ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การกอบโกยที่ดินในแอฟริกา จากบรรดาบริษัทต่างชาติ


บรรดานักกิจกรรม และนักวิจัยในสหรัฐกำลังเตือนเรื่องที่พวกเขาเรียกว่า "การกอบโกยที่ดิน อย่างน่าตกใจในแอฟริกา" รัฐบาลของประเทศนอกแอฟริกา และบรรดาบรรษัทต่างชาติ กำลังหันไปกว้านซื้อที่ดินผืนใหญ่ จากประเทศทางแอฟริกามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้บรรดานักกิจกรรมผู้กล่าวว่า ไม่ควรปล่อยให้ความผิดพลาด อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเกิดซ้ำอีกนั้น พากันสะดุ้งตกใจ

กรรมการบริหารของสถาบันโอ๊กแลนด์ อนุรฐา มิตตาล ผู้ร่วมเขียนรายงานที่ตั้งชื่อว่า " การกอบโกยที่ดินครั้งมโหฬาร" เมื่อเร็วๆ นี้กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "การกอบโกยที่ดินเป็นแนวโน้ม ของการที่นักลงทุนเอกชน จากประเทศที่มั่งคั่งร่ำรวย แต่ขาดความมั่นคงด้านอาหารกว้านซื้อที่ดิน ที่เหมาะสำหรับเพาะปลูกจากประเทศในโลกที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้คนต้องพลัดพรากจากถิ่นฐาน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น การกอบโกยที่ดินเป็นการกอบโกยทรัพยากร ซึ่งทรงความสำคัญอย่างยิ่งยวด สำหรับการประกันให้มีความมั่นคงด้านอาหารในประเทศเหล่านี้"

ตั้งแต่กลางปีพุทธศักราช 2551 มาจนถึงปลายปีที่แล้ว ซึ่งมีการนำรายงานฉบับนั้น ออกเผยแพร่ สถาบันโอ๊กแลนด์จดบันทึกไว้ว่า มีการซื้อขายที่ดินแบบนั้น 180 ครั้ง ซึ่งส่วนมากเกิดขึ้นในแอฟริกา

ประธานของสถาบันโลก ของคนผิวดำแห่งศตวรรษที่ 21 รอน แดเนียลส ผู้จัดให้มีการถกอภิปรายโต๊ะกลมเกี่ยวกับเรื่อง "การช่วงชิงแอฟริกาครั้งใหม่ ที่นครนิวยอร์กเมื่อเร็วๆ นี้กล่าวไว้ตอนนี้ว่า" การช่วงชิงแอฟริกาครั้งแรก ได้แก่การที่ประเทศมหาอำนาจทางยุโรป ชำแหละเฉือนแอฟริกาในการประชุม ณ กรุงเบอร์ลินเมื่อปีพุทธศักราช 2427 ตอนนี้ดูเหมือนจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นครั้งใหม่ ในยุคศตวรรษที่ 21 โดยมีประเทศอย่างเช่นจีนเป็นแกนนำ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เพราะจีนมีความหิวกระหายอย่างเหลือล้น อันดับต่อมาได้แก่รายของอินเดียและเกาหลี และแม้แต่ชาติทางยุโรปบางชาติ ตลอดจนชาติอาหรับบางชาติ"

ในรอบสองปีที่ผ่านมา มีการทำสัญญาซื้อที่ดินผืนใหญ่ๆ ทั่วทวีปแอฟริกา บางครั้งมีการเฉลิมฉลองเรื่องนั้นควบคู่กันไปด้วย อย่างเช่นเมื่อเดือนมกราคม ปีกลาย บรรษัทข้ามชาติของยุโรป แอ็ดแด็กซ อินเตอร์แนชเชินเนิ่ลกับรัฐบาลเซียร่า เลโอน เข้าหุ้นกันในการกลั่นเหล้าจากน้ำตาล ซึ่งมาจากไร่อ้อยนับพันๆ เฮคตาร์

เมื่อเร็วๆ นี้ กาตาร์เข้าไปปลูกพืชในที่สี่หมื่นเฮคตาร์ในเคนยา ในขณะที่จีนซื้อที่ดินกว่าหนึ่งแสนเฮคตาร์ในซิมบับเว

ส่วนนักลงทุน ผู้ซื้อที่ดินชาวต่างชาติ และผู้นำของท้องถิ่ยเถียงว่า การเช่าที่ดินเป็นเวลานานๆ ทำให้มีงานให้คนทำเพิ่มขึ้นนับพันๆ ตำแหน่ง และทำให้ประเทศนั้นมีรายได้ที่ตนต้องการอย่างมาก บรรดานักลงทุนกล่าวด้วยว่า จะมีการนำเทคนิคสำหรับเพาะปลูกที่ดีกว่าเดิม มาสู่แอฟริกาและว่าอาหารส่วนมากที่ผลิตได้นั้น จะนำออกขายในท้องถิ่น

คุณอนุรฐา มิตตาลแห่งสถาบันโอ๊กแลนด์ ไม่เชื่อถือคำมั่นสัญญาเหล่านี้ เธอชี้ให้ดูประวัติของเรื่องสวนผลไม้ในอเมริกาใต้ และเอเชียตะวันออก

ส่วนผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐโอเรกอน ไบรอัน เนลสันเขียนไว้ในบทความบทหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับเรื่องที่เขาเรียกการกอบโกยที่ดิน ในแอฟริกาในปัจจุบันว่าเป็นการล่าอาณานิคมยุคใหม่ แต่เขาก็เชื่อมั่นว่า ชาวนาในท้องถิ่นยังมีวิสัยที่จะป้องกันสิทธิของพวกเขาได้ โดยการรวมพลังกันในระดับรากหญ้า เพื่อไม่ให้ชาวนา แต่ละคนต้องต่อสู้กับบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่นั้นไปตามลำพัง เขา กล่าวด้วยว่า ชาวนาในท้องถิ่นต้องทำให้แน่ใจได้ว่า ผลประโยชน์จะตกอยู่กับท้องถิ่น มีโครงการแบ่งผลกำไรที่แน่นอน และประโยชน์จากการพัฒนาที่ดินนี้กับ

ชุมชนในท้องถิ่น เขากล่าวด้วยว่า ควรหยุดส่งอาหารออกนอกประเทศเมื่อใดก็ตาม ที่เกิดวิกฤติการณ์ด้านอาหารในประเทศที่บริษัทนั้นๆ ปฏิบัติงานอยู่

ส่วนคุณอนุรฐา มิตตาลเป็นห่วงอย่างมากว่า ประเทศทางแอฟริกาซึ่งปล่อยให้นักลงทุนต่างชาติ มาลงทุนจำนวนมหาศาลในการกลั่นน้ำมัน ผลิตยางและขุดเพชร ซึ่งทำให้เคยเกิดความไม่สงบอย่างขนานใหญ่มาแล้ว กรณีที่มีการกอบโกยที่ดินนี้ อาจทำให้เกิดเรื่องแบบนั้นอีก เธอเตือนด้วยว่า สิ่งแวดล้อมจะเสื่อมลงเมื่อมีการทำไร่นา แบบที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในที่ดินที่มิได้สกปรกเป็นพิษ



XS
SM
MD
LG