ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มาตรฐานการครองชีพของชาวสิงคโปร์


ชาวต่างชาติที่มาพำนักอยู่ในสิงค์โปร์ยังคงเชิดชูสิงค์โปร์ต่อไปว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด ในเอเชีย ดีกว่าฮ่องกงและเมืองอื่นๆ เศรษฐกิจของสิงค์โปร์เข้มแข็งและปลอดภัย เมื่อมอง ในแง่ของสิ่งแวดล้อม เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองอีกหลายเมืองในเอเชีย แต่ทว่าเมื่อดูเรื่อง สิทธิมนุษยชนกันแล้วจะเห็นว่าสิงค์โปร์ด้อยกว่าบริเวณอื่นๆ

สิงค์โปร์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นประเทศในเอเชียที่เศรษฐกิจขยายตัวดีเยี่ยมรายหนึ่งยัง คงดึงดูดให้ชาวต่างประเทศมาพำนักที่นั่นต่อไป ในหมู่พลเมืองในสิงค์โปร์จำนวน 4 ล้าน 6 แสนคนนั้นเกือบร้อยละ 33 เกิดที่ประเทศอื่น เศรษฐกิจของสิงค์โปร์ขยายตัวในอัตรา 7.5 %เมื่อปีที่แล้ว บริการด้านการเงินดีมาก ระบบการศึกษาก็นับว่าดีเยี่ยมแห่งหนึ่งในโลก และสิงค์โปร์เป็นที่ที่ชาวต่างประเทศนิยมมาพำนักมากที่สุดในเอเชีย

ตามรายงานฉบับใหม่ของ ECA International ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ ด้านทรัพยากรเกี่ยวกับผู้ประกอบอาชีพต่างๆที่ใหญ่ที่สุดของโลกระบุว่าสิงค์โปร์ธำรงรักษาคุณภาพชีวิตสำหรับชาวต่างชาติไว้ในระดับสูงที่สุดในเอเชีย

นายลี เควน ผู้จัดการใหญ่ของ ECA International ที่ฮ่องกงกล่าวว่ารายงานประจำปีขององค์การของเขาเปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพตามบริเวณต่างๆ ในโลก 254 แห่ง

เขากล่าวว่าสิงโปร์ติดอันดับหนึ่งเพราะได้คะแนนสูงไม่ว่าจะในด้านการบริบาลสุขภาพและระดับมลพิษ เขากล่าวด้วยว่าสิงค์โปร์มีอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ไม่มีความตึงเครียดในสังคมและทางการเมืองเลย ซึ่งทำให้เป็นที่ที่เหมาะในการมาพำนักของชาวต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี นายลี เควน กล่าวว่ารายงานประจำปีขององค์การของเขาบ่งชี้ด้วยว่า เมื่อมองในแง่เกี่ยวกับสื่อมวลชนแล้ว ฮ่องกงดีกว่าสิงค์โปร์มากมาย

ในสิงค์โปร์ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถูกจำกัดอย่างเข้มงวด เมื่อปีที่แล้วองค์กร Reporters Without Border จัดสิงค์โปร์ไว้ที่อันดับ 141 ในหมู่ประเทศ167 ประเทศ ในด้านดัชนีเกี่ยวกับเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ทั่วโลก รัฐบาลสิงค์โปร์จำกัดการประท้วงใน ที่สาธารณะและตรวจตัดภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์

บ่อยครั้ง ผู้ที่วิพากษ์ตำหนิรัฐบาลมักจะโดนฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท และโดนข้อจำกัดกีดกันอื่นๆ อีกในเรื่องการแสดงทัศนวิจารณ์ของพวกเขา

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่าชาวต่างชาติส่วนมากที่พำนักอยู่ในสิงค์โปร์ ไม่ค่อยกังวลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเพราะประเด็นที่ว่านี้ยังไม่ร้ายแรงถึงขั้นที่จะมากระทบกระเทือนต่อชีวิต ของพวกเขาอย่างร้ายแรง

คุณโฮมายูน อาลิซาเดห์ ผู้แทนประจำภูมิภาคของสำนักงานคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่าสิงค์โปร์กำลังพยายามปรับปรุงประวัติผลงานด้าน สิทธิมนุษยชนของตน

ดังจะเห็นได้ว่าสิงค์โปร์มีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้ประเทศอย่างเช่นพม่าเห็นคล้อยตามว่าจะยอมลงนามในกฎบัตรอาเซียนและในเรื่องเกี่ยวกับพันธกรณีของภาคีอาเซียนในอันที่จะตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียนขึ้นมา แต่ทว่ากลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิมนุษยชน หลายกลุ่มโต้ว่าองค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนแห่งใหม่มิได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในภูมิภาคอย่างพอเพียง

XS
SM
MD
LG