ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ศูนย์ประชุมแห่งแรกของยุโรป ที่ใช้พลังงานหมุนเวียน


เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจากสามสิบกว่าประเทศมาชุมนุมกันที่ฮังการีเมื่อวันศุกร์ เพื่อเปิดศูนย์การประชุมแห่งแรกของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่ใช้พลังงานแบบที่ไม่มีวันหมด

อาคารศูนย์สิ่งแวดล้อมแห่งภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกนี้นับว่าเป็นอาคารระหว่างประเทศตัวอย่างที่ออกแบบในลักษณะที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เราต้องให้อภัยบรรดาผู้ที่มาชมอาคารที่อาศัยแต่พลังแสงอาทิตย์อย่างเดียวในการผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้แห่งนั้น ซึ่งตั้งอยู่หน้าน้ำพุซึ่งบางครั้งพ่นน้ำเป็นฟองฝอยแต่บางครั้งก็ไม่พ่นที่นำอาคารไปเปรียบเทียบว่าเหมือนยานอวกาศระหว่างประเทศหรือไม่ก็ป้อมปราการเหล็กกล้า

แทบทุกคนจะสังเกตเห็นแผ่นรับแสงอาทิตย์ 140 แผ่น เครื่องสูบความร้อน อุปกรณ์สำหรับจัดการเกี่ยวกับอากาศและอุปกรณ์ที่สลับซับซ้อนอื่นๆที่นำมาใช้กับศูนย์การประชุมมูลค่าราวๆสามล้านเหรียญสหรัฐแห่งนี้

แต่คุณเฟรเดริโค บูเตรา สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารหลังนั้นกล่าวปกป้องอาคารหลังนั้นต่อผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการ

สถาปนิกเฟรเดริโค บูเตรากล่าวว่าทางออกสำหรับแก้ปัญหาทุกอย่างที่บรรดาสถาปนิกเสนอมายึดข้อเท็จจริงที่ว่าทางออกเหล่านั้นสามารถสลายปัญหาต่างๆ ได้หมดเพียงแต่สูบน้ำมันหรือก๊าซเข้าไปในอาคารให้มากขึ้น เขากล่าวด้วยว่าเรื่องที่ว่านี้กลายเป็นวัฒนธรรม เป็นวิธีการออกแบบอย่างหนึ่ง เขากล่าวว่าอาคารหลังนี้ยังจะเป็นการดำเนินงานอีกขั้นหนึ่งที่จะมีส่วนทำให้ลักษณะของการออกแบบเปลี่ยนไป

ศูนย์การประชุมที่เมืองเซนเทนเดรซึ่งตั้งอยู่ห่างไปทางเหนือของกรุงบูดาเพสต์ 20 กิโลเมตรจะใช้แทนที่อาคารที่สร้างในสมัยที่คอมมิวนิสต์ปกครองฮังการี อันเป็นอาคารซึ่งไม่เคยมีใครชมว่าสวยเลย อาคารหลังใหม่มีจุดมุ่งจะไม่ให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์เลยแม้แต่นิดเดียวซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับภาวะโลกร้อน แต่

ข้อเสียของการอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเดียวนี้ก็คือผู้ก่อสร้างยอมรับว่าตอนค่ำคืนหรือช่วงที่มีการใช้อาคารมากที่สุด ศูนย์การประชุมแห่งนี้ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ทว่าศูนย์การประชุมแห่งนี้จะชดเชยเรื่องดังกล่าวโดยการจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับไปให้โรงไฟฟ้าเมื่อทางศูนย์มีไฟฟ้าเหลือเฟือในวันที่แสงแดดเจิดจ้า

ศูนย์สิ่งแวดล้อมแห่งภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกหรีอ REC เป็นผู้ดูแลอาคาร

ประธานาธิบดีอเมริกันจอร์จ เฮอร์เบิร์ต วอล์คเคอร์ บุชเป็นผู้เสนอเรื่อง REC และสหรัฐ ฮังการีและคณะกรรมการแห่งยุโรปร่วมกันก่อตั้งศูนย์ REC เมื่อปีพุทธศักราช 2533

ศูนย์ดังกล่าวช่วยเหลือประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในอดีตหลายแห่งที่ประสบป้ญหาท้าทายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการปล่อยปละละเลยและจากอุตสาหกรรมล้าสมัยอย่างเช่นการทำเหมืองถ่านหินมานานหลายสิบปี อนึ่งมีการวิตกห่วงใยในเรื่องมลพิษที่ทหารโซเวียตผู้ถอนออกไปตอนต้นพุทธทศวรรษที่ 2533 ทิ้งไว้เบื้องหลังนั้นดัวย

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสามสิบกว่าประเทศมาร่วมในพิธีเปิดศูนย์การประชุมแห่งนั้นซึ่งอิตาลี ไอซ์แลนด์ ลิกเคนสไตน์และนอร์เวย์ช่วยกันออกค่าก่อสร้างส่วนใหญ่ให้

XS
SM
MD
LG