ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แนวปะการังของโลก กำลังจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า


การศึกษาครั้งใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เตือนว่า แนวปะการังส่วนใหญ่ในโลกจะไม่สา มารถคงอยู่ต่อไป เนื่องจากอุณหภูมิของโลก และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น

รายงานกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวนี้มีสวัสดิภาพของประชากรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งราว 100 ล้านคนเป็นเดิมพัน

นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลทำนายว่า แนวปะการังอาจตายหมดภายใน 50-75 ปี การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มนี้ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลจากการติดตามสังเกตการณ์มาเป็นเวลาหลายปี กล่าว โทษการรวมตัวกันของปัจจัย 2 ปัจจัยว่าเป็นสิ่งที่คุกคามสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

คุณมาร์ค อีกิน ผู้ประสานงานการดูแลแนวปะการังขององค์การบริหารห้วงมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ NOAA กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นราว 2 องศาเซลเซียสนั้นมากมายเกินกว่าที่เคยพบเห็นในช่วง100 ปีที่ผ่านมา และยังเป็นระดับที่เป็นอันตรายสำหรับแนวปะการังอีกด้วย นอกจากนี้ปริมาณกาซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่มีเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีในมหาสมุทรด้วย คาร์บอนไดออก ไซด์ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ค่า PH ในมหาสมุทรลดลง และทำให้มหาสมุทรมีความเป็นกรดมากยิ่งขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล 17 คนจากทั่วโลก ทำงานวิจัยนี้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ธนาคารโลก และองค์การบริหารห้วงมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ

คุณมาร์ค อีกินอธิบายว่าน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น และมีความเป็นกรดมากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะปะการังฟอกขาวและตาย การศึกษายืนยันว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว จะทำให้เกิดน้ำท่วมแนวชายฝั่งถูกกัดเซาะ และขาดแคลนอาหาร

คุณมาร์คกล่าวต่อไปว่า แนวปะการังมีความสำคัญอย่างใหญ่หลวง ประการแรกแนวปะการังเป็นหนึ่งในสิ่ง มีชีวิตที่มีระบบนิเวศน์วิทยาหลากหลายมากที่สุดในท้องทะเล นอกจากนี้ตามแนวปะการัง ยังมีปลามากมายหลากหลายสายพันธุ์กว่าที่อื่นๆ ในมหาสุทรรวมกันอีกด้วย

รายงานชี้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและดำน้ำในแถบทะเลแคริบเบียน ที่มีมูลค่าราว 1 แสนล้าน ดอลล่าร์ ต้องอาศัยแนวปะการังที่สมบูรณ์และชายหาดในบริเวณใกล้เคียง และประชากรราว 2 พันล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแห่งเดียว ก็ต้องพึ่งพาอาศัยแนวปะการังในการเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญเช่นเดียวกัน

องค์การบริหารห้วงมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐมีสถานีตรวจสอบ 33 สถานีในทวีป อเมริกา ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตลอดระยะเวลาหลายสิบปี รายงานกล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้นเกิดขึ้นรวดเร็วเกินไป

คุณมาร์ค อีกิน ผู้ประสานงานการดูแลแนวปะการัง ขององค์การบริหารห้วงมหาสมุทรและบรรยา กาศแห่งชาติ สหรัฐกล่าวว่าอุณหภูมิในปัจจุบันสูงขึ้นในอัตราที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในช่วงหลายแสนปีที่ผ่านมา และปัญหาก็คือปะการังไม่สามารถปรับตัว เพื่อสนองรับต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

นักวิทยาศาสตร์คาดประมาณว่าปะการังของโลกอย่างน้อย 30% ตายไปหมดแล้ว การศึกษาเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อรักษาแนวปะการังไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และยังเร่งเร้าให้บรรดาประเทศชั้นนำของโลก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยุติการจับปลาที่มากเกินควร และการพัฒนาที่ไม่คงทนถาวร

คุณมาร์ค อีกินกล่าวส่งท้ายว่า สิ่งที่สำคัญก็คือ มนุษย์ควรเข้าใจว่าชีวิตในมหาสมุทรต้องพึ่งพาการดำเนินการของรัฐบาลในท้องถิ่น รวมทั้งตัวบุคคลด้วย


XS
SM
MD
LG