ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักประดิษฐ์อเมริกัน ผลิตปูนซีเมนต์ ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม


ปูนซีเมนต์นั้น เป็นส่วนผสมที่สำคัญของคอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะในการสร้างถนน สะพานและอาคาร แต่การผลิตปูนซีเมนต์ต้องอาศัยการเผาหินปูน และวัตถุอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหยขึ้นสู่บรรยากาศ

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้ เป็นตัวการสำคัญในการทำให้โลกร้อน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้หนึ่ง กำลังดำเนินงานโดยใช้ปูนซีเมนต์สีเขียว ซึ่งสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ที่บริษัทคาเลร่าในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นที่ๆ คุณเบรนท์ คอนสแตนท์ซทำงานอยู่ นักวิทยาศาสตร์เอาอากาศผสมกับน้ำ ทำเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีต อย่างเช่นกรวดขาวและเสาคอนกรีต ซึ่งเพิ่งผ่านการทดสอบว่าทนทานน้ำหนักได้แค่ไหน และยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง

ขณะที่ปูนซีเมนต์ยี่ห้อพอร์ตแลนด์ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ระเหยขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้น และปูนซีเมนต์เขียวของบริษัทคาเลร่า ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกไปจากบรรยากาศได้เป็นปริมาณมากทีเดียว สำหรับคาร์บอนแต่ละหน่วย ที่ปูนซีเมนต์ยี่ห้อพอร์ตแลนด์ปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศ คุณเบรนท์ คอนสแตนท์ซกล่าวว่า ปูนซีเมนต์เขียวจะกักเก็บคาร์บอนออกไป จากบรรยากาศได้สามหน่วย

ปูนซีเมนต์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเป็นตัวการสำคัญอันดับสาม ที่ทำให้ในบรรยากาศ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเตาเผาสำหรับทำปูนซิเมนต์เหลวนั้น ต้องใช้ความร้อนสูง บริษัทคาเลร่าผลิตปูนซีเมนต์ โดยไม่ต้องใช้ความร้อนสูง ทั้งนี้โดยใช้กรรมวิธีที่จดสิทธิบัตรไว้แล้ว ซึ่งเลียนแบบวิธีที่ธรรมชาติ ทำให้วัศดุที่แข็งแกร่งทนทานในฟัน กระดูกและเปลือกหอยทะเลงอก

คุณเบรนท์ คอนสแตนท์ซกล่าวว่า เทคโนโลยีของบริษัทของเขา มุ่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สถานประกอบอุตสาหกรรมใหญ่ๆอย่างเช่นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงปล่อยออกมา กรรมวิธีที่บริษัทคาเลร่าใช้ก็คือ เอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผสมกับน้ำทะเลรสเค็มจัดและกร่อย หรือผสมกับน้ำเสียจากบริเวณทุ่งน้ำมัน หรือผสมกับน้ำเค็มอื่นๆ กรรมวิธีดังกล่าว ทำให้แร่ต่างๆ ในน้ำผสมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลายเป็นอนุภาคของหินปูนสังเคราะห์

ผลพลอยได้ก็คือ น้ำที่เค็มจัดนั้นทำให้กลายเป็นน้ำสำหรับดื่มกินได้ง่ายยิ่งขึ้น

บริษัทคาเลร่าทดลองเรื่องทั้งหมดนี้ในห้องแล็บ ขณะนี้ทางบริษัท กำลังเตรียมดำเนินงานดังกล่าว ที่โรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณ มอสส์ แลนดิ้งทางชายฝั่งใกล้กับนครซานฟรานซิสโก

ตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า บริษัทคาเลร่ามีแผนจะกักเก็บก๊าซ ที่ปล่อยออกมาทางปล่องไฟของโรงไฟฟ้าไดเนจี้ ซึ่งใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ในการขับดันเครื่องกังหันยักษ์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนราวสองล้านคนใช้นั้น ให้ได้หนึ่งเปอร์เซ็นต์ โดยกักเก็บผ่านทางท่อขนาดใหญ่มหึมา ที่วางข้ามถนน ไปสู่โรงงานปูนซีเมนต์เขียวของบริษัทคาเลร่า บริษัทคาเลร่าหวังว่า จะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาทางปล่องไฟนั้นไว้ร้อยละแปดสิบ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น ไว้ในส่วนผสมของซีเมนต์ที่จดสิทธิบัตรไว้แล้วนั้น

คุณจิม ด็อดสัน ผู้จัดการของโรงไฟฟ้าที่บริเวณ มอสส์ แลนดิ้งคิดว่าเทคโนโลยีดังกล่าว อาจทำให้กระบวนการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

กระทรวงพลังงานอเมริกัน กำลังแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสะกัดเก็บคาร์บอนที่จะช่วยให้สะกัดเก็บคาร์บอน ที่เกิดจากการผลิตพลังงานนี้ ให้เหลือต่ำกว่าสามสิบเปอร์เซ็นต์

คุณเบรนท์ คอนสแตนท์ซแห่งบริษัทคาเลร่ากล่าวว่า วิธีการผลิตปูนซีเมนต์ซึ่งเสียค่าโสหุ้ยต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกันดูแล้ว สามารถทำงานได้ดีกว่านั้น ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียพลังงานไปเปล่าๆ ได้ครึ่งหนึ่ง โดยทำให้การสูญเสียอยู่ในระดับไม่ถึงสิบห้าเปอร์เซ็นต์ เขากล่าวด้วยว่า ลู่ทางที่จะได้กำไร จากปูนซีเมนต์เขียวของบริษัทคาเลร่านี้ จะชดเชยการที่ผลผลิตของโรงไฟฟ้าลดลงนั้น ได้อย่างสมบูรณ์ และยังจะลดสิ่งที่พลอยโดนปล่อยออกมาด้วยนั้นหมดสิ้นไป

แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตปูนซีเมนต์แบบเดิมๆ รวมทั้งคุณสตีฟ รีจิส รองประธานบริษัทแคล-พอร์ตแลนด์ ซีเมนต์ยังไม่เชื่อเรื่องนั้น เพราะยังไม่เห็นหลักฐานใดๆ แต่คุณสตีฟ รีจิสต้องการให้กักเก็บคาร์บอนให้ได้มากขึ้น และอุตสาหกรรมคอนกรีต มีความกระตือรือร้น ที่จะตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทคาเลร่า



XS
SM
MD
LG