ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เซลล์ประสาท ที่เป็นตัวกระตุ้นให้สมองทราบถึงความเจ็บปวด


เซลล์ประสาท ที่เป็นตัวกระตุ้นให้สมองทราบถึงความเจ็บปวด
เซลล์ประสาท ที่เป็นตัวกระตุ้นให้สมองทราบถึงความเจ็บปวด

เซลล์ประสาทซึ่งแผ่สร้านไปทั่วร่างกายของคนเรานั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้สมองทราบถึงความเจ็บปวด

ใครที่ศัลยแพทย์เคยผ่าตัด หรือไม่ก็เคยได้รับบาดเจ็บสาหัส และต้องพักฟื้นเพื่อให้แผลหายสนิท คงจะรู้สึกขอบคุณยาเสพติดอย่างแรง ที่ซื้อมารับประทานโดยมีใบสั่งแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาเหล่านั้น สามารถทำได้แค่ทำให้สมองมีความสำเหนียก เกี่ยวกับอาการปวดน้อยลง

เซลล์ประสาทซึ่งแผ่สร้านไปทั่วร่างกายของคนเรานั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้สมองทราบถึงความเจ็บปวด ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่คุณเอามือไปถูกน้ำร้อนๆ โดนอะไรบาดเป็นแผล หรือแม้แต่ออกกำลังกายมากเกินควร หน่วยรับความรู้สึกพิเศษของเซลล์ประสาท ก็จะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าปวด

นักวิทยาศาสตร์เขาก็ทราบแค่นี้แหละ แต่นักวิทยาศาสตร์เขาไม่รู้หรอกว่า ตอนที่เกิดความเจ็บปวดแบบนี้ขึ้นมา หน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ประสาท โดนกระตุ้นให้ทำงานอย่างไรกัน? แต่นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส เค็นเนธ ฮากรีฟ กล่าวว่าพริกเผ็ดๆ เช่นพริกชี้ฟ้านี่แหละ เป็นกุญแจสำคัญดอกสำคัญที่ช่วยคลายเงื่อนงำ

นักวิจัย เค็นเนธ ฮาร์กรีฟ กล่าวไว้ตอนนี้ว่า “สารแคพไซซินของพริกเผ็ดๆ อย่างเช่นพริกชี้ฟ้าซึ่งถึงแม้ว่าคุณคิดว่าเป็นเครื่องเทศอย่างหนึ่ง แต่ที่แท้แล้วก็เป็นยาขนานหนึ่งดีๆ นี่แหละ เพราะสารแคพไซซิน เป็นตัวไปกระตุ้นสิ่งที่เรียกว่าหน่วยรับความรู้สึก ของเซลล์ประสาทแคพไซซินเป็นเบื้องประถม

ตอนเรารับประทานพริกเผ็ดๆ เราจะรู้ปวดแสบปวดร้อน เรื่องนั้นเกิดจากการที่โมเลกุล ของสารแคพไซซินในพริก ไปกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ประสาท สำหรับสารแคพไซซินของลิ้นของคนเรา ฉะนั้นยิ่งมีสารแคพไซซินมากเท่าไหร่ พริกนั้นก็จะยิ่งเผ็ดมากขึ้นเท่านั้น

ในการทดลองแบบที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง คุณเค็นเนธ ฮาร์กรีฟ และทีมนักวิจัยพบว่า ผิวหนังสามารถผลิตโมเลกุล ที่คล้ายกับสารแคพไซซินของตนเองได้ เพื่อสนองรับเวลาเกิดอาการปวดเจ็บ

คุณเค็นเนธ ฮาร์กรีฟ กล่าวไว้ตอนนี้ว่า “เราเอาตัวอย่างผิวหนังจากหนูทดลอง แล้วนำไปทดลองกับความร้อนขนาด 43 หรือ 48 องศา แล้วเราก็ดูผลว่า ผิวหนังปล่อยสารอะไรออกมาบ้างภายใต้สภาพการณ์เช่นนั้น “ตามปกติความร้อนราว 47 องศาเซลเซียสนั้น เรียกว่าทำให้เกิดอาการผิวหนังปวดแสบปวดร้อนได้ เมื่อเอาผิวหนังหนูทดลอง ไปโดนความร้อน 48 องศาเซลเซียส ผิวหนังนั้นก็จะผลิตโมเลกุล ที่คล้ายกับสารแคพไซซินออกมาเป็นสารละลาย

คุณเค็นเน็ธ ฮาร์กรีฟ อธิบายให้ฟังทางโทรศัพท์ว่า นักวิจัยนำสารละลายนั้น ไปใช้กับเซลล์ประสาทของหนูทดลอง บางครั้งก็ใช้กับหน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ประสาท สำหรับสารแคพไซซิน และบางครั้งก็ใช้กับกรณีที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม เพื่อขจัดหน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ประสาท เขากล่าวด้วยว่า ความสามารถของสารเหล่านี้ ในการกระตุ้นเซลล์ประสาทที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดนี้ ขึ้นอยู่กับหน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ประสาท ที่เกี่ยวกับสารแคพไซซินโดยสิ้นเชิง และว่าเรื่องที่ค้นพบนี้เป็นวิธีการที่ยิ่งใหญ่ ที่จะช่วยให้แพทย์เปลี่ยนวิธีการเบื้องมูลฐาน ที่แพทย์ใช้บำบัดอาการเจ็บปวด

นักวิจัย เค็นเนธ ฮาร์กรีฟ และทีมนักวิจัยของเขากำลังพัฒนายาสองชนิด ที่สามารถสะกัดกั้นโมเลกุล ที่มีสรรพคุณคล้ายกับสารแคพไซซินมิให้ไปกระตุ้นเซลล์ประสาท และสามารถทำให้สมองไม่รับทราบว่า เกิดอาการเจ็บปวดตั้งแต่ต้นได้ ยาชนิดหนึ่งจะทำให้ร่างกายหยุดผลิตโมเลกุล คล้ายสารแคพไซซิน ส่วนยาอีกขนานหนึ่ง จะซึมซับโมเลกุลนั้นไว้ ก่อนที่จะไปกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกของเซลล์ประสาท ข้อที่สำคัญก็คือยาทั้งสองขนาน ดูท่าว่าไม่ทำให้ผู้ที่ใช้ติดเหมือนอย่างยาเสพย์ติด นักวิจัยเค็นเนธ ฮาร์กรีฟ กล่าวว่าจะนำยาทั้งสองขนาน ไปทดลองในคลินิกได้ภายในหกเดือนข้างหน้า

ผลการวิจัยของคุณเค็นเน็ธ ฮาร์กรีฟ ลงพิมพ์อยู่ในวารสาร Journal of Clinical Investigation

XS
SM
MD
LG