ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ความพยายามควบคุมโรคเท้าช้าง ของคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย Ghana


คณะวิจัยของมหาวิทยาลัย Ghana กำลังใช้เทคนิควิธีการใหม่ในการตรวจสอบและบ่งชี้ว่า ยุงชนิดไหนเป็นพาหะนำเชื้อโรคเท้าช้าง

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยุง ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคหลายชนิด กำลังใช้เทคนิควิธีการการทำระหัสบาร์โคดของ DNA หรือโครงสร้างพื้นฐานทางพันธุกรรม ในการช่วยต่อสู้กับโรคเขตร้อนต่างๆ นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการนี้ ในการแยกแยะและวิเคราะห์ DNA ของยุงชนิดต่างๆ เพื่อระบุตัวยุงก้นปล่องชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ

ยุงจำพวก anopheles หรือยุงกันปล่องนั้นมีอยู่มากกว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีบทบาทในการนำเชื้อและแพร่เชื้อโรคเขตร้อนมากมายหลายโรค รวมทั้งโรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่นและโรคเท้าช้าง นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกานา กำลังศึกษายุงก้นปล่องสายพันธุ์ที่นำเชื้อ lymphatic filariasis ซึ่งทำให้เป็นโรคเท้าช้าง ที่ผู้ป่วยขาบวมโตคล้ายขาช้าง และจะนำข้อมูลความรู้ที่ได้มามาใช้ในการต่อสู้ควบคุมโรคนี้

องค์การอนามัยโลกพยายามหาทางกำจัดโรคเท้าช้างให้หมดสิ้นไป ภายในปี 2563 หรือราว 10 ปีจากนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ด้วยการใช้ยาที่บริษัทเภสัชกรรมใหญ่ๆ บริจาคมา ยาเหล่านั้นมุ่งที่การลดความสามมารถของยุงในการนำเชื้อโรค แต่แผนการนี้ล้มเหลวในการปราบยุงก้นปล่อง บางชนิด รวมทั้งชนิดที่ทำให้เป็นโรคเท้าช้าง ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังทดลองใช้เทคนิคการทำระหัสบาร์โคด DNA อยู่นั่นเอง

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความสำเร็จในการหาวิธีต่อสู้กับโรคเท้าช้าง อาจนำไปสู่การลดการใช้ยาปราบแมลงและมีวิธีที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม หลายวิธีขึ้นในการต่อสู้กับโรคต่างๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะนำเชื้อ


XS
SM
MD
LG