ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ สามารถลดจำนวนลงได้เกือบ 14 ล้านคนในช่วงสิบปีข้างหน้านี้ ด้วยการลดปริมาณการรับประทานเกลือ และกำหนดมาตรการ ควบคุมการสูบบุหรี่ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
ในปี คศ. 2005 องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าในการลดจำนวนการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยที่เรื้อรัง ลง 2% ในแต่ละปีในช่วงสิบปีข้างหน้านี้ โรคเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อนั้น รวมไปถึงโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรค เบาหวาน
เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น คณะนักวิจัยนานาชาติ ศึกษาดูว่าการลดปริมาณการบริโภคเกลือ และเพิ่มมาตร การควบคุมการสูบ บุหรี่จะส่งผลอย่างไรบ้าง
นักวิจัยชุดนี้ ซึ่งนำโดยคุณเปอวิซ อซาเรีย แห่งสถาบันการกุศลของอังกฤษที่มีชื่อว่า King’s Fund ในกรุงลอน ดอน วิเคราะห์ถึงผลกระทบของการลดการบริโภคเกลือลง 15% ใน 23 ประเทศ ซึ่งมี อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรค เรื้อรังอยู่ 80% ของโลก ประเทศดังกล่าวนั้น รวมถึงสหรัฐ รัสเซีย อินเดีย เวียตนาม เอธิโอเปีย พม่า และไนจีเรีย
คุณอซาเรียกล่าวว่า นักวิจัยวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการศึกษาฉบับอื่นๆ เกี่ยวกับการบริโภคเกลือในระดับ ต่างกันของคน ในสังต่างๆ
เขากล่าวว่า การศึกษาเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่า ในสังคมที่มีการบริโภคเกลือในปริมาณสูง ระดับความ ดันโลหิตก็จะสูงขึ้นอย่างมากเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนในสังคมที่ไม่สามารถหาเกลือมาทำอาหารได้ง่ายๆ นั้น ระดับความดันโลหิตของผู้คน ดูเหมือนว่าจะอยู่ในระดับเดิม เหมือนเมื่อตอนอายุ 20 ปี เป็นที่ทราบกันดีว่า ความดันโลหิตที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ
นักวิจัยกล่าวว่า การเสียชีวิตของคนจำนวน 8.5 ล้านคนสามารถเปลี่ยนผันได้ภายในปี คศ.2015 ถ้าหากผู้คน บริโภคเกลือ 3-4.5 กรัมในแต่ละวัน หรือบริโภคเกลือให้น้อยกว่าปริมาณเฉลี่ย 30% และว่าเรื่องนี้ จะสำเร็จได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงโภชนาการเพียงเล็กน้อย เช่นการลดเกลือที่อยู่ในซอสถั่วเหลือง หลีกเลี่ยงการรับประทาน อาหารเค็มๆ และใช้เกลือปรุงอาหารให้น้อยลง
นอกจากนี้การศึกษายังพิจารณาถึงการดำเนินการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเรื่องการควบคุมการสูบ บุหรี่ขององค์การอนามัยโลก
คุณอซาเรียคาดประมาณว่า อาจสามารถช่วยชีวิตคนได้ 5.5 ล้านคนในแต่ละปี ถ้าหากเพิ่มภาษียาสูบ มีโครงการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และมีบังคับใช้กฎห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงานหรือในที่สาธารณะอย่างเข้มงวด
คุณอซาเรียกล่าวว่า แม้ว่าดำเนินการควบคุมได้ในระดับต่ำ แต่ก็สามารถลดการสูบบุหรี่ลงได้ 20 เปอร์เซนต์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนในประเทศด้วย
ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบง่ายๆ นักวิจัยคาดว่า ก็จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังของ ผู้คนหลายล้านคนในแต่ละปี โดยเสียค่าใช้ จ่ายราว 36 เซนต์ หรือ 12.6 บาทต่อคนต่อปีเท่านั้น