ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การดูโทรทัศน์ของวัยรุ่นมีส่วนทำให้เกิดภาวะสลดหดหู่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่


รายงานการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pittsburg ซึ่งทำกับเด็กวัยรุ่นหญิง และชายกว่า 4,000 คนตั้งแต่ปี 2538 พบว่ายิ่งเด็กใช้เวลาดูโทรทัศน์มาก ก็จะมีโอกาสเกิดอาการเศร้าสลดหดหู่หรือ Depression เพิ่มขึ้นเมื่อโตเป็นหนุ่มสาว

โดยเด็กผู้ชายจะได้รับผลจากเรื่องนี้มากกว่าผู้หญิง และทุกชั่วโมงที่ให้มากขึ้นกับโทรทัศน์จะเพิ่มโอกาสของอาการสลดหดหู่นี้เพิ่มขึ้น 8 %

นักวิจัยยังไม่มีคำตอบว่าโทรทัศน์ทำให้เกิดอาการนี้หรือไม่ แต่อาการดังกล่าวไม่เกิดกับเวลาที่ใช้กับสื่อชนิดอื่นๆ เช่นวิทยุ วิดีโอเกมส์ หรือภาพยนตร์ เพียงแต่เชื่อว่าการดูโทรทัศน์มากเกินไปอาจทำให้ไม่มีเวลาสำหรับกิจกรรมอื่นๆ เช่นกีฬา หรือการเข้าสังคมซึ่งจะป้องกันปัญหาสลดหดหู่ได้

ผลการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงระบุว่า คนที่บอกว่าตัวเองมีความสุขนั้นจะใช้เวลาดูโทรทัศน์น้อยกว่า และจะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางสังคมมากกว่า รวมทั้งอ่านหนังสือ ไปลงคะแนนเสียง และประกอบกิจกรรมทางศาสนาด้วย

รับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจากคุณจำเริญ ตัณฑ์สมบุญ


XS
SM
MD
LG