ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ประเด็นถกเถียงเรื่องสิทธิของสัตว์ และจรรยาแพทย์ ในการนำลิงซิมแพนซีมาประกอบการศึกษาวิจัย


ลิงชิมแพนซี ซึ่งเป็นลิงพื้นเมืองทางแอฟริกากลาง เป็นลิงที่ฉลาดมากๆ และมีลักษณะพิเศษเฉพาะทางกายภาค และพฤติกรรมที่คล้ายกับมนุษย์เราหลายต่อหลายอย่างทีเดียว อันที่จริงแล้วดีเอ็นเอของลิงชิมแพนซีร้อยละเก้าสิบแปดนั้น เหมือนกับของมนุษย์เรา

เรื่องที่ว่านี้ทำให้นักวิจัยทางการแพทย์ ชอบนำลิงชิมแพนซีมาใช้ประกอบการศึกษาวิจัยของพวกเขา และเป็นต้นเหตุให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันยกใหญ่ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิของสัตว์และจรรยาแพทย์

สหรัฐเป็นประเทศเดียวในโลก ที่รัฐบาลยังคงออกทุนให้กับการทดลองทางการแพทย์ ที่อาศัยลิงชิมแพนซีเป็นเครื่องมือในการทดลอง

ผู้ที่สนับสนุนวิธีการแบบนั้น ให้เหตุผลว่าการวิจัยทดสอบทางการแพทย์ ที่ใช้ลิงชิมแพนซีเป็นเครื่องมือนี้ช่วยชีวิตประชาชนทั่วโลก ไว้ได้นับล้านๆ คน นักกิจกรรมผู้สนับสนุนเรื่องสิทธิของสัตว์โต้เถียงว่าการทำให้ลิงชิมแพนซีต้องเจ็บปวด และถึงแก่ความตายไปก็มีอยู่บ่อยๆ นั้นเป็นการทดลองที่โหดร้ายทารุณ และไร้มนุษยธรรม

แพทย์หญิง โฮพ เฟอร์โดวเชียน ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการวิจัย ขององค์การไม่แสวงหากำไรที่ส่งเสริมอายุรกรรมเชิงป้องกันที่มีชื่อว่า คณะกรรมการของอายุรแพทย์ ผู้สนับสนุนอายุรกรรมที่มีความรับผิดชอบ หรือที่เรียกชื่อย่อๆ ว่าพีซีอาร์เอ็มกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "เราใช้ลิงชิมแพนซีเป็นเครื่องมือในการวิจัย เกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำให้เป็นเอดส์ และโรคตับอักเสบชนิดซี ซึ่งทำให้ลิงชิมแพนซีโดนฉีดยาเพื่อทำให้สลบ และก็มีการดำเนินกระบวนการที่เป็นอันตราย และทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย"

นอกจากพีซีอาร์เอ็ม จะคัดค้านด้านจรรยาแพทย์แล้ว ก็ยังอ้างด้วยว่าการนำลิงชิมแพนซีมาใช้เป็นเครื่องมือในห้องปฎิบัติการทดลอง เพื่อทำให้อายุรกรรมก้าวหน้านั้น เป็นวิธีการที่ไร้ประสิทธิภาพ

คุณอิลิซซะเบธ คูซินิช ภริยาของส.ส.อเมริกัน เดนนิส คูซินิช ผู้สนับสนุนเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์มานาน และยังเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกิจการชุมชน ของพีซีอาร์เอ็มด้วยกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "วิทยาศาสตร์วิวัฒน์ ไปตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ ที่นับจากปีคริสต์ศักราชหนึ่งพันเก้าร้อยยี่สิบเมื่อมีการนำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มาใช้เป็นเครื่องมือในการทดลอง"

แพทย์หญิง โฮพ เฟอร์โดวเชียนกล่าวว่า ยังมีทางเลือกอย่างอื่นที่ใช้แทนการใช้ลิงชิมแพนซี ในการทดลองได้ อย่างเช่นในการวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้น เราเรียนรู้อะไรหลายอย่างจากการวิจัยศึกษาด้านการระบาด ในหมู่มนุษย์และการทดลองในคลินิกแบบที่ยึดจรรยาแพทย์เป็นต้น

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณอลิซซะเบธ คูซินิช และแพทย์หญิง โฮพ เฟอร์โดวเชียนไปสนับสนุนร่างกฎหมายที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาอเมริกัน ในบั้นปลายกฎหมายฉบับนั้น จะห้ามการทดลองที่มีการแพร่กระจายเชื้อโรคในลิงชิมแพนซี

แต่ดร. จอห์น แวนดีเบิร์ก ผู้อำนวยการของศูนย์การวิจัย เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแห่งชาติสาขาภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่เมืองซาน แอนโทดนียว รัฐเท็กซัสมีความเห็นว่า การใช้ลิงชิมแพนซีเป็นเครื่องมือ ในการทดลองทางชีวอายุรกรรมนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะไม่มีสัตว์อื่นใดที่สามารถทำให้ติดเชื้อไวรัสโรคตับอักเสบชนิดซี เชื้อไวรัสโรคตับอักเสบชนิดบี หรือเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ และว่าจนถึงขณะนี้ การวิจัยที่ทำกันไปแล้ว โดยใช้ลิงชิมแพนซีเป็นเครื่องมือนั้นเป็นประโยชน์ต่อพลโลกมากมาย

เมื่อโดนซักถามในแง่ของจรรยาแพทย์ ดร. จอห์น แวนดีเบิร์กกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ตัวเขาและเพื่อนร่วมงานจะใช้สัตว์อื่นก่อน เมื่อการวิจัยคืบหน้า ไปถึงขั้นที่ข่าวสารที่ได้รับมาจากการทดลองกับหนูไม่พอเพียง เราก็อาจหันไปใช้ลิง ถ้ายังไม่ได้ได้ข้อมูลที่เราต้องการ เราถึงจะใช้ลิงชิมแพนซีเป็นเครื่องมือ" เขาบอกด้วยว่า สัตว์ที่ศูนย์ของเขาดูแลอยู่นั้น ได้รับการดูแลดียิ่งกว่าพลโลกส่วนมากเสียอีก เขากล่าวว่า มีเครื่องทำความร้อนตอนหน้าหนาว เครื่องปรับอากาศตอนหน้าร้อนและมีโทรทัศน์ให้ลิงชิมแพนซีดูด้วย

แต่ข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า ลิงชิมแพนซีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยทางอายุรกรรมนั้น อาจตายหรือต้องเจ็บปวดนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผู้มีชื่อเสียงของโลก เจน กูดออลกล่าวว่าไม่อาจยอมรับได้



XS
SM
MD
LG