ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อาหารที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร?


ตั้งแต่เริ่มมีการวางขายอาหาร ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมเมื่อราว 10 กว่าปีที่แล้ว ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมแล้วนี้ ได้กลายมาเป็นหัวข้อถกเถียงมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดบริษัทวิจัย และพัฒนาด้านอาหารและการเกษตรในสหรัฐ ได้แนะนำถั่วเหลืองชนิดใหม่ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ให้มีประโยชน์ด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งกำลังจะออกสู่ตลาดในเร็ววันนี้ และนั่นอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนทั่วไป ที่มีต่อเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรได้

ปัจจุบัน ผลิตผลทางการเกษตรที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมนั้น ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการช่วยเหลือเกษตรกร เช่น ทำให้อดทนต่อศัตรูพืชและแมลงเป็นหลัก แต่ยังไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการช่วยเหลือผู้บริโภค คุณ Jane Rissler แห่งสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใยผู้บริโภคกล่าวว่า ผู้ที่ได้ผลกำไรและประโยชน์จากพืชที่ดัดแปลงพันธุกรรมนั้น ก็คือเกษตรกรกับบริษัทผู้ผลิต แต่ผู้บริโภคคือผู้ที่แบกรับความเสี่ยงทั้งหมด

นับตั้งแต่พืชที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ออกวางขายในตลาดเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ความเสี่ยงที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ คือเรื่องที่ยังคงเป็นกังวล ผู้บริโภคจำนวนมากยังไม่สบายใจที่ต้องรับประทานอาหารผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปที่เกษตรกรถูกสั่งห้ามปลูกพืชส่วนใหญ่ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมอย่างเด็ดขาด

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดบริษัทผู้พัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช และเทคโนโลยีชีวภาพในสหรัฐ Monsanto กำลังจะเปิดตัวเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ให้สามารถผลิตกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณมากพอ ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 นี้ เป็นสารอาหารที่นักวิจัยเชื่อกันว่ามีประยชน์ต่อหัวใจและสมอง

คุณ Roy Fuchs หัวหนเฝ่ายวิจัยถั่วเหลืองที่ Monsanto กล่าวว่าน้ำมันถั่วเหลืองคือส่วนประกอบสำคัญของอาหารทางตะวันตกมากมายหลายประเภท ตั้งแต่ขนมปัง โยเกิ์รตไปจนถึงน้ำสลัด และว่าการบริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันจากถั่วเหลือง ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมวันละ 3 ประเภท จะให้คุณค่าสารอาหารจากกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้เพียงพอที่ร่างกายต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องทางน้ำมันตับปลาอัดเม็ดเสริม

ศาสตราจารย์ด้านเภสัชวิทยา Roger Clemens แห่งมหาวิทยาลัย Southern California ซึ่งรับหน้าที่เป็นโฆษกของสมาคมโภชนาการอเมริกันกล่าวว่า การท่าสามารถหากรดไขมันโอเมก้า 3 รับประทานได้ง่ายๆ จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะกับประชากรสูงอายุ ที่มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ สูง ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน อัลไซเมอร์ส และความดันโลหิตสูง

อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพ จากถั่วเหลืองที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมอยู่บ้าง คุณ Jane Rissler แห่งสหภาพนักวิทยาศาสตร์ ผู้ห่วงใยผู้บริโภคกล่าวว่า วิธีดังกล่าวคือการแทรกแซงกระบวนการเมตาบอริซึ่ม ของถั่วเหลือง และคำถามก็คือวิธีที่ว่านี้ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่

เมื่อเร็วๆ นี้ สำรักงานอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติน้ำมันถั่วเหลือง ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมของ Monsanto แล้ว และคาดว่าจะวางขายได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้


XS
SM
MD
LG