเนื่องจากที่ ปธน.โอบาม่า ไม่สามารถเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียนครั้งนี้ได้ตามกำหนดการที่วางไว้แต่แรก เพราะต้องจัดการปัญหาการเมืองและปัญหาด้านงบประมาณในประเทศให้เสร็จสิ้น ถึงกระนั้นการที่ปธน.โอบาม่าพลาดการประชุมเอเปกและการประชุมประจำปีของสมาคมอาเซียน ก็ได้ก่อให้เกิดคำถามถึงนโยบายของรัฐบาลสหรัฐที่มีเอเชียเป็นศูนย์กลาง
รมต.ต่างประเทศสหรัฐ จอห์น แครี่ยืนยันต่อที่ประชุมอาเซียนในวันพุธว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงวอชิงตันขณะนี้เป็นปัญหาการเมืองภายใน ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายของสหรัฐที่มีต่อเอเชีย ทางด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐที่เดินทางมากับคณะของ รมต.แครี่ ระบุว่า รมต.แครี่จะนั่งลงประชุมกับผู้นำทุกประเทศที่มีกำหนดเดิมว่าจะพบปะเจรจากับ ปธน.โอบาม่า เพื่อหารือในประเด็นสำคัญต่างๆ รวมทั้งเรื่องการจัดทำ Code of Conduct หรือระเบียบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนบางประเทศ
ด้านเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน นายเล เลือง มิน ระบุว่าการหารือเรื่อง Code of Conduct จะดำเนินต่อไป และว่าอาเซียนคาดหวังว่าทั้งฝ่ายจีนและประเทษสมาชิกอาเซียนที่มีข้อพิพาทกับจีนจะพยายามจัดทำระเบียบปฏิบัติที่ว่านี้ให้ได้ เพื่อสันติภาพความมั่นคงของทุกประเทศในภูมิภาค รวมทั้งจีนเองด้วย
และในขณะที่ ปธน.โอบาม่า พลาดการประชุมสุดยอดของสมาคมอาเซียนครั้งนี้ ทางนายกฯจีน นาย หลี่ เค่อเฉียง ได้พยายามใช้เวทีอาเซียนในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมทั้งระบุด้วยว่าสันติภาพในทะเลจีนใต้ถือเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศในแถบนี้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการเจรจาระหว่างประเทศ
นอกจากประเด็นเรื่องการจัดทำ Code of Conduct แล้ว คาดว่าที่ประชุมอาเซียนจะหารือกันในเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่า ด้วยลักษณะทางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของประเทศในอาเซียน จะทำให้การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเสร AEC นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงกระนั้นก็ถือเป็นส่งสัญญาณให้ทั่วโลกตระหนักถึงความตั้งใจของทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน ที่ต้องการเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันและเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้าบนเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้น
รายงานจาก Steve Herman / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล
ในการประชุมร่วมกับผู้นำสมาคมอาเซียนที่บรูไน รมต.ต่างประเทศสหรัฐ จอห์น แครี่ กล่าวขอโทษต่อที่ประชุมสืบเนื่องจากที่ ปธน.โอบาม่า ไม่สามารถเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียนครั้งนี้ได้ตามกำหนดการที่วางไว้แต่แรก เพราะต้องจัดการปัญหาการเมืองและปัญหาด้านงบประมาณในประเทศให้เสร็จสิ้น ถึงกระนั้นการที่ปธน.โอบาม่าพลาดการประชุมเอเปกและการประชุมประจำปีของสมาคมอาเซียน ก็ได้ก่อให้เกิดคำถามถึงนโยบายของรัฐบาลสหรัฐที่มีเอเชียเป็นศูนย์กลาง
รมต.ต่างประเทศสหรัฐ จอห์น แครี่ยืนยันต่อที่ประชุมอาเซียนในวันพุธว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงวอชิงตันขณะนี้เป็นปัญหาการเมืองภายใน ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายของสหรัฐที่มีต่อเอเชีย ทางด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐที่เดินทางมากับคณะของ รมต.แครี่ ระบุว่า รมต.แครี่จะนั่งลงประชุมกับผู้นำทุกประเทศที่มีกำหนดเดิมว่าจะพบปะเจรจากับ ปธน.โอบาม่า เพื่อหารือในประเด็นสำคัญต่างๆ รวมทั้งเรื่องการจัดทำ Code of Conduct หรือระเบียบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนบางประเทศ
ด้านเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน นายเล เลือง มิน ระบุว่าการหารือเรื่อง Code of Conduct จะดำเนินต่อไป และว่าอาเซียนคาดหวังว่าทั้งฝ่ายจีนและประเทษสมาชิกอาเซียนที่มีข้อพิพาทกับจีนจะพยายามจัดทำระเบียบปฏิบัติที่ว่านี้ให้ได้ เพื่อสันติภาพความมั่นคงของทุกประเทศในภูมิภาค รวมทั้งจีนเองด้วย
และในขณะที่ ปธน.โอบาม่า พลาดการประชุมสุดยอดของสมาคมอาเซียนครั้งนี้ ทางนายกฯจีน นาย หลี่ เค่อเฉียง ได้พยายามใช้เวทีอาเซียนในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมทั้งระบุด้วยว่าสันติภาพในทะเลจีนใต้ถือเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศในแถบนี้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการเจรจาระหว่างประเทศ
นอกจากประเด็นเรื่องการจัดทำ Code of Conduct แล้ว คาดว่าที่ประชุมอาเซียนจะหารือกันในเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่า ด้วยลักษณะทางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของประเทศในอาเซียน จะทำให้การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเสร AEC นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงกระนั้นก็ถือเป็นส่งสัญญาณให้ทั่วโลกตระหนักถึงความตั้งใจของทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน ที่ต้องการเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันและเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้าบนเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้น
รายงานจาก Steve Herman / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล