ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การปลูกพืชเพื่อผลิตน้ำมันชีวภาพ


ปัจจุบันมีการพลิกฟื้นผืนดินมาเพื่อปลูกพืชสำหรับผลิตน้ำมันชีวภาพมากขึ้นทุกทีทั่วโลก แต่จากการศึกษาที่เปิดเผยออกมาใหม่กลับบอกว่า การกระทำเช่นนี้กลับเป็นการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกมากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก

ขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้น้ำมันชีวภาพเพื่ออนุรักษ์ชั้นบรรยากาศของโลกเอาไว้ แต่คุณโจเซฟ ฟาร์โจนนี่ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของ Nature Conservancy องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติของสหรัฐ กลับบอกว่า ความตื่นตัวนี้จะยิ่งทำให้มีแก๊สคาร์บอนได ออกไซด์มากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก

คุณฟาร์โจนนี่อธิบายว่า ทุ่งหญ้า เป็นแหล่งสะสมธาตุคาร์บอนที่มากกว่าในไร่ข้าวโพดซึ่งปลูกเพื่อผลิตน้ำมันชีวภาพถึง 110 ตัน และถ้ามีการไถหญ้าออกเพื่อปลูกข้าวโพดแทน ก็คือการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศของโลกมากขึ้นนั่นเอง

การศึกษาชิ้นนี้ ได้มุ่งเน้นพื้นที่วิจัยไปที่ทุ่งหญ้าในเขตตะวันตกตอนกลางของสหรัฐ พื้นที่ป่าฝนและทุ่งหญ้าแบบซาแวนน่าของบราซิล และ พื้นที่ชุ่มน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณฟาร์โจนนี่บอกว่า ถ้ามีการปรับพื้นที่ชุ่มน้ำของอินโดนีเซียให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันแทน ก็จะยิ่งทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นไปอีก

คุณฟาร์โจนนี่บอกว่า ถ้าจะปลูกปาล์มน้ำมัน ก่อนอื่นก็ต้องมีการขุดท้องร่อง และผันน้ำออกจากพื้นที่ จากนั้นจึงปลูกต้นปาล์มลงไปได้ และเมื่อเราผันน้ำออก ก็ต้องมีการย่อยสลายและ เกิดธาตุคาร์บอนจำนวนมากสะสมเอาไว้ในดิน แต่เมื่อผันน้ำออกไปแล้ว ก็จะเกิดกระบวน การที่ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลอยออกสู่ชั้นบรรยากาศต่อไป

ดังนั้น คุณฟาร์โจนนี่จึงเห็นว่า จะมีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 280 ตันต่อ 6 ไร่ครึ่ง ออกสู่ชั้นบรรยากาศ จากการหันมาปลูกพืชเพื่อผลิตน้ำมันชีวภาพ ขณะที่เราสามารถลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้น้ำมันชีวภาพได้เพียง 0.9 ตันต่อปีเท่านั้น ฉะนั้น เราต้องใช้เวลาถึง 319 ปีทีเดียว กว่าจะกลับไปสู่จุดที่เราเริ่มต้นปลูกพืชเพื่อผลิตน้ำ มันชีวภาพได้

จากมาตรฐานน้ำมันชีวภาพใหม่ของสหรัฐ ในปี 2022 จะมีการผลิตน้ำมันชีวภาพเกือบ 1 แสน 3 หมื่น 6 พัน 300 ล้านลิตร แต่จะสามารถเป็นพลังงานทดแทนได้เพียงร้อยละ 10 เท่า นั้น และยังทำให้พื้นที่ปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารลดลง ขณะที่คนทั่วโลกบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สุดท้าย คุณฟาร์โจนนี่จึงเสนอแนวคิดว่า แทนที่จะไปถางป่า หรือใช้พื้นที่ชุ่มน้ำมาปลูกพืช เพื่อผลิตน้ำมันชีวภาพ ก็ควรจะเลือกปลูกในพื้นที่รกร้างและเสื่อมสภาพซึ่งใช้ทำการเกษตรไม่ได้แล้ว หรือใช้ขยะชีวภาพมาผลิตน้ำมันชีวภาพจะเป็นการคุ้มค่ากว่า

XS
SM
MD
LG