ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คนเอเชียสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อโรคปอด


อัตราการสูบบุหรี่ของหลายประเทศในเอเชียกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา อย่างเช่นที่ประเทศจีน มีผู้ชายมากกว่า 60% ที่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นลางบอกเหตุร้ายสำหรับอนาคตของสิงห์รมควันเหล่านี้ และสำหรับระบบสาธารณสุขของประเทศต่างๆ เนื่องจากนักสูบเหล่านี้เริ่มที่จะเป็นโรคปอด หลังจากที่สูบบุหรี่กันมานานหลายปี

นายแพทย์ดอน ซิน ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดที่มหาวิทยาลัยบริทติช โคลัมเบีย ในแวนคูเวอร์ตรวจสอบ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้เมื่อไม่นานมานี้ โดยกลุ่มนักวิจัยด้านสาธารณะสุขจากมณฑลกวางเจา ประเทศจีน รายงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในรายงานการศึกษาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ทำขึ้นในประเทศจีน เพื่อประเมินขอบเขตของโรคปอดในบรรดานักสูบจำนวนสองหมื่นคน

นายแพทย์ดอน ซินบอกว่า นักวิจัยสุ่มเลือกผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ตามเมืองต่างๆ ในประเทศจีน และเชิญให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการศึกษาวิจัยนี้ การศึกษาประกอบไปด้วยแบบสอบถามที่แต่ละคนจะต้องกรอก รวมทั้งการทดสอบสมรรถภาพปอด ซึ่งเป็นการทดสอบการหายใจแบบธรรมดาๆ ที่สามารถบอกได้ว่าปอดของคุณมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
นักวิจัยพบว่า มีผลการทดสอบสมรรถภาพปอดของผู้ใหญ่ 8% ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดเรื้อรัง

คุณหมอดอน ซินบอกว่าแต่ก่อนโรคนี้เคยเรียกว่าโรคปอด หรือโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดเรื้อรังเกี่ยวโยงไปถึงอาการติดเชื้อ ซึ่งไม่สามารถรักษาได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการใช้ยาต่างๆ เช่นสเตียรอยด์ และบรองโคลิเดเตอร์ เขากล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ทำให้นักวิจัยประหลาดใจก็คือ การพบว่าผู้หญิงมีอัตราการเป็นโรคปอดเรื้อรังสูงราว 5% แม้ว่าผู้หญิงจะสูบบุหรี่น้อยกว่าผู้ ชายมากก็ตาม

คุณหมอดอน ซิน ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ผู้หญิงเป็นโรคปอดในอัตราสูงนั้น อาจมีสาเหตุมาจากการทำงานบ้านต่างๆ เช่นในประเทศจีน ผู้หญิงมักจะทำกับข้าว และต้องสูดดมฝุ่นและควันจากไฟ หรือจากการใช้ถ่านคาร์บอนในการใช้ทำเชื้อเพลิงหุงต้มอีกด้วย และว่า แม้ว่า 8% อาจดูเหมือน เป็นตัวเลขที่เล็กน้อย แต่แสดงถึงคนจำนวนหลายสิบล้านคนในประเทศจีน ที่จะต้องเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจแบบรุนแรงในอนาคตอันใกล้ คุณหมอซินทำนายว่าโรคปอดอาจกลายเป็นสาเหตุสำคัญอันดับที่สอง หรืออันดับที่สามที่ทำให้ผู้คนในประเทศเสียชีวิต และยังตั้งข้อสังเกตว่ามีการบัญญัติมาตรการต่อต้านการสูบบุหรี่ขึ้นเพียงไม่กี่ฉบับ ที่จะใช้ผันกลับแนวโน้มดังกล่าวนี้ได้


XS
SM
MD
LG