ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ศาลสูงสุดปากีสถานจะตัดสินสถานภาพทางการเมือง ของพลเอกมูชาราฟ


ที่ปากีสถาน ศาลสูงสุดของประเทศจะตัดสินในวันศุกร์นี้ว่า พลเอกเปเวซ มูชาราฟ ประธา นาธิบดีและผู้นำกองทัพ สมควรจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีปากีสถาน ต่อเป็น สมัยที่สองหรือไม่

ที่ปากีสถาน ศาลสูงสุดของประเทศจะตัดสินในวันศุกร์นี้ว่า พลเอกเปอเวซ มูชาราฟ ประธา นาธิบดีและผู้นำกองทัพ สมควรจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีปากีสถาน ต่อเป็นสมัยที่ สองหรือไม่ หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาชุดปัจจุบันซึ่งกำลังจะหมดวาระลงเร็วๆ นี้ ได้ลงคะแนน เลือกให้พลเอกมูชาราฟชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

ขณะนี้ผู้พิพากษา 11 คนของศาสสูงสุดปากีสถานกำลัง พิจารณากันว่า จะรับรองชัยชนะของพลเอก เปเวซ มูชาราฟ จากการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาหรือไม่
การพิจารณานี้ดำเนินมาเกือบสองสัปดาห์แล้ว และเป็นที่จับตาของทุกฝ่าย เพราะคดีนี้สำคัญมาก และจะเป็นตัวชี้ชะตาการเมืองปากีสถาน

คุณแมทธิว เพ็นนิงตั้น หัวหน้าสำนักข่าวเอพี ปากีสถานและอาฟกานิสถานกล่าวถึงการคาดการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถึงตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า คำตัดสินจะออกมาอย่างไร แต่ดูเหมือนว่าน่าจะเป็น การตัดสินแบบสูสี เพราะในบรรดาผู้พิพากษา 11 คน มีบางคนที่น่าจะตัดสินให้พลเอกมูชาราฟแพ้ และบางคนจะตัดสินเข้าข้าง ซึ่งก็ต้องคอยดูกัน

ที่มาของคดีที่ท้าทายผู้นำของประเทศครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจาก ผู้สมัครแข่งขันในเลือกตั้งประธานาธิบดี คนอื่นสองคน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสูงสุดว่า พลเอกมูชาราฟไม่มีสิทธิในการลงรับการเลือกตั้ง ที่จัดขึ้น โดยรัฐสภาชุดปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระ

แต่พวกเขาบอกว่า พลเอกเปเวซ มูชาราฟ สามารถลงสมัครเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีอีกครั้งได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่่อนไขที่ว่า จะต้องรอให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นเสียก่อนเพื่อจะได้รัฐสภา ชุดใหม่เข้ามาทำงานแทนชุดปัจจุบันแล้วถึงจะจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเขาจะต้อง ลาออกจากตำแหน่งผู้นำกองทัพด้วย


คุณเพ็นนิงตั้น บอกว่า นักวิเคราะห์ด้านกฏหมายหลายคน มองว่า ตามกฏหมายแล้ว พลเอกมูชาราฟ ไม่มีสิทธิในการดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีสมัยที่สอง แต่ว่า หลายคนบอกว่าผู้พิพากาษศาล สูงสุด อาจจะนำประเด็นความมั่นคงทางการเมืองเข้ามาพิจารณาด้วย ว่าควรจะตัดสินไปทางไหนดี และว่าผู้พิพากษาศาลสูง อาจจะมองว่าน่าจะดีกว่าถ้าหากให้พลเอกมูชาราฟเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองต่อ เพราะไม่เช่นนั้นพลเอกมูชาราฟอาจจะถือโอกาสประกาศภาวะฉุกเฉิน หรือไม่ก็กฏอัยการศึก ถ้าเขา เห็นว่าคำตัดสินของศาลทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาพคับขัน เพราะขณะนี้รัฐบาล กำลังต่อสู้กับนักรบ ชนเผ่าที่สนับสนุนกลุ่มทาเลบันในจังหวัดชาย แดนที่ติดกับอาฟกานิสถานและยังมีปัญหาความปลอด ภัยจากมือ ระเบิดพลีชีพที่มุ่งสังหารทั้งผู้นำประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ

คุณเพ็นนิงตั้นกล่าวปิดท้ายการสัมภาษณ์กับวีโอเอภาคภาษาไทยว่า ทั้งกฎอัยการศึกและภาวะฉุกเฉิน ล้วนแต่มีผลกระทบทางลบกับปากีสถานทั้งสิ้น ถ้าผู้นำทหารประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลกลาง จะมีอำนาจสูงกว่ารัฐบาลท้องถิ่น และอาจจะพยายามเลื่อน การเลือกตั้งทั่วไปออกไปอีกหนึ่งปี และใน กรณีที่ประกาศเป็น กฏอัยการศึก ทหารก็จะนำประเทศเสียเอง สามารถทำอะไรก็ได้แล้ว ที่ประสงค์ รวมทั้งสั่งงดกิจกรรมทุกอย่างรวมถึงการทำงานศาลด้วย

และในสายตาของต่างชาติ กฏอัยการศึกถือเป็นตัวอันตรายต่อการสร้างประชาธิปไตยในปากีสถาน ที่ต้องการให้รัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ และกฏอัยการศึกจะนำปากีสถานกลับไปที่เดิม
เมื่อแปดปีที่แล้วหลังเกิดรัฐประหารที่นำโดยพลเอกเปเวซ มูชาราฟ เพื่อล้มล้างรัฐบาลของนายนาวาส ชารีฟ


XS
SM
MD
LG