ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลกระทบที่เกิดจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ วงเงิน 78,000 ล้านดอลล่าร์


รัฐบาลชุดประธานาธิบดีบารัค โอบามาดูท่าว่าจะส่งสัญญาณอันสับสน เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าจำเป็นจะต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่สอง เพื่อช่วยฉุดเศรษฐกิจอเมริกันให้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรง และยืดเยื้อนี้หรือไม่?

ทั้งฝ่ายเดโมแครต และรีพับลิกันต่างแสดงความไม่พอใจ ในผลกระทบที่เกิดจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่มีวงเงินเจ็ดแสนแปดหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญสหรัฐ ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาลงนามและมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามา ลอร่า ไทสันกล่าวว่ารัฐบาลอเมริกันควรเริ่มร่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกันชุดที่สอง เพื่อเตรียมเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

คุณลอร่า ไทสันกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "เราตกอยู่ในสถานการณ์ ที่ลู่ทางในอนาคตของเศรษฐกิจไม่แน่นอนอย่างมาก และเสี่ยงต่อการที่ภาวะเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอเกินความคาดหมาย เพราะฉะนั้น ทำไมเราจึงไม่เริ่มคิดถึงความจำเป็น ที่เราจะต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอีกชุดหนึ่ง คิดถึงว่าแผนการนั้นควรรวมถึงเรื่องใดบ้าง เพื่อเราจะได้พร้อมที่จะดำเนินการขณะที่เราได้รับข่าวสารมากขึ้นนั้นในช่วงสองสามเดือนข้างหน้า"

คุณลอร่า ไทสันแสดงทัศนวิจารณ์ดังกล่าว ในที่ประชุมที่สิงค์โปร์ซึ่งทำให้นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์ทางการเมือง พากันฉงนนี้หลังจากรองประธานาธิบดี

โจเซฟ ไบเด้น แสดงท่าทีไม่ให้ความสำคัญต่อข้อเสนอแนะที่ว่า จำเป็นต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอีกชุดหนึ่งนั้นแล้วสองวัน

รองประธานาธิบดี โจเซฟ ไบเด้นกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "การวินิจฉัยเช่นนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม"

นายไบเด้นยอมรับทางรายการโทรทัศน์ "Fox News Sunday" ว่า เมื่อตอนที่นายโอบามาเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รัฐบาลคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจ และความรุนแรงของภาวะว่างงานพลาดไป แต่ท่านรองประธานาธิบดีกล่าวว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่มีผลใช้บังคับไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ชุดที่มีวงเงินเจ็ดแสนแปดหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญสหรัฐนั้น คลุมถึงโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ความคิดริเริ่มด้านการหาพลังงานใหม่ๆ มาใช้ โครงการด้านการศึกษา ความช่วยเหลือ ที่ให้แก่รัฐบาลของมลรัฐต่างๆ ที่ตกอยู่ในฐานะลำบากทางการเงิน และการลดอัตราภาษีซึ่งขยายคลุมช่วงเวลาสองถึงสามปี

ผู้นำฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน ส.ส. สเตนนี่ โฮเยอร์ ผู้ช่วยร่างร่างกฎหมายฉบับนั้นกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ผมไม่คิดว่าจะมีใครที่กล่าวโดยสุจริตใจว่า เราพอใจผลที่ออกมาจนถึงขณะนี้ แต่เราเชื่อมั่นว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นสำคัญอย่างยิ่งยวด เราต้องการเงินที่จัดสรรค์ไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้"

แต่ทว่าสมาชิกรัฐสภาจำนวนมาก ที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนั้นรู้สึกขุ่นข้องใจ เกี่ยวกับความโอ้เอ้ล่าช้าของการเอาเงินในกฎหมายมาป้อนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ

ฝ่ายรีพับลิกันกล่าวหาว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจบกพร่องมาตั้งแต่ต้น เพราะหลังจากแผนการดังกล่าวมีผลใช้บังคับมาเป็นเวลากว่าสี่เดือนแล้ว ภาวะว่างงานยังสูงขึ้นต่อไป

ผู้นำฝ่ายเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน ส.ส. จอห์น โบเนอร์กล่าวทางรายการโทรทัศน์ " Fox News Sunday" เช่นกันว่า "เรื่องนี้มีจุดมุ่งสร้างงานท่าเดียว แต่ตามความจริงแล้วดีแต่ใช้เงินท่าเดียว"

ส่วนอดีตผู้อำนวยการของสำนักงบประมาณของรัฐสภา ดักลาส โฮลท์-อีกินกล่าวทางรายการโทรทัศน์บลูมเบิร์กไว้ตอนนี้ว่า "เราจะไม่มีวันทราบได้เลยว่า โลกจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นเราไม่สามารถกำหนดลงได้ไปอย่างแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบ "เขากล่าวว่าเขาไม่แน่ใจว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรก จะได้ผลและไม่เห็นด้วยกับการมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่สอง เพราะสหรัฐไม่สามารถใช้จ่ายเงิน โดยไม่คิดว่าจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้าง

แต่นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆ แย้งว่าในยามที่ฝ่ายธุรกิจ และผู้บริโภคตัดทอนการจับจ่ายใช้สอย ก็มีรัฐบาลอเมริกันเท่านั้น ที่สามารถช่วยฉุดเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจาภาวะซบเซาได้

Normal 0 false false false MicrosoftInternetExplorer4 รัฐบาลชุดประธานาธิบดีบารัค โอบามาดูท่าว่าจะส่งสัญญาณอันสับสน เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าจำเป็นจะต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่สอง เพื่อช่วยฉุดเศรษฐกิจอเมริกันให้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรง และยืดเยื้อนี้หรือไม่?

ทั้งฝ่ายเดโมแครต และรีพับลิกันต่างแสดงความไม่พอใจ ในผลกระทบที่เกิดจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่มีวงเงินเจ็ดแสนแปดหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญสหรัฐ ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาลงนามและมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามา ลอร่า ไทสันกล่าวว่ารัฐบาลอเมริกันควรเริ่มร่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกันชุดที่สอง เพื่อเตรียมเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

คุณลอร่า ไทสันกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "เราตกอยู่ในสถานการณ์ ที่ลู่ทางในอนาคตของเศรษฐกิจไม่แน่นอนอย่างมาก และเสี่ยงต่อการที่ภาวะเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอเกินความคาดหมาย เพราะฉะนั้น ทำไมเราจึงไม่เริ่มคิดถึงความจำเป็น ที่เราจะต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอีกชุดหนึ่ง คิดถึงว่าแผนการนั้นควรรวมถึงเรื่องใดบ้าง เพื่อเราจะได้พร้อมที่จะดำเนินการขณะที่เราได้รับข่าวสารมากขึ้นนั้นในช่วงสองสามเดือนข้างหน้า"

คุณลอร่า ไทสันแสดงทัศนวิจารณ์ดังกล่าว ในที่ประชุมที่สิงค์โปร์ซึ่งทำให้นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์ทางการเมือง พากันฉงนนี้หลังจากรองประธานาธิบดี

โจเซฟ ไบเด้น แสดงท่าทีไม่ให้ความสำคัญต่อข้อเสนอแนะที่ว่า จำเป็นต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอีกชุดหนึ่งนั้นแล้วสองวัน

รองประธานาธิบดี โจเซฟ ไบเด้นกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "การวินิจฉัยเช่นนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม"

นายไบเด้นยอมรับทางรายการโทรทัศน์ "Fox News Sunday" ว่า เมื่อตอนที่นายโอบามาเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รัฐบาลคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจ และความรุนแรงของภาวะว่างงานพลาดไป แต่ท่านรองประธานาธิบดีกล่าวว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่มีผลใช้บังคับไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ชุดที่มีวงเงินเจ็ดแสนแปดหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญสหรัฐนั้น คลุมถึงโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ความคิดริเริ่มด้านการหาพลังงานใหม่ๆ มาใช้ โครงการด้านการศึกษา ความช่วยเหลือ ที่ให้แก่รัฐบาลของมลรัฐต่างๆ ที่ตกอยู่ในฐานะลำบากทางการเงิน และการลดอัตราภาษีซึ่งขยายคลุมช่วงเวลาสองถึงสามปี

ผู้นำฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน ส.ส. สเตนนี่ โฮเยอร์ ผู้ช่วยร่างร่างกฎหมายฉบับนั้นกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ผมไม่คิดว่าจะมีใครที่กล่าวโดยสุจริตใจว่า เราพอใจผลที่ออกมาจนถึงขณะนี้ แต่เราเชื่อมั่นว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นสำคัญอย่างยิ่งยวด เราต้องการเงินที่จัดสรรค์ไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้"

แต่ทว่าสมาชิกรัฐสภาจำนวนมาก ที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนั้นรู้สึกขุ่นข้องใจ เกี่ยวกับความโอ้เอ้ล่าช้าของการเอาเงินในกฎหมายมาป้อนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ

ฝ่ายรีพับลิกันกล่าวหาว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจบกพร่องมาตั้งแต่ต้น เพราะหลังจากแผนการดังกล่าวมีผลใช้บังคับมาเป็นเวลากว่าสี่เดือนแล้ว ภาวะว่างงานยังสูงขึ้นต่อไป

ผู้นำฝ่ายเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน ส.ส. จอห์น โบเนอร์กล่าวทางรายการโทรทัศน์ " Fox News Sunday" เช่นกันว่า "เรื่องนี้มีจุดมุ่งสร้างงานท่าเดียว แต่ตามความจริงแล้วดีแต่ใช้เงินท่าเดียว"

ส่วนอดีตผู้อำนวยการของสำนักงบประมาณของรัฐสภา ดักลาส โฮลท์-อีกินกล่าวทางรายการโทรทัศน์บลูมเบิร์กไว้ตอนนี้ว่า "เราจะไม่มีวันทราบได้เลยว่า โลกจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นเราไม่สามารถกำหนดลงได้ไปอย่างแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบ "เขากล่าวว่าเขาไม่แน่ใจว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรก จะได้ผลและไม่เห็นด้วยกับการมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่สอง เพราะสหรัฐไม่สามารถใช้จ่ายเงิน โดยไม่คิดว่าจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้าง

แต่นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆ แย้งว่าในยามที่ฝ่ายธุรกิจ และผู้บริโภคตัดทอนการจับจ่ายใช้สอย ก็มีรัฐบาลอเมริกันเท่านั้น ที่สามารถช่วยฉุดเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจาภาวะซบเซาได้


XS
SM
MD
LG