ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ภาวะอากาศแห้งแล้งในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังคุกคามการผลิตข้าวในเขมรและประเทศไทย


ภาวะอากาศแห้งแล้งในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังคุกคามการผลิตข้าวในเขมรและประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผลิตข้าว เกิดขึ้นในยามที่ราคาข้าวถูกลงกว่าช่วงใดๆในระยะสองปีมานี้ ซึ่งทำให้รายได้ของชาวนาลดลง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดข้าวกล่าวว่า ราคาข้าวในภูมิภาคควรจะกลับสูงขึ้น ขณะที่ข้าวสำหรับสนองความต้องการมีปริมาณลดน้อยลง และการผลิตข้าวในเอเชียทั้งทวีปกำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น

ภาวะฝนแล้งในเขมร และประเทศไทยทำให้ผลิตข้าวได้น้อยลงไปอาจถึงสี่สิบเปอร์เซ็นต์

รัฐบาลไทยเป็นห่วงเรื่องการชลประทาน สำหรับไร่นาว่าจะทำให้น้ำสำหรับสนองความต้องการซึ่งมีปริมาณน้อยอยู่แล้วยิ่งลดปริมาณลงไปใหญ่

กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายการวิจัยของบริษัทพัตรา เซ็คเคียวริตีส์ ศุภวุฒิ สายเชื้อ กล่าวไว้ตอนนี้ว่า “ขณะนี้ รัฐบาลขอร้องให้ชาวนาประวิงการปลูกข้าว และเรื่องนั้นหมายถึงว่าการผลิตข้าว การเก็บเกี่ยวข้าวจะทำรวมกันไปในเดือนพฤศจิกายน ขณะนี้ เป็นที่รู้สึกกันโดยทั่วไปในโลกว่าข้าวมีอยู่เป็นปริมาณมากมายและราคาควรถูกลงไปอีก แล้วชาวนาไทยก็จะถูกกระทบกระเทือนทั้งในแง่ของราคาและปริมาณข้าว”

คุณศุภวุฒิกล่าวว่า ขณะที่เศรษฐกิจภาคอื่นๆ ของไทยฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์การเงินโลกแล้ว แต่ภาคเกษตรกรรมยังเดือดร้อนอยู่ ราคาข้าวไทย ซึ่งถือกันว่าเป็นราคามาตรฐานของเอเชียลดลงต่ำกว่าช่วงใดๆในระยะสองปีมานี้ อันเป็นผลจากการที่ความต้องการข้าวลดลง ทางการไทยปรับระดับเงินอุดหนุนเพื่อประกันราคาข้าว ของชาวนาไทยให้สูงขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม

แต่คุณ ชาญชัย รักธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทยกล่าวไว้ตอนนี้ว่า “เสียงเป็นภาษาไทย”

คุณชาญชัยกล่าวด้วยว่า ราคาประกันของข้าวในขณะนี้ยังไม่สูงพอ ที่จะสนองรับรายจ่ายของชาวนาเพราะภาวะอากาศแห้งแล้งทำให้พวกเขาผลิตข้าวได้น้อยลง จึงกระทบกระเทือนรายได้ของชาวนาเพราะพวกเขาไม่ได้กำไรแต่อย่างใด เขากล่าวว่าชาวนาหันไปปลูกข้าวโพดและอ้อยมากขึ้นเพื่อลดการสูญเสียรายได้ที่เกิดจากการปลูกข้าวได้ผลไม่น่าพอใจ

อย่างไรก็ดี คาดกันว่าการส่งออกข้าวของไทยนั้น จะลดปริมาณลงไปอาจถึงหนึ่งล้านตันสำหรับปีนี้ ซึ่งจะกระทบกระเทือนประเทศที่นำเข้าข้าว คุณ เร็กซ์ เอสโตเปเรซ ผู้แถลงข่าวของการอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเอเชียกล่าวว่า ประเทศของเขาจะโดนกระทบกระเทือนแน่ แต่เขากล่าวด้วยว่าฟิลิปปินส์มิได้ซื้อข้าวจากประเทศไทยรายเดียวเท่านั้นแต่ยังซื้อจากประเทศอื่นๆ อีกห้าประเทศ เขาเชื่อว่าถ้าไม่เกิดภาวะแห้งแล้งในประเทศเหล่านั้น ฟิลิปปินส์ก็คงจะไม่เดือดร้อนมากนัก

เมื่อปีพุทธศักราช 2551 ราคาข้าวขึ้นไปถึงระดับตันละหนึ่งพันกว่าเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เพราะสภาพอากาศแปรปรวนและข้าวในสต็อกมีอยู่น้อย

ส่วนเศรษฐกรอาวุโส คอนเซ๊พซิโอน คาลเป แห่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติกล่าวว่าขณะที่ภาวะอากาศแห้งแล้ง ทำให้คาดกันว่าเขมรจะผลิตข้าวได้น้อยลงสิบเปอร์เซ็นต์และประเทศไทยจะผลิตข้าวได้น้อยลงราวหกเปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่การผลิตข้าวทางเอเชียทั้งทวีปจะได้ผลดีกว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2552 ทั้งนี้เพราะการผลิตข้าวของอินเดีย อินโดนีเซีย จีนและบังคลาเทศได้ผลดีมากนั่นเอง เธอกล่าวว่าการที่ผลผลิตดี และข้าวสำรองของรัฐบาลประเทศต่างๆ มีปริมาณมากมาย จึงทำให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหารและการ

ที่ข้าวจะขึ้นราคานั้นน้อยมาก แต่เธอแนะนำว่าชาวนาไทย และชาวนาเขมรรายย่อยๆ นอกจากปลูกข้าวแล้วควรปลูกพืชอื่นๆ ด้วยเพื่อที่จะได้ไม่ต้องพึ่งข้าวอย่างเดียว

XS
SM
MD
LG