ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ เกรียงไกรรัตน์ แนะวิธีเลิกบุหรี่


ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ เกรียงไกรรัตน์ ศาตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นอร์ธ ดาโคต้า และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด ประจำคลีนิคโรคหัวใจและปอด ศูนย์การแพทย์เซนต์อเล็กเซียส เมืองบิ๊สมาร์ค มลรัฐน้อร์ธ ดาโคต้า อธิบายถึงการเลิกสูบบุหรี่ว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เวลาสูบบุหรี่ คนส่วนใหญ่จะสูบบุหรี่เข้าไป และนิโคตินในร่างกายจะขึ้นในกระแสเลือด เวลาหยุดสูบบุหรี่ นิโคตินจะลดลงอย่างเฉียบพลัน เราไม่ต้องการให้ลดลงอย่างเฉียบพลัน เพราะจะมีผลข้าง เคียง เนื่องจากคนไข้จะมีความกระวนกระวาย จึงจะต้องให้นิโคตินทดแทน ซึ่งจะออกมาในรูปของการพ่นจมูก พ่นคอ หรือใช้นิโคตินแบบหมากฝรั่งเคี้ยว นิโคตินแปะที่ผิวหนัง ที่เหลือก็เป็นพวกยาทาน ซึ่งชื่อยาก็คือ Zyban Bupropion ซึ่งในเมืองไทยก็มี ยาตัวนี้จะไปช่วยสงบประสาท ลดความกระวนกระวายของคนไข้ ยาตัวใหม่ก็มีชื่อว่า Chantix เพิ่งมีใหม่ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา คิดว่า เมืองไทยน่าจะมี ยาตัวนี้จะไปช่วยกดส่วนรับในสมอง ไม่ให้รับนิโคติน ก็จะช่วยลดความอยากสูบบุหรี่

ในประสบการณ์ของหมอ วิธีเลิกบุหรี่ที่ดีที่สุดนั้นบอกยาก ที่ที่หมออยู่ มีเป็นกรุ๊ป คลาสหรืคอร์ส อาจมีคนไข้ห้าคนสิบคนมาอยู่ด้วยกัน มีบุคคลากรมาช่วยพูด ช่วยให้กำลังใจ คนที่ในกรุ๊ปเดียวกันนี้ก็จะมีการคุยและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันนี้ช่วยได้ เรียกว่าเป็น support group คนไข้พวกนี้ เราจะให้ยาไปด้วย

แต่ในประสบการณ์ของหมอเอง หรือจากการทำ study หรือทำการทดลองที่ผ่านมา บอกว่า การคุยกับแพทย์จะดีที่สุด คนไข้มักจะเชื่อ ถ้าหากหมอใช้เวลาคุยกับคนไข้มากขึ้น และคุยกับคนไข้ถึงข้อดีของการหยุดสูบบุหรี่กับข้อเสียของการสูบบุหรี่ คนไข้จะเชื่อและฟังมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ายกตัวอย่างคนไข้ ที่ทำสำเร็จ และคนไข้ที่ทำไม่สำเร็จ และลงเอยด้วยมะเร็งปอด

สิ่งที่ผู้สูบบุหรี่ควรเริ่มทำเป็นก้าวแรกนั้น อยู่ที่จิตใจของแต่ละบุคคล ต้องออกมาจากตัวเองมากที่สุด อย่างคนอื่นบอกอาจไมเชื่อ ไม่ได้ผลเท่ากับตัวเอง ต้องคิดเอง อาจต้องกำหนดวันหยุดสูบแน่นอนลงไป และตั้งเป้าหมายว่า จะต้องทำให้ได้ ภายในหนึ่งหรือสองอาทิตย์ เช่น ยาตัวใหม่ที่ชื่อ Chantix เขาจะให้รับประทาน 1 อาทิตย์ก่อนหยุด พอ 1 อาทิตย์ก็ต้องหยุดเลย ก็ต้องมีคนคอยแนะนำ และคอย support ให้ความสนับสนุน เช่นมีศูนย์โทรศัพท์ ที่คนไข้สามารถจะโทรไปคุยได้ หรือมีหมอมีพยาบาลที่คอยให้กำลังใจ บางคนต้องใช้เวลาประมาณ 6 ถึง 9 ครั้ง กว่าจะสำเร็จก็มี ที่น่าสนใจก็คือ คนไข้ที่สูบบุหรี่ อย่างน้อยที่สุด 70 เปอร์เซนต์อยากหยุด แต่ก็หยุดไม่สำเร็จ

ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง จะสามารถให้ความสนับสนุนผู้อยากเลิกสูบบุหรี่ได้บ้าง แต่ตัวคนไข้เองสำคัญที่สุด ญาติพี่น้องจะสามารถให้ความสนับสนุน ให้กำลังใจ ส่วนใหญ่คนไข้มักเสียกำลังใจ เช่น พยายามจะหยุด แต่ไม่สำเร็จ กลับไปสูบใหม่ ครั้งที่สองครั้งที่สามไม่สำเร็จ ก็หมดกำลังใจ ถ้าเป็นญาติพี่น้อง ควรให้กำลังใจบอกว่า จากสถิติ บางคนใช้เวลาถึง 6 ครั้ง 9 ครั้ง กว่าจะสำเร็จ คนไข้จะได้ไม่ท้อถอย และพยายามต่อไป

ยกตัวอย่างสถิติที่ผ่านมา คนไข้ที่หยุดด้วยตัวเอง ประมาณแค่ 5 เปอร์เซนต์ ได้ผล จิตใจต้องเข้มแข็ง ทำเองแต่ถ้าลองให้ยา placebo หรือยาเม็ดน้ำตาล candy ปรากฏว่า หยุดได้ 17 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่า บางทีก็อยู่ที่จิตใจเหมือนกัน บางคนที่ใช้ยาที่เรียกว่า บิวโพรเพียน หรือ ไซแบน หยุดได้ 30 เปอร์เซนต์ ยาตัวใหม่ แชนติคส์ หยุดได้ถึง 44 เปอร์เซนต์ ซึ่งน่าสนใจว่าจะต้องดูต่อไป และถ้าเป็นกรุ๊ปหรือเป็นคลาสเป็นคอร์ส รวมกับวิธีทั้งหลาย หมอคิดว่า น่าจะถึง 50 เปอร์เซนต์

XS
SM
MD
LG