ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพยายามหาวิธีรักษาอาการจิตเสื่อม ผลพวงจากโรคอัลไซเมอร์


มีการประเมินกันว่า จำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกจะเพิ่มจาก 26 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 106 ล้านคนภายในปี 2050 หรืออีกราว 40 ปีข้างหน้า ในขณะที่นักวิจัยก็ต่างพยายามหาวิธีรักษาโรคทางสมองที่อาจส่งผลถึงแก่ชีวิตนี้อยู่ โดยเฉพาะหนทางบรรเทาอาการจิตเสื่อมที่เป็นผลมาจากโรคอัลไซเมอร์

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า ภายในปี 2050 เนื่องจากประชากรโลกจะมีอายุยืนขึ้น และแต่ละคนมีแนวโน้ม ที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับใหม่แนะนำว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณสัปดาห์ละ 3 วัน จะสามารถช่วยชะลอ อาการจิตเสื่อมที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ได้

นักวิจัยที่ University of Western Australia ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ชายหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 138 คน ที่มีปัญหาด้านความทรงจำแต่ยังไม่ถึง ขั้้นเป็นโรคจิตเสื่อม โดยแยกกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เฉลี่ยครั้งละ 50 นาทีเป็นเวลา 6 เดือนเต็ม ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ไม่ได้กำหนดให้ต้องออกกำลังกายเป็นประจำแต่อย่างใด ผลปรากฎว่าหลังจาก 6 เดือนผ่านไป นักวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ สามารถทำแบบทดสอบความจำได้ดีกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง

แม้การเปลี่ยนแปลงจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด แต่จิตแพทย์หญิง นิโคลา ลอว์เท่นชลาเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผู้สูงอายุบอกว่าผลการวิจัยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ มากกว่าการให้ยาบำบัดซึ่งมีผลน้อยมากหรืออาจจะไม่มีผลต่อการพัฒนาความ ทรงจำของผู้ป่วยเลย นอกจากนี้ คุณหมอลอว์เท่นชลาเกอร์ยังสนับสนุน ให้แพทย์พยายามแนะนำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หันมาออกกำลังกายมากขึ้นด้วย

จิตแพทย์หญิงผู้นี้บอกว่า หมอควรพิจารณาถึงคำแนะนำที่จะให้แก่ผู้สูงอายุ เกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่จะช่วยปกป้องรักษาอาการทางสมองได้ด้วย สำหรับรายงานเรื่องประโยชน์ของการออกกำลังกายที่ช่วยชะลออาการจิตเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์ได้นี้ ตีพิมพ์อยู่ในนิตยสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน

XS
SM
MD
LG