ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รับประทานอาหารไขมันต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่


นักวิจัยศึกษาข้อมูลสุขภาพ ของผู้หญิงในวัยหลังหมดประจำเดือนมากกว่า 48,000 คน ในช่วงเวลา เฉลี่ย 8 ปีพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ และอาหารพวกผักผลไม้ และธัญญพืชมากๆ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งที่รังไข่ลดลงในช่วง 4 ปีหลังของ 8 ปีในการศึกษาวิจัย

ผลการศึกษานี้เป็นหลักฐานที่หนักแน่นชิ้นแรกที่ว่า อาหารที่เรารับประทานกัน ช่วยป้องกันการเป็นโรค มะเร็งเนื้อร้ายบางชนิดได้ค่ะ จากการศึกษาวิจัยนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ผู้หญิงในวัยหลังหมดประจำ เดือน จะต้องรับประทานอาหารไขมันต่ำ รับประทานผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญญพืชมากๆ เป็นเวลา ราว 4 ปีขึ้นไป จึงจะชาวยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ จนถึงขณะนี้ การป้องกันโรคมะเร็ง รังไข่ อาจทำได้โดยการผ่าตัดรังไข่ออกไป และการกินยาคุมกำเนิด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการใช้ยาคุม ก ำเนิด เป็นเวลา 5 ปี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ลงได้ราว 60 เปอร์เซนต์ และการป้องกันนั้น เป็นผลต่อไปหลายปี หลังจากเลิกใช้ยาคุมกำเนิด

ผลการศึกษาใหม่นี้ ทำให้มีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน เพื่อเป็นช่อง ทางในการป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยนี้พบว่า การรับประทานอาหารดังกล่าว มีผลน้อยต่ออัตราการเป็นโรคมะเร็งทรวงอก มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง และโรคหัวใจ จากการศึก ษาดังกล่าว นักวิจัยสังเกตเห็นว่า ผู้หญิงเหล่านี้จำนวนมากต้องการรับประทานอาหารไขมันต่ำ รับประทานผักและผลไม้ และเมล็ดธัญญพืชมากๆ ช้าเกินไป และส่วนใหญ่น้ำหนักตัวเกินขนาด เพราะอาจยังลดอาหารไขมันสูงลงไม่มากพอ จึงสันนิษฐานว่า นี่อาจเป็นปัจจัยสิ่งสำคัญของการที่ ผู้หญิงเหล่านั้น ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหาร ไขมันต่ำ ดูเหมือนจะมีผลในการป้องกันโรคมะเร็งที่รังไข่ และนักวิจัยเห็นว่า ผู้หญิงที่เคย รับประทาน อาหารอย่างไม่ระมัดระวังมาก่อน และลดอาหารไขมันสูงลงจะได้ประโยชน์ที่สุด

โรคมะเร็งที่รังไข่นั้นไม่ค่อยจะเป็นกันแพร่หลายเท่ากับโรคมะเร็งทรวงอก ในผู้หญิง 60 คนจะมีคนที่ เป็นโรคมะเร็งรังไข่ 1 คน เทียบกับผู้เป็นมะเร็งทรวงอกซึ่งมีอัตรา 1 ใน 9 คน แต่มะเร็งที่รังไข่เป็น มะเร็งที่วินิจฉัยได้ยากมาชนิดหนึ่ง เพราะกว่าจะตรวจพบก็ขยายตัวลุกลามออกไป ทั่วช่องท้องแล้ว ทำให้ยากที่จะบำบัดรักษา โอกาสที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ต่อไปถึง 5 ปีจะมีเพียง 45 เปอร์เซนต์

ต่อคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดการรับประทานอาหารจึงมีผลกับรังไข่นั้น นักวิจัยสันนิษฐานว่า อาหาร ไขมันที่รับประทานเข้าไป ไปเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือด ซึ่งอาจมีผลในการกระตุ้นรังไข่ มากเกินไป นอกจากนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจนยังมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นโรคมะเร็งทรวงอกด้วย

อย่างไรก็ตามนักวิจัยเตือนว่า ไม่มียาวิเศษใดๆ ที่จะป้องกันการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ในผู้หญิงวัยหลัง หมดประจำเดือนได้ชะงัด และผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ส่งเสริมให้ผู้หญิงควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ ในระดับที่ถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และระมัดระวังการดื่มเครื่องดื่มประเภทอัลกอฮอล์ในแต่ละวัน

XS
SM
MD
LG