ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในปากีสถาน


ที่ปากีสถาน เกิดความกังวลกันว่าสถานการณ์การเมืองที่ล่อแหลมปัญหาเงินเฟ้อและการขาด แคลนพลังงานทั้งน้ำ ไฟฟ้า และแก้ส ภายในประเทศ อาจจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประ เทศที่สูงมาตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ปัญหาเศรษฐกิจปากีสถานยังไม่กระเตื้องขึ้นตั้งแต่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองหลังการลอบสัง หารนางเบนนาเซีย บุตโตอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงและผู้นำพรรคเพิ่อประชาชนปากีสถาน พรรคฝ่ายค้านพรรคหลัก เมื่อปลายปีที่ผ่านมาจนทำให้ธนาคารกลางแห่งปากีสถานประกาศอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกมาใหม่โดยคาดการณ์ว่าจะโตต่ำกว่า 7% ในปีงบประมาณใหม่นี้ ซึ่งเดิมคาดว่าจะโต 7.2%

นักวิเคราะห์เศรษฐกิจบอกว่าปัญหาเศรษฐกิจในปากีสถานเลวร้ายลง เพราะการจลาจลหลังจากที่นางบุตโต ถูกลอบสังหารทำให้ธุรกิจนับหมื่นหยุดกิจการชั่วคราวจนสถานการณ์ดีขึ้น นอกจากนี้ เหตุกาณ์จลาจลยังสร้างความสูญเสียต่อภาครัฐเกือบสองพันล้านเหรียญทีเดียวเพราะสูญเสียรายได้ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินทั้งราษฏร์และหลวง นอกเหนือไปจากนี้ ยังทำให้ปัญหาเงินเฟ้อ การขาดแคลนแป้งสาลี ไฟฟ้าและแก้สหุงต้ม ตลอดจนภาวะการขาดดุลงบประมาณและการค้าเลวร้ายลงไปกว่าเดิม

เสียงเครื่องปั่นไฟดังกระหึ่มที่ร้านขายของชำหลายแห่งในตลาดแห่งหนึ่องของกรุงอิสลามบัดเพราะกระแสไฟ ฟ้าดับเป็นระยะๆ โดยรัฐบาลบอกว่า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่ากับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูง ขึ้นทั้งในภาคเอกชนและภาคครัวเรือนจนต้องออกมาตราการประหยัดไฟด้วย การพักการจ่ายไฟเป็นช่วงๆ ของวันรวมราวๆ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน หมุนเวียนไปตามแต่ละเขตทั่วเมืองหลวง และเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ

คุณนอร์ ฟาติมา นักเศรษฐศาสตร์บอกกับวีโอเอภาคภาษาไทยว่า การขาดแคลนพลังงานแก้สหุงต้มและการหยุดจ่ายไฟเป็นระยะๆ ทั้งวันแบบนี้ ในช่วงฤดูหนาวไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเนื่องจากภาคพลังงานเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของทุกประเทศ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ภาคพลังงานล้มเหลว สภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นก็จะย่ำแย่ไปด้วย

คุณนอร์ ฟาติมา บอกกับวีโอเอภาคภาษาไทยต่อว่า ปัญหาการขาดแคลนพลังงานนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ลดถอยลงของภาครัฐในการจัดหาสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนเช่น น้ำ ไฟฟ้าและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นรายได้ของประชาชนไม่พอจ่าย ทำให้คนยากจนเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง แต่รัฐบาลยังไม่ใส่ใจประเด็นนี้เลย

นักเศรษฐศาตร์หญิงชาวปากีสถานคนนี้บอกกับวีโอเอภาคภาษาไทยต่อว่า ต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจปากี สถานเริ่มต้นมาจากสภาพเศรษฐกิจ ที่ไม่ดีมาแต่ต้น ตามด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมที่เกิดขึ้นเร็วมากแต่ประเทศไม่มีการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตสินค้าของตนเองขึ้น มารองรับการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีการนำเข้าเสียมากจนเกิดการขาดดุลการค้า

แม้ว่าค่าเงินรูปียังดีอยู่ก็ตามแต่รัฐบาลไม่ได้พยายามใช้ประโยชน์จากจุดนี้ อีกด้านหนึ่งเป็นเพราะว่าเงินต่าง ประเทศส่วนใหญ่ที่ไหลเข้ามาในปากีสถาน เป็นเงินช่วยเหลือนานาชาติและไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาการผลิตในประเทศทำให้ให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติไม่มั่นคง

อย่างไรก็ดีคุณวาฮิ้ด อัลฮัสสันเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศปากีสถานออกตัวว่าการขาดแคลนพลังงานไม่ไดแสดงว่าปากีสถากำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ

คุณวาฮิ้ด ฮัสสัน แย้งว่า การขาดแคลนพลังงานในปากีสถานแสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐ กิจอย่างมากของปากีสถานต่างหากเพราะว่าโต ถึงกว่าเจ็ดเปอร์เซ็นทำให้รัฐบาลผลิตพลังงานไม่เพียงพอกับความต้องการ และส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลไม่ได้วางแผนไว้รองรับล่วงหน้าจึงขาดการจัดการพลังงานของชาติที่ดี

เขาบอกว่าขณะนี้รัฐบาลปากีสถานกำลังเร่งหาทางออกในหลายๆ ด้านเช่นมีการเร่งศึกษาการพัฒ นาพลังงานจากถ่านหินจากพลังน้ำจากเขื่อนและกำลัง อยู่ในขั้นตอนการตกลงซื้อขายแก้สธรรม ชาติจากอิหร่านโดยผ่านส่งผ่านท่อแก้สข้ามชายแดน อย่างไรก็ดี คุณวาฮิ้ด ยอมรับว่าการขาดแคลนพลังงาน ถึง 60% ในขณะนี้จะดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่งและขอร้องให้ภาคประชาชนเข้าใจปัญหาและช่วยกันประหยัดพลังงานคนละไม้ละมือ

XS
SM
MD
LG