ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คุณวรุตม์ พรหมบุญ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยพันธบัตร บริษัท ING อธิบายปัญหา Subprime


คุณวรุตม์ พรหมบุญ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยพันธบัตร บริษัท ING ที่สิงคโปร์ได้อธิบายปัญหาการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ที่มีเครดิตไม่ดี หรือที่เรียกว่าปัญหา subprime

คุณวรุตม์ พรหมบุญกล่าวว่า เรื่องปัญหา subprime ทำให้บริษัทการเงินหลายๆ อย่างขาดทุน เพราะราคาหลัก ทรัพย์ลดลง ปัญหานี้มาจากอสังหาริมทรัพย์ที่ทราบกันมาที่อเมริกา ปัญหานี้ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วๆ ไปลดลงต่ำสุดในรอบห้าปี

การที่ความเชือมั่นลดลงทำให้การใช้จ่ายลดลง ร้านค้ารายย่อยและบริษัทค้าขายก็มีกำไรรายได้น้อยลง การที่ธุรกิจมีรายได้น้อยลง ก็จะทำให้มีการลดเงินเดือนของพนักงาน และไล่คนออก ทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงไปอีก เพราะความเชื่อมั่นน้อยลง และเงินในกระเป๋าน้อยลง เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือว่ากำไรของบริษัทพวกนี้เริ่มออกมา บ่งบอกว่าจะไม่ได้เงิน รายได้จะน้อยลง เรื่องที่สองคือสถาบันการเงินขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ข่าวก็ออกมาเรื่อยๆ ตอนนี้เรื่องใหม่ล่าสุดก็คือเรื่องของบริษัทประกันพันธบัตร เช่น MBIA หรือ AMBAC ที่ถูก downgrade หรือไม่ก็จะถูก downgrade จาก Moody's Fitch S&P

บริษัทประกันพันธบัตรนี้ เป็นบริษัทที่ประกันพันธบัตร ในกรณีที่ผู้ออกพันธบัตร ไม่สามารถจ่ายเงินคืนแก่ผู้ลงทุนได้ และเวลานักลงทุนหรือว่าบริษัทการเงินซื้อพันธบัตรพวกนี้ ก็จะต้องแยกเงินทุนเผื่อไว้ เผื่อขาดทุนจากพันธบัตร ซึ่งการที่แยกเงินทุนนี้ก็จะตามที่ rating ของบริษัทประกัน ถ้าบริษัทประกันมี rating สูง ก็จะแยกเงินทุนไว้น้อยหน่อย พอ rating ของบริษัทประกันตก บริษัทพวกนี้ บริษัทการเงิน และนักลงทุน ก็จะต้องแยกเงินทุนไว้มากขึ้น เพราะว่าโอกาสที่จะขาดทุนก็จะมากขึ้น อีกอย่างเวลาที่ rating ตก ราคาพันธบัตรพวกนี้ก็จะตกตาม ก็จะไปทำให้สถาบันการเงินขาดทุนมากขึ้น การที่ขาดทุนมากขึ้นกับการที่ต้องแยกเงินทุนไว้มากขึ้น ก็จะทำให้เงินของบริษัทการเงินหรือธนาคารลดน้อยลง เวลาเงินลดน้อยลง ธนาคารก็จะให้กู้น้อยลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคนทั่วไปคือจะขอกู้ได้ยากขึ้น


คุณวรุตม์ระบุถึงผลกระทบของปัญหา subprime ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจเอเชีย และประเทศไทยว่า ผลต่อเศรษฐกิจโลกนี้ชัดเจน เพราะว่าอัตราการโตของเศรษฐกิจจะลดลงแน่นอน อัตราเศรษฐ กิจถดถอยของอเมริกาคงจะเกิดขึ้นแน่ๆ ค่าเงินดอลล่าร์ก็น่าจะตกอีก คุณวรุตม์แบ่งการกระทบเป็นสามอย่าง อันแรกสำหรับเมืองไทยด้วยก็คือว่า ผู้ส่งออกไปอเมริกา และยุโรปจะมีรายได้ลดลง เพราะผู้บริโภคในอเมริกา และยุโรปจะใช้จ่ายน้อยลง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ผู้บริโภคในจีนหรือเอเชียน่าจะไม่กระทบมาก เพราะฉะนั้นถ้าส่ง ออกไปจีน ผลกระทบก็จะน้อยลง เรื่องที่สองก็คือเรื่อง subprime จะกระทบถึงตลาดทุนทั่วโลก ตอนนี้ตลาดหุ้นก็ลงมาเยอะแล้ว การที่ธนาคารของอเมริกาลดดอกเบี้ยเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เงินหมุนเวียนก็จะมากขึ้น สถาบันการ เงินธนาคารนักลงทุนคงจะขยาดการลงทุนอยู่ เพราะฉะนั้นการที่จะให้ธนาคารเอาเงินให้กู้มากขึ้น อาจจะไม่เร็วขึ้น เพราะว่าบริษัทที่มีเรตติ้งต่ำ อย่างเช่นที่เมืองไทยก็มี Gsteel, Advance Agro, True Move ก็จะหาเงินกู้ได้ยากขึ้น

คุณวรุตม์คิดว่าเงินทุนหมุนเวียนที่มากขึ้นที่ธนาคารได้ จะไปลงทุนกับบริษัทที่มีเรตติ้งสูงมากกว่า อย่างในเมืองไทย เช่น ปูนซีเมนต์ หรือเหมืองบ้านปู เป็นต้น อันดับที่สาม subprime นี้จะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ตก เมื่อเทียบกับค่าเงินเอเชีย กับเงินบาทนี้ หลายๆ ค่ายคิดว่าเงินบาทกับดอลล่าร์ คงจะต่ำกว่าสามสิบบาทแน่นอน เงินบาทค่าจะสูงขึ้น การที่ธนาคารกลางสหรัฐลดดอกเบี้ย ยิ่งจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ตกเข้าไปใหญ่ เพราะดอกเบี้ยของอเมริกา จะน้อยกว่าดอกเบี้ยของที่อื่นๆ ซึ่งเป็นจุดสำคัญมากเพราะว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเงินดอลล่าร์เสียเสถียรภาพ เป็นเงินสกุลของโลกไปอย่างช้าๆ การที่เศรษฐกิจของอเมริกาจะถดถอย ยิ่งทำให้คนถือเงินดอลล่าร์น้อยลง

คุณวรุตม์เห็นว่า การที่รัฐบาลสหรัฐดำริจะคืนเงินภาษีแก่ประชาชนอเมริกัน รายละ 600 ดอลล่าร์ จะสามารถส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

คุณวรุตม์กล่าวว่าการคืนภาษีจริงๆ แล้วดีมาก เพราะว่าจะสามารถทำให้คนระดับกลาง และระดับล่างมีเงินมากขึ้น คือคนพวกนี้เป็นผู้ถูกกระทบจาก subprime มากที่สุด ไม่ใช่คนรวย การที่คืนภาษีเป็นสิ่งที่ดีกว่าการลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว

แต่ข้อเสียคือการคืนภาษี จะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา และยังต้องให้ IRS หรือกรมสรรพากรอเมริกา วิเคราะห์ผู้เสียภาษีทั่วประเทศ และยังต้องออกเช็คให้อีก กว่าผู้บริโภคหรือผู้เสียภาษีจะได้เงินภาษีคืน คงอีกหลายเดือน ผลกระทบของเศรษฐกิจนั้นดีอยู่แล้ว แต่ว่าอาจจะช้าไปหรือไม่ เป็นสิ่งที่ต้องรอดูกันต่อไป

XS
SM
MD
LG