ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โรคโลหิตจาง มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างไร และการบริหารกล้ามเนื้อบางส่วน ช่วยแก้ปัญหานอนกรนได้หรือไม่?


การขาดธาตุเหล็ก หรือโรคโลหิตจางนั้น เป็นปัญหาด้านโภชนาหารมากที่สดปัญหาหนึ่งในโลก และมีผลกระทบต่อหญิงมีครรภ์จำนวนมาก แต่การวิจัยใหม่แสดงว่า โรคโลหิตจาง ไม่เพียงแต่จะก่อปัญหาแก่หญิงมีครรภ์เท่านั้น แต่อาจมีผลร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ที่มหาวิทยาลัยร็อกเชสเตอร์ ในรัฐนิวยอร์ค อธิบายว่า ในช่วงปลายของการตั้งครรภ์จะมีการสร้างเยื่อหุ้มเส้นประสาทในสมอง ซึ่งเป็นขบวนการที่สมองสร้างโยงใยเส้นประสาท และธาติเหล็กมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อกระบวนการสร้างปลอกหุ้มเยื่อเส้นประสาทดังกล่าว ดังนั้นหากหญิงมีครรภ์ไม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอในช่วงปลายของการตั้งครรภ์ การสร้างเยื่อปลอกหุ้มเส้นประสาทในสมอง ก็อาจเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมเพียงพอ กระบวนการดังกล่าวมีความสำคัญต่อการพัฒนาของเด็กทารกในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเรื่องนี้ จากการเปรียบเทียบการพัฒนาทางสมอง ของเด็กเกิดไม่ครบกำหนดครบ 80 คน ครึ่งหนึ่งขาดธาตุเหล็ก หรือเป็นโรคโลหิตจาง อีกครึ่งหนึ่ง จากแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้น หญิงมีครรภ์ราว 30% ในประเทศกำลังพัฒนา ขาดธาตุเหล็กในเลือด หรือเป็นโรคโลหิตจาง

อย่างไรก็ตาม สัญชีพ อามิน ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ที่มหาวิทยาลัยร็อกเชสเตอร์เห็นว่า ข้อมูลนั้นเป็นสิ่งส่อแสดงเกี่ยวกับการเป็นโรคโลหิตจาง ในหญิงมีครรภ์ทั่วโลก แต่ในประเทศพัฒนาแล้วนั้นสถาพการณ์อื่นหลายอย่าง อย่างเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ อาจทำให้การถ่ายทอดธาตุเหล็กจากแม่ต่อทารกในครรภ์ เป็นไปได้น้อยลง

ดังนั้นแม้ว่าหญิงมีครรภ์อาจมีธาตุเหล็กเพียงพอ หรือไม่ได้เป็นโรคโลหิตจาง แต่หากอยู่ในสภาพการณ์อย่างที่กล่าวมา ก็อาจทำได้ทารกในครรภ์ได้ธาตุเหล็กไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน

นักวิจัยจะศึกษาสังเกตเด็กทารกบางคนต่อไป เพื่อดูว่าการขาดธาตุเหล็กจะมีผลอย่างไร และจะก่อปัญหาเมื่อเด็กโตขึ้นหรือไม่

ส่วนเรื่องการนอนกรน เป็นกันในผู้ใหญ่ราว 40% ซึ่งมีผลกระทบถึงคนข้างเคียงด้วย ตอนนี้นักวิจัยในบราซิลพบว่า การออกกำลังบางอย่าง อาจช่วยคนนอนกรน และคนข้างเคียงให้นอนหลับดีขึ้นได้

เจอรัลโด ลอเรนซี่ ฟีลโฮล ที่มหาวิทยาลัยเซาเพาโล เล่าว่าเพื่อของเขาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการออกเสียง สังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยบางคนกรนน้อยลง เมื่อออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณช่องปาก ซึ่งมีการใช้ลิ้นแตะดุน กดเพดานปากแน่นๆ ซ้าๆ เขากับผู้เชี่ยวชาญคนนั้น จึงมาร่วมกันศึกษาผู้ป่วยที่ออกกำลังบริหารช่องปากเป็นประจำ การออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากดังกล่าวไม่ยาก สามารถทำได้ แม้ขณะขับรถ โดยเฉพาะเวลารถติด ทำให้ได้ประมาณวันละ 30 นาที ไม่จำเป็นว่าต้องให้ได้ครบ 30 นาทีในคราวเดียว ปราฏกว่าผู้ที่ทดลองทำการบริหารช่องปากแบบนี้บอกว่า นอนกรนน้อยลงราว 30%



XS
SM
MD
LG