ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การที่อินโดนีเซียผลิตน้ำมันได้น้อยลงไป ทำให้จำเป็นที่จะต้องสำรวจหา และพัฒนาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ


ภาคพลังงานของอินโดนีเซียมาถึงทางสี่แยกแล้ว การที่อินโดนีเซียผลิตน้ำมันได้น้อยลงไป ทำให้จำเป็นที่จะต้องสำรวจหา และพัฒนาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ

ภาคพลังงานของอินโดนีเซียมาถึงทางสี่แยกแล้ว การที่อินโดนีเซียผลิตน้ำมันได้น้อยลงไป ทำให้จำเป็นที่จะต้องสำรวจหา และพัฒนาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีก๊าซสำรองอยู่เป็นปริมาณมากมายมหาศาล แต่การที่จะนำก๊าซที่ว่านั้นขึ้นมาใช้ได้ก็จะต้องมีการขุดเจาะบ่อก๊าซ การวางท่อส่งก๊าซและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ สำหรับการพัฒนาแหล่งก๊าซเหล่านั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายอุตสาหกรรมพลังงานกล่าวว่าอินโดนีเซีย ต้องการให้ต่างประเทศมาลงทุนเพื่อช่วยให้ผลิตพลังงานได้มากขึ้น แต่กฎข้อบังคับที่ยุ่งยากสับสน และเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงทำให้บริษัทต่างชาติคิดหนักว่าสมควรเสี่ยงไปลงทุนในอินโดนีเซียดีหรือไม่?

อินโดนีเซียผลิตน้ำมันได้วันละหนึ่งล้านกว่าบาเรล แต่ใช้น้ำมันวันละหนึ่งล้านห้าแสนบาเรล นั่นก็แสดงว่าอินโดนีเซียต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ในระยะไม่กี่ปีมานี้ อินโดนีเซียผลิตน้ำมันได้น้อยลงไป บ่อน้ำมันที่มีอยู่ส่วนใหญ่

เป็นบ่อที่น้ำมันโดนสูบน้ำมันขึ้นมาจวนจะหมดอยู่รอมร่อ ส่วนบ่อน้ำมันสำรองก็ยังคงมีอยู่ตามบริเวณที่อยู่ลึกลงไปในท้องทะเลสองร้อยกว่าเมตร การขุดเจาะบ่อน้ำมันแบบนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงมาก เมื่อเร็วๆ นี้นักวิเคราะห์ด้านพลังงาน วิลเลียม ดีเอิตซ์ สำรวจความคิดเห็นในหมู่ผู้ผลิตพลังงานเกี่ยวกับเรื่องการลงทุน และสภาพการณ์ด้านกฎข้อบังคับในอินโดนีเซีย และพบว่ารัฐบาลอินโดนีเซียเองทำให้บริษัทเอกชนคิดหนักว่า จะมาลงทุนเพื่อพัฒนาทุ่งน้ำมันใหม่ๆ ดีไหม? เขากล่าวว่าบริษัทน้ำมันต่างๆ ยังคงมองเห็นว่าน้ำมันสำรองในอินโดนีเซียมีศักยภาพสูง แต่ทว่ากฎข้อบังคับของทางราชการที่ยุ่งยากสับสน กอร์ปกับการควบคุมที่ขัดกันเองระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับชาติ ระดับภาคและระดับท้องถิ่น ตลอดจนเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงทำให้บริษัทน้ำมันต่างๆคิดหนักว่าการมาลงทุน จะได้ผลตอบแทนคุ้มกับการเสี่ยงไหม? เขากล่าวว่าภาคพลังงานนั้นยังเป็นที่น่าพิศมัยอยู่แต่ไม่มากเหมือนแต่ก่อนแล้ว และว่าในหมู่ผู้ผลิตน้ำมันที่ตอบคำถามในการสำรวจความคิดเห็นนั้นเกือบร้อยละสามสิบสามบอกว่า กำลังคิดจะถอนตัวออกไป

บริษัทพลังงานยังวิตกห่วงใย ไปถึงเรื่องการสำรวจและการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติเสียด้วยซ้ำไป ก๊าซสำรองของอินโดนีเซียนั้น มีปริมาณมากเป็นอันดับที่สิบสองของโลก ในบรรดาลุ่มน้ำหกสิบกว่าแห่งที่ทราบแน่แล้วว่ามีแหล่งก๊าซนั้น มีการสำรวจไปแล้วแค่ร้อยละสามสิบสาม คุณ รอน แอสตัน นายกสมาคม

ปิโตรเลียมแห่งอินโดนีเซียกล่าวว่า บริษัทพลังงานต่างๆ ลงทุนในด้านการสำรวจแหล่งก๊าซไปแล้วหนึ่งพันล้านกว่าเหรียญสหรัฐ แต่เขากล่าวว่า การผันก๊าซให้เป็นก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศนั้น ต้องอาศัยท่อส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการนั้นมากมายมหาศาล

คุณ รอน แอสตันกล่าวไว้ตอนนี้ว่า “เรื่องก๊าซไม่เหมือนกับเรื่องน้ำมัน ประการหนึ่ง เราต้องนำก๊าซไปสู่ตลาด ถ้าเราพบน้ำมันเราก็เอารถบรรทุก หรือไม่ก็รถลำเลียงน้ำมันมาสูบน้ำมันขึ้นและก็นำน้ำมันไปได้เลย แต่ถ้าเราพบก๊าซ เราจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำก๊าซไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในกรณีของก๊าซแอลเอ็นจีนั้น จะต้องมีท่อส่งก๊าซหรือไม่ก็สถานอำนวยความสะดวกสำหรับก๊าซแอลเอ็นจี ในกรณีนั้นเราต้องลงทุนมากทีเดียวกว่าจะได้ผล และเรื่องที่จำเป็นต้องมีก็คือการได้รับผลตอบแทนระยะยาว คือสัญญาระยะยี่สิบปีหรือนานกว่านั้น “คุณ รอน แอสตันกล่าวด้วยว่าในขณะที่บรรดานักลงทุนเล็งเห็นว่า บรรยากาศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอินโดนีเซียมั่นคง แต่อุตสากรรม

พลังงานต้องการให้รัฐบาลให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับเรื่องกฎข้อบังคับมากกว่านี้และให้คำรับรองว่าจะมีการปฎิบัติตามสัญญา

XS
SM
MD
LG