กองทัพเรืออินโดนีเซียสะกัดจับเรือลำหนึ่ง ที่กำลังนำผู้ลี้ภัยมุ่งหน้าไปสู่ออสเตรเลียหลังจากนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เควิน รัดด์ โทรศัพท์ไปหาประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า การโทรศัพท์ติดต่อกันที่ว่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ต่อไปอีกว่าสองประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านกันในย่านเอเชีย-แปซิฟิกนี้ร่วมมือกันมากขึ้นในการปราบการลักลอบค้ามนุษย์
นายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ โทรศัพท์ถึงประธานาธิบดีอินโดนีเซีย สุสิโล บัมบัง ยุทโธโยโน หลังจากเรือลำหนึ่งซึ่งขนชาวศรีลังกาผู้ต้องการหาที่ลี้ภัยมาเต็มลำนั้น แล่นมุ่งหน้าไปสู่ออสเตรเลียแล้ว การที่นายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ โทรศัพท์ไปนี้ยังผลให้ทางการอินโดนีเซียสะกัดจับเรือลำนั้น ซึ่งขนคนรวมทั้งสตรีและเด็กมา 260 คน
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียติดต่อประธานาธิบดีอินโดนีเซีย หลังลังจากสายลับสืบทราบมาว่าเรือลำนั้นกำลังพยายามจะไปให้ถึงน่านน้ำออสเตรเลีย หลังจากนั้นไม่นานฝ่ายทหารออสเตรเลียเริ่มร่วมงานกับกองทัพเรืออินโดนีเซียเพื่อหาตำแหน่งแห่งที่ที่แน่นอน
ของเรือลำนั้นและพบว่า เรืออยู่นอกเขตชายฝั่งของเกาะครักกะตัว เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียคิดว่าต่อจากนั้นฝ่ายอินโดนีเซียคุ้มกันเรือลำนั้น ไปยังเกาะชวาตะวันตก
เสียง นายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ข้าพเจ้าไม่ขออภัยใครที่ทำงานอย่างใกล้ชิดตามที่ต้องการกับฝ่ายอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นทั้งมิตรและหุ้นส่วน เพื่อให้ได้ผลในแง่ของการต่อต้านการเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายอย่างที่เราต้องการ"
นักวิเคราะห์การเมืองระดับภูมิภาคกล่าวว่า การร่วมมือระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซียสามารถช่วยหยุดยั้งเรื่องที่นักลักลอบค้ามนุษย์ ขนผู้ลี้ภัยลงเรือมาเป็นระลอกๆ นั้นได้ ในระยะไม่กี่เดือนมานี้มีเรือถูกสะกัดจับไปได้หลายลำ
ออสเตรเลียโทษเรื่องการสู้รบในอัฟกานิสถาน และศรีลังกาตลอดจนวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีผู้ลี้ภัยมากขึ้น ผู้ลี้ภัยต้องเสียเงินเป็นพันๆเหรียญสหรัฐ สำหรับการเดินทางทางเรือที่เสี่ยงอันตรายจากอินโดนีเซียมายังออสเตรเลีย
ผู้ที่แสวงหาที่ลี้ภัยในออสเตรเลียจำนวนมากทีเดียว ได้รับการนำไปอยู่ที่ค่ายแห่งหนึ่งบนเกาะคริสต์มาส ซึ่งเป็นที่ที่มีการประเมินคำร้องขอลี้ภัยของคนเหล่านั้น ตามการพิจารณานั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องการลี้ภัยอย่างแท้จริง
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนเข้าเมืองออสเตรเลีย ฟิลิป รัดด็อก กล่าวว่าการที่นายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ ผ่อนคลายความเข้มงวด ในนโยบายเกี่ยวกับการลี้ภัยในบางด้านส่งเสริมให้คนลงเรือจากอินโดนีเซียมาออสเตรเลียมากขึ้นและว่าในอีกไม่ช้า ผู้ลี้ภัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรุ่นใหม่จะพยายามเดินทางที่เสี่ยงอันตราย จากอินโดนีเซียมาออสเตรเลีย
รัฐบาลออสเตรเลียโต้ว่าตนผูกพันอยู่กับบรรดามาตรการ เกี่ยวกับการควบคุมพรมแดนอย่างเข้มงวดกวดขันนั้นอย่างเต็มที่
ในแต่ละปี ออสเตรเลียอนุญาติให้ผู้ลี้ภัยราว 13,000 คนตั้งหลักแหล่งใหม่ในออสเตรเลียตามโครงการเพื่อเห็นแก่มนุษยธรรมของทางราชการ