ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดที่เรื้อรัง


รายงานสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดที่เรื้อรัง
รายงานสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดที่เรื้อรัง

ถ้าคุณไปหาหมอและบ่นให้หมอฟังว่า ปวดไม่รู้จักจบสิ้น หมอก็จะตรวจหาสาเหตุ ถ้าไม่พบอะไร คุณหมออาจจะเริ่มคิดว่าคุณบ่นลมๆ แล้งๆ

แต่ผลของการวิจัยครั้งใหม่แนะว่า อาการปวดของคนไข้เหล่านั้นเป็นเรื่องจริง และเกิดจากการที่ ระบบประสาทเกิดความเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน

สำหรับคนส่วนมากนั้น อาการปวดคือสัญญาณที่ร่างกายของคนเรา ส่งไปบอกสมองว่า ‘นี่ ร่างกายเกิดผิดปกติแล้วนะ ถ้าคุณแก้ปัญหาได้ อาการปวดก็จะหายไป ’

แต่สำหรับคนบางคน แม้บาดแผลจะหายสนิท หรือมีการบำบัดรักษาโรคแล้วก็ตาม แต่อาการปวดกลับไม่หายไปแต่อย่างใด

นักวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอาการปวด อังเดรอัส บี๊วต์เล่อร์ กล่าวว่าสำหรับคนไข้เหล่านี้ อาการปวดกลายเป็นโรคอย่างหนึ่งไปแล้ว

เขากล่าวไว้ตอนนี้ว่า “ขอให้คิดว่าการปวดเรื้อรังเป็นโรคอย่างหนึ่ง ของระบบประสาท อาการปวดเรื้อรัง มิได้เป็นการปวดที่ยืดเยื้อเท่านั้น แต่บ่อยครั้งทีเดียว เกิดจากการปรับตัวผิดพลาดของระบบประสาท”

แพทย์ของเมโยคลินิคผู้นั้นกล่าวว่า ก่อนถึงขั้นนี้ การที่จะกำหนดลงไปว่า ความผิดปกติในคน หรือสัตว์ที่มีอาการปวดเรื้อรังนั้น เกิดจากอะไรกันแน่ทำได้ยาก

คุณหมอ อันเดรอัส บิ๊วต์เล่อร์กล่าวต่อไปว่า นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ปัญหาเกิดที่เชื้อพันธุ์ในเซลล์ของประสาท

เซลล์ทุกเซลล์ในร่างคนนั้นมีเชื้อพันธุ์เหมือนกัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียว ที่กำหนดว่าลักษณะของเซลล์ และการทำงานของเซลล์จะเป็นอย่างไร?

เชื้อพันธุ์ต่างๆ กันจะทำงานอะไรอย่างแข็งขันนั้น ขึ้นอยู่ทื่ว่าเชื้อพันธุ์นั้นเป็นเชื้อพันธุ์ชนิดไหน?

เชื้อพันธุ์ในสัตว์ส่วนมาก ซึ่งมีอยู่ราวสองหมื่นอย่างนั้น จะมีเชื้อพันธุ์บางส่วนเท่านั้น ที่ทำหน้าที่อย่างแข็งในเซ็ลล์ของประสาทปกติ

ทีนี้ เมื่อเชื้อพันธุ์ที่ว่านี้บางชนิด หยุดทำงานหรือเชื้อพันธุ์อื่นๆ เริ่มทำงาน เซลล์ประสาทเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของเชื้อพันธุ์บางชนิด อาจเป็นอันตรายได้ อย่างเช่นทำให้เกิดโรคมะเร็ง และนักประสาทวิทยาสงสัยว่า การเกิดโรคประสาทก็คงจะด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน แต่คุณหมอ อันเดรอัส บิ๊วต์เล่อร์ คิดว่าทฤษฎีดังกล่าวทดสอบว่า ถูกหรือผิดได้ยาก และว่าเรื่องนั้นเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหนึ่งหรือสองปีมาแล้วนี่เอง เมื่อมีการพัฒนาเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า mRNA seq ขึ้นมา ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถวิเคราะห์ว่า ลำดับของเชื้อพันธุ์ทั้งหมดนั้นแสดงออกมาให้เห็นได้ จากเนื้อเยื่อจำนวนเล็กน้อย

เขาใช้ตัวอย่างประสาทของหนูทดลอง โดยการนำมาทำการเปรียบ ระหว่างเซลล์ปรกติกับเซลล์ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เขาพบข้อแตกต่างที่สำคัญๆ หลายอย่าง

อย่างน้อย เชื้อพันธุ์ร้อยละ 10 หรือสองพันตัวในหมู่เชื้อพันธุ์ของหนู ที่มีอาการปวดเรื้อรังนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมของเชี้อพันธุ์นั้นๆ ไป

เขากล่าวด้วยว่าการค้นพบดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องโดยบังเอิญและมีวิสัยว่า จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลนี้เป็นสิ่งซึ่งเขาหวังว่า จะสามารถนำไปสู่การพัฒนายาใหม่ๆได้ในอนาคต

งานวิจัยของคุณหมอ อันเดรอัส บิ๊วต์เล่อร์ลงพิมพ์อยู่ในวารสาร Genome Research

XS
SM
MD
LG