ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สถานการณ์ความรุนแรงในพม่า


เวลานี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพม่า นักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้ถูก จับกุมจากเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะมีจำนวนมากกว่าที่รัฐบาลทหารพม่าแจ้งไว้ ในขณะเดียวกัน องค์กรสิทธิ มนุษยชนระหว่างประเทศออกมากระตุ้นให้สหประชาชาติกำหนดมาตรการห้ามประเทศต่างๆค้าขายอาวุธให้แก่พม่า

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเชียนในเกาะฮ่องกงเชื่อว่าพระสงฆ์อย่างน้อย 700 รูปและประชาชนพม่าราว 500 คนหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยในช่วงการประท้วงที่พม่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนระบุว่าจำนวน คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงที่พม่าน่าจะมีจำนวนมากกว่า 10 คนตามที่รัฐบาลพม่าแจ้งไว้ อย่างไรก็ตาม นักการทูตบางคนบอกว่าไม่มีทางที่จะทราบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอนได้

Jan Nordlander ฑูตสวีเดนประจำประเทศไทย กล่าวว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในพม่ามากกว่าที่รัฐบาลพม่ารายงาน อย่างแน่นอน แต่ว่าเท่าไรนั้น ขณะนี้ไม่มีใครทราบได้

เวลานี้ นายอิบราฮิม กัมบารี ฑูตพิเศษสหประชาชาติ เดินทางกลับไปพม่าเพื่อปฏิบัติภารกิจเป้าหมายตามที่องค์การ สหประชาชาติกำหนดไว้ นั่นคือการพยายามเข้าพบกับนายพลตาน ชเว ผู้นำสูงสุดของพม่า ในขณะเดียวกันที่สหรัฐโฆษก ทำเนียบไวท์เฮ้าส์ Dana Perino แถลงว่าอเมริกายังคงกังวลเกี่ยวกับรายงานความรุนแรงและการคุกคามประชาชน ที่ร่วมประท้วงรัฐบาลทหารพม่า อย่างไรก็ตาม โฆษกผู้นี้กล่าวว่าการพบปะหารือระหว่างนายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนสหประชาชาติกับนางออง ซาน ซูจีเป็นเรื่องที่น่ายินดี และการที่นายกัมบารี ยังอยู่ในพม่าเพื่อรอเข้าพบนายพลตาน ชเวก็เป็นกระบวนการสำคัญในการไกล่เกลี่ยเหตุการณ์ในพม่าครั้งนี้

ในอีกด้านหนึ่ง องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศออกแถลงการณ์ในวันจันทร์ตามเวลาที่สหรัฐ เพื่อกระตุ้นให้คณะ มนตรีความมั่นคงสหประชาชาติเร่งกำหนดมาตรการห้ามประเทศต่างๆขายอาวุธให้แก่พม่า โดยเฉพาะประเทศจีนและ อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าอาวุธที่สำคัญกับพม่า อย่างไรก็ตาม ท่าทีของอินเดียในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ความ รุนแรงในพม่านั้น ยังคงเป็นไปอย่างระมัดระวัง

ในแถลงการณ์วันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดียแสดงความหวังว่าทั้งฝ่ายรัฐบาลพม่า และกลุ่มผู้ประ ท้วงจะเจรจาประณีประณอมอย่างสันติ และหวังว่าประชาชนทุกฝ่ายในพม่าจะมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้าง ความปรอง ดองและการปฏิรูปการเมืองพม่า ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวส้รางความผิดหวังให้แก่บรรดากลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชน และประ เทศตะวันตกหลายประเทศที่ต้องการให้อินเดียซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่สุดที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแสดงความเป็นผู้นำในภูมิภาคและออกมากดดันรัฐบาลพม่าในด้านการปฏิรูปการเมืองให้มากกว่านี้ แต่นักวิเคราะห์นโยบายระหว่าง ประเทศหลายคนไม่แปลกใจต่อท่าทีสงวนตัวของอินเดียแต่อย่างใด เนื่องจากเชื่อว่าอินเดียยังคงต้องการปกป้องผลประ โยชน์ที่มีกับรัฐบาลทหารพม่าต่อไป ผลประโยชน์ที่ว่านั้นก็คือ ประการแรก อินเดียต้องการให้รัฐบาลทหารพม่าเป็นกันชน ให้กับกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลอินเดียที่มีแหล่งกบดานอยู่ในเขตพม่า ประการที่สอง อินเดียต้องการต่อต้านอิทธิพลของจีนที่ กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในภูมิภาคนี้ และสุดท้าย อินเดียต้องการรักษาส่วนแบ่งในทรัพยากรด้านพลังงาน ที่มีอยู่อย่างมหาศาลในพม่า

อดีตพลเอก Ashok Mehta ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบอกว่านโยบายของอินเดีย ก็เหมือนกับประ เทศมหาอำนาจตะวันตกประเทศอื่นที่ยกเอาเหตุผลด้านความมั่นคง เช่น การทำสงครามกับผู้ก่อการร้าย มาเป็นข้ออ้าง ในการดำเนินกลยุทธ์สร้างผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาลทหารของประเทศต่างๆ

นักวิเคราะห์ผู้นี้ยกตัวอย่างอเมริกา ซึ่งใช้กลยุทธ์ดังกล่าวในประเทศปากีสถาน อัฟกานิสถานและประเทศอื่นๆ อดีตพลเอก Mehta บอกว่าสหรัฐไม่ได้มีความตั้งใจอย่างจริงจังในการฟื้นฟูหรือปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น เหมือนที่พูด ไว้แต่อย่างใด

ทั้งนี้ อินเดียเริ่มทำการค้ากับรัฐบาลพม่ามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 และเมื่อปีที่แล้วผู้นำทหารของอินเดียได้เดินทางเยือนพม่า เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้

XS
SM
MD
LG