ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์เเรงกระเพื่อมจากอัฟกานิสถานสู่มุสลิมหัวรุนเเรงในเอเชียอาคเนย์


Armed Philippines policemen escort Indonesian national Muhamad Sofyan in Jolo, Provinsi Sulu, in 2016
Armed Philippines policemen escort Indonesian national Muhamad Sofyan in Jolo, Provinsi Sulu, in 2016
Taliban Influence in Sea
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:33 0:00


ขณะนี้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของหลายประเทศกำลังจับตาการเคลื่อนไหวของมุสลิมหัวรุนเเรงกลุ่มต่างๆ หลังตาลิบันสามารถยึดครองอัฟกานิสถานได้เมื่อกลางเดือนที่เเล้ว

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรงกระเพื่อมอาจเกิดขึ้นในอินเโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เนื่องจากชัยชนะของตาลิบันถูกมองว่าเป็นปัจจัยด้านขวัญกำลังใจของมุสลิมความคิดสุดโต่งในประเทศเหล่านั้น ตามการวิเคราะห์ของผู้สัดทัดกรณี

ในฟิลิปปินส์ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ไปถึงกลุ่ม อาบู เซย์ยาฟ ที่เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและเคยลักพาตัวนักท่องเที่ยวหลายครั้ง นอกจากนั้นในอินโดนีเซีย มีกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ ที่ต้องสงสัยว่าโยงใยกับการวางระเบิดที่เกาะบาหลีปีค.ศ. 2002

เจ้าหน้าที่ของประเทศเหล่านี้เก็บข้อมูลถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวรุนเเรงต่างๆอย่างใกล้ชิด

รัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ เดลฟิน โลเรนซานา บอกกับสื่อ Philippine News Agency เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมว่า “ไม่ว่าจะพิจารณาถึงตาลิบันหรือไม่ ตลอดมาเราเห็นว่ากลุ่มความคิดสุดโต่งในประเทศเป็นเรื่องใหญ่ที่สร้างความกังวล”

เขากล่าวว่าฟิลิปปินส์พร้อมด้วยอินโดนีเซียเเละมาเลเซียดำเนินการเเบ่งปันข่าวสารและร่วมมือประสานงานในการปกป้องเขตเเดนทางทะเล

สำหรับอินโดนีเซียมีรายงานข่าวว่า เจ้าหน้าที่สอดส่องโซเชี่ยลมีเดียเพื่อดูว่ามีความพยายามเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวรุนเเรงหรือไม่

กลุ่มมุสลิมความคิดสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการสร้างรัฐอิสระแยกจากดินเเดนในประเทศ และในอดีตขบวนการเหล่านี้ได้รับการหนุนหลังจากกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดา ซึ่งครั้งหนึ่งใช้อัฟกานิสถานเป็นที่มั่นภายใต้อำนาจของตาลิบัน

FILE - Jalaluddin Haqqani, right, founder of the Haqqani network, is seen during a visit to Islamabad, Pakistan, Oct. 19, 2001. A speech by one of his sons, Sirajuddin Haqqani, who now heads the network, is drawing renewed attention.
FILE - Jalaluddin Haqqani, right, founder of the Haqqani network, is seen during a visit to Islamabad, Pakistan, Oct. 19, 2001. A speech by one of his sons, Sirajuddin Haqqani, who now heads the network, is drawing renewed attention.

เอ็นริโก เคา ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียอาคเนย์แห่งองค์กร Taiwan Strategy Research Association กล่าวว่าอัลเคดา และมุสลิมความคิดสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความพี่เป็นน้องกัน และได้รับการสนับสนุนด้านขวัญกำลังใจเพื่อความเป็นปึกแผ่น

เขาบอกว่า แม้ตาลิบันไม่มีอิทธิพลโดยตรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในทางอ้อมตาลิบันสามารถเเสดงอิทธิพลได้บ้าง

อิทธิพลทางอ้อมดังกล่าวสามารถถูกใช้ประโยชน์โดยผู้ที่เป็นตัวเเทนของอัลเคดา หรืออาบูเซย์ยาฟ ซึ่งในอดีตอัลเคดาเคยช่วยเหลือขบวนการกบฏในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

ส่วน เเซคารี อาบูซา อาจารย์ที่วิทยาลัย National War College ที่กรุงวอชิงตันของสหรัฐฯ ระบุว่าขบวนการมุสลิมความคิดสุดโต่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยเห็นตาลิบันถูกโจมตีโดยอเมริกาจนต้องไปตั้งหลักในปากีสถาน แต่ก็กลับมาคุมอำนาจในอัฟกานิสถานได้อีกครั้งจากการสู้กับมหาอำนาจอย่างไม่ลดละ

นักวิชาการผู้นี้จึงกล่าวว่าชัยชนะของตาลิบันล่าสุดอาจเป็นเเรงกระตุ้นทางจิตใจต่อกลุ่มต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

ก่อนหน้านี้ ในตอนที่สหรัฐฯสร้างความปั่นป่วนให้กับตาลิบันในอัฟกานิถาน กองกำลังติดอาวุธในเอเชียะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนสถานที่ฝึกฝนทางยุทธวิธีจากอัฟกานิสถาน ไปยังอิรักและซีเรีย

ด้วยเหตุนี้ เมื่อการคุมอำนาจในอัฟกานิสถานเปลี่ยนไป โดยที่ตาลิบันกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง อาจารย์เเซคารี อาบูซา จึงเห็นว่าชัยชนะของตาลิบันอาจมีผลเชิงรูปธรรมได้

สิ่งที่ต้องจับตามองต่อไปคือ การสนับสนุนที่จับต้องได้นั้นจะรอดพ้นการสกัดกั้นของรัฐบาลประเทศต่างๆในเอเชียอาคเนย์ได้มากน้อยเเค่ไหน เนื่องจากฝ่ายรัฐได้เตรียมตัวดีกว่าในอดีต

และประชากรมุสลิมจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ชีวิตตามเเนวทางสายกลาง และไม่นิยมการเคลื่อนไหวของขบวนการติดอาวุธ ขณะที่สตรีชาวมุสลิม เช่นในมาเลเซียก็ไม่สบายใจที่เคยเห็นความรุนเเรงของตาลิบันต่อผู้หญิงในอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้

Indonesian Muslim women attend a sermon at a mosque
Indonesian Muslim women attend a sermon at a mosque

XS
SM
MD
LG