ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"I Still Believe in Our City": นิทรรศการศิลปะแด่ชาวเอเชียผู้ไม่ยอมจำนน ผลงานศิลปินไทยในนิวยอร์ก


Thai-Indonesian artist, Amanda Phingbodhipakkiya, created public art installation in New York to celebrate Asian-American's resilience amid increased harassment and violence against Asian-Americans.
Thai-Indonesian artist, Amanda Phingbodhipakkiya, created public art installation in New York to celebrate Asian-American's resilience amid increased harassment and violence against Asian-Americans.
Amanda Phingbodhipakkiya
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:57 0:00


ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในมหานครนิวยอร์ก ผู้คนหลายแสนที่ผ่านไปมาบริเวณไทม์สแควร์ (Times Square) หรือศูนย์ศิลปะการแสดงลินคอล์น เซ็นเตอร์ (Lincoln Center) บนเกาะแมนฮัตตัน ตลอดจนผู้คนอีกนับล้านที่เดินทางสัญจรโดยระบบรถไฟใต้ดิน และรถเมล์ ต่างได้เห็นภาพวาดใบหน้าของคนเชื้อสายเอเชีย พร้อมข้อความสั้นแต่ทรงพลัง เช่น “I did not make you sick” (“ฉันไม่ได้ทำให้เธอป่วย”) หรือ “I am not your scape goat” (“ฉันไม่ใช่แพะรับบาป”) และ “This is our home too”(“ที่นี่คือบ้านของฉันเหมือนกัน”)

นิทรรศการภาพวาดสีสันสดใสสะดุดตาที่กระจัดกระจายอยู่ตามสถานที่สำคัญ และใน 76 ชุมชนทั่วนิวยอร์กเหล่านี้ คือผลงานของ Amanda Phingbodhipakkiya (อแมนดา) ศิลปินสาวเชื้อสายไทยในนิวยอร์กที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในสหรัฐฯ

"ฉันคิดว่ามันสำคัญมากที่ฉันจะต้องกล้าประกาศออกไปว่าเอเชียนอเมริกันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่นี่ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว ชาวเอเชียนอเมริกันมักจะถูกมองว่าเป็นคนหัวอ่อน ชอบอยู่เงียบ ๆ และไม่กล้า ซึ่งเป็นทัศนคติเหมารวมที่ไม่เป็นความจริง ยิ่งถ้าได้มาเห็นพี่ป้าน้าอาของเราจะรู้เลยว่า ภาพลักษณ์เหล่านั้นห่างไกลจากความเป็นจริงมาก" อแมนดากล่าวกับวีโอเอไทย

อแมนดา ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาด้านประสาทวิทยา สร้างชื่อเสียงจากการเป็นศิลปินที่ใช้งานศิลปะหลายแขนงเพื่อถ่ายทอดความมหัศจรรย์และความน่าทึ่งของวิทยาศาสตร์ แต่สภาพความว่างเปล่าของย่านไชนาทาวน์ในนิวยอร์ก หลังการระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เหตุการเหยียดเชื้อชาติและการใช้ความรุนแรงต่อคนเอเชียที่มากขึ้น ทำให้เธอต้องการใช้ศิลปะเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับชุมชนเอเชียนอเมริกัน

งานนิทรรศการภาพวาดชุดที่ชื่อว่า “I Still Believe in Our City” หรือ “ฉันยังเชื่อมั่นในเมืองของเรา” เป็นผลงานที่อแมนดาได้รับการสนับสนุนจากแผนกวัฒนธรรมของมหานครนิวยอร์ก เมืองที่มีผู้คนเชื้อสายเอเชียมากที่สุดในสหรัฐฯ

"ฉันคิดว่านิวยอร์กยังไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้อง หรือต่อสู้เพื่อชาวเมืองที่เป็นคนเอเชียนอเมริกัน ปัญหาต่าง ๆ ของคนเอเชียนอเมริกันมักจะถูกกวาดซ่อนไว้ใต้พรม ทำให้พวกเขารู้สึกไร้ตัวตน ฉันพยายามจะทำให้การจัดแสดงงานศิลปะในที่สาธารณะนี้เป็นเสมือนการ “ทวงคืนพื้นที่” ที่ทำให้ชาวนิวยอร์กไม่สามารถมองข้ามคนเอเชียนอเมริกันได้อีกต่อไป"

Amanda Phingbodhipakkiya, a multidisiciplinary artist and speaker based in Brooklyn, New York, painted a mural in Washington, D.C. on June, 2021.
Amanda Phingbodhipakkiya, a multidisiciplinary artist and speaker based in Brooklyn, New York, painted a mural in Washington, D.C. on June, 2021.

แม้จะเกิดและเติบโตมาในสหรัฐฯ แต่รูปร่างหน้าตาแบบคนเอเชีย ทำให้อแมนดาต้องพบกับการถูกเหยียดเชื้อชาติเช่นกัน

"วันหนึ่งฉันกำลังขึ้นรถไฟใต้ดินในนิวยอร์กก่อนที่จะมีการล็อคดาวน์ ผู้ชายคนหนึ่งหันมามองฉัน แล้วพูดขึ้นว่า “อี๋ น่าขยะแขยง” ก่อนจะรีบรุดไปยังอีกด้านหนึ่งของตู้รถไฟ ซึ่งมันทำให้ฉันรู้สึกตกตะลึงไปพักหนึ่งเลย หลังจากที่ตั้งสติได้ ฉันเสียดายที่ฉันไม่ได้พูดบางอย่างออกไป เช่นฉันอยากจะบอกเขาว่าฉันไมไ่ด้ทำให้เขาติดโรค"

"I Still Believe in Our City" public art installation byAmanda Phingbodhipakkiya (front row in red jacket) is showcased in New York's subway station.
"I Still Believe in Our City" public art installation byAmanda Phingbodhipakkiya (front row in red jacket) is showcased in New York's subway station.

ศิลปินสาวเชื้อสายไทยวัย 33 ปีจึงได้เก็บเอาถ้อยคำที่อยากพูดออกไป แต่พูดไม่ออกในวันนั้น เช่น “ฉันไม่ใช่เชื้อโรคทำให้เธอป่วย” มาเป็นส่วนหนึ่งของภาพงานศิลปะ โดยเชื่อว่าเป็นข้อความแทนใจชาวเอเชียนอเมริกันหลายคนเช่นกัน ​

การสำรวจและการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งระบุตรงกันว่า การแสดงความเกลียดชังต่อผู้มีเชื้อสายเอเชียในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งการแสดงความเกลียดชังส่วนใหญ่ เป็นการคุกคามทางวาจา การถูกคนในสังคมแสดงความรังเกียจ และการทำร้ายร่างกาย

การศึกษาข้อมูลใน 16 เมืองใหญ่ของสหรัฐฯ โดย Center for the Study of Hate and Extremism ที่มหาวิทยาลัย California State University เมืองซานเบอร์นาดิโน พบว่า มีการแจ้งความอาชญากรรมอันเกิดจากความเกลียดชังเพิ่มขึ้น 164% ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดย นิวยอร์กและลอสแอนเจลิส เป็นสองเมืองที่มีเหตุเกิดมากที่สุดในสหรัฐฯ

"I Still Believe in Our City" public art installation by Amanda Phingbodhipakkiya is showcased in New York's subway station.
"I Still Believe in Our City" public art installation by Amanda Phingbodhipakkiya is showcased in New York's subway station.

เหตุการณ์ที่ชายอเมริกันผิวขาวบุกเข้าไปยิงสปา 3 แห่ง ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ใกล้กับบ้านเกิดของอแมนดา ยังเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเธออย่างมาก เหตุการณ์ครั้งนั้นในเดือนมีนาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน โดย 6 คนเป็นผู้หญิงเชื้อสายเอเชีย และหนึ่งในนั้นอยู่ไม่ไกลจากบ้านคุณพ่อคุณแม่ของเธอ

"I Still Believe in Our City" public art installation by Amanda Phingbodhipakkiya, a multidisiciplinary artist based in Brooklyn, New York.
"I Still Believe in Our City" public art installation by Amanda Phingbodhipakkiya, a multidisiciplinary artist based in Brooklyn, New York.

หลังจากเหตุดังกล่าว นิตยสารไทม์​ แมกกาซีน (Time Magazine) ได้นำผลงานของเธอลงเป็นหน้าปกของนิตยสารฉบับปลายเดือนมีนาคม นอกจากนั้นเมืองอื่น ๆ ในสหรัฐฯ ยังนำงานนิทรรศการเพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อชาวเอเชียไปจัดแสดงหรือเผยแพร่ต่ออีกด้วย

ล่าสุด ภาพวาดใบหน้าคนเอเชีย ในชุด “I Still Believe in Our City” จำนวน 5 ภาพของอแมนดาที่ติดตามป้ายรถเมล์ในนิวยอร์ก ยังได้รับเลือกให้นำไปแสดงในVictoria and Albert Museum พิพิธภัณฑ์ชื่อดังในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

"ที่ผ่านมา ชาวเอเชียนอเมริกันบอกฉันว่า การได้เห็นภาพใบหน้าขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายเอเชียในพื้นที่ที่โดดเด่นที่สุดในนิวยอร์ก ทำให้พวกเขารู้สึกภูมิใจ และปลอดภัยมากขึ้นอีกนิดนึง เพราะหลายครั้งมีคนบอกพวกเราว่าเราไม่ใช่ส่วนหนึ่งของที่นี่ หรือเราควรกลับไปยังที่ที่เราจากมา การได้เห็นใบหน้าของพวกเขาอยู่ในที่เหล่านี้ ทำให้พวกเรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมพหุวัฒนธรรมของอเมริกา เพราะนั่นคือความจริง"

XS
SM
MD
LG