ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานการศึกษาเรื่องการเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก


ผู้สื่อข่าววีโอเอ Nancy Steinbach มีรายงานการศึกษาเรื่องการเป็นโรคสมาธิบกพร่อง และโรคสมาธิสั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กราว 5-10% ทั่วโลก

เด็กที่ลืมง่าย ทำงานไม่เคยสำเร็จ หรือไม่เอาใจใส่ในสิ่งต่างๆ อาจเป็นโรคสมาธิบก พร่อง หรือ ADD ซึ่งย่อมาจาก Attention Deficit Disorder และถ้าเด็กเหล่านั้นมีอาการอยู่ไม่สุข และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองเพิ่มเติมด้วย แพทย์จะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่าเป็นโรคสมาธิ สั้น หรือ ADHD ซึ่งย่อมาจาก Attention Deficit Hyperactivity Disorder

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับการที่ระดับเคมีในสมองไม่สมดุลย์กัน โรคนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะเวลาที่ไปโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความสามารถในการทำงานเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ว่ามักจะเรียนรู้ช้า และ เกิดภาวะซึมเศร้าด้วย

มียาหลายชนิดที่ช่วยสร้างสมาธิได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยาดังกล่าวก็อาจมีผลข้างเคียง อย่างเช่นทำให้น้ำหนักตัวลดลง และทำให้มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

คุณซูซาน สมอลเลย์ ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแองเจลิส เป็นผู้นำในการศึกษาเรื่องโรคสมาธิสั้นที่ภาคเหนือของประเทศฟินแลนด์

การศึกษานี้พบว่าอัตราส่วน และสัญญาณบ่งชี้ของการเป็นโรคสมาธิสั้นของเด็กในฟินแลนด์นั้น เกือบจะเท่าๆ กับในสหรัฐเลยทีเดียว เด็กๆ ชาวฟินแลนด์ไม่ค่อยได้รับการรักษาด้วยยา ในขณะที่ในสหรัฐใช้ยารักษาโรคนี้กันอย่างแพร่หลาย แต่ถึงกระนั้นเด็กและวัยรุ่นในสหรัฐและฟิน แลนด์ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นก็มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย

อาจารย์ซูซานกล่าวว่า การใช้ยารักษาจะให้ผลดีมากในระยะสั้น และการศึกษานี้ทำให้เกิด คำถามที่สำคัญตามมาเกี่ยวกับผลการรักษาในระยะยาว

การศึกษาพบว่ามีเด็กฟินแลนด์ราวครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรค สมาธิสั้น และควบคุมตัวเองไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าอาการของโรคสมาธิสั้นจะเปลี่ยนไปตามอายุ กล่าวคือ อาการอยู่ไม่สุข และการควบคุมตัวเองไม่ได้จะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น แต่ก็ยังมีเด็กทุกสอง ในสามคน ที่ยังคงแสดงอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่ในระดับสูงในขณะที่เป็นวัยรุ่น

การศึกษาเรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในสารสาร American Academy of Child and Adolecent Psychiatry

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้ว่าจะใช้ยารักษา แต่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ในด้านอื่นๆ ตัวอย่างเช่น จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ทักษะการจัดระบบต่างๆ และต้องการการ ประคับประคองจากผู้ใหญ่ด้วย

XS
SM
MD
LG