หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจีนรายงานว่า เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในกรุงปักกิ่ง ได้เข้าตรวจค้นโรงงานผลิตตะเกียบไม้ไผ่ประเภทใช้คั้งเดียวแล้วทิ้ง พร้อมทั้งยึดตะเกียบเกือบ 5 แสนคู่ไว้เป็นของกลาง หลังจากสืบทราบว่าตะเกียบที่ผลิตจากโรงงานนี้ ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่จะบรรจุใส่ซองขาย
นายวู เจ้าของโรงงานดังกล่าวยอมรับว่า เขาไม่มีใบอนุญาติในการทำธุรกิจ และมีรายได้ในการขายตะเกียบประมาณ 1,000 หยวน หรือราว 4,000 บาทต่อวัน ซึ่งราคาตะเกียบนั้นตกคู่ละ 17 สตางค์ แต่ถ้าเศรษฐกิจดี เขาขายตะเกียบได้ถึง 1 แสนคู่ต่อวัน
นับตั้งแต่จีนได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงปี 1970 จีนประสบปัญหาอย่างมากในการควบคุมตรวจสอบมาตรฐานการผลิตสินค้า ซึ่งนอกจากจะขาดแคลนบุคคลากรที่เข้ามาบังคับใช้กฏหมายแล้ว นักธุรกิจหลายคนที่หวังแต่จะทำกำไรแต่ขาดคุณธรรม ที่จริงแล้วข่างเรื่องอันตรายจากการใช้ตะเกียบไม่ใช่เรื่องที่พึ่งค้นพบใหม่ เพราะเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางการของฮ่องกงและไต้หวัน ได้ออกข่าวเตือนเรื่องอันตรายจากการใช้ตะเกียบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของทั้งสองแห่งนี้ได้ทำการสุ่มตรวจตะเกียบไม้ไผ่แบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และนำมาตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งปรากฏว่าตะเกียบไม้ไผ่ที่ดูขาวสะอาดน่าใช้นั้น เป็นผลจากการฟอกสีโดยใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีผู้ผลิตบางรายที่นำไม้ที่ไม่มีคุณภาพมาทำตะเกียบ จึงต้องใช้สารฟอกสีทำให้ตะเกียบดูขาวสะอาด ซึ่งสารนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และหายใจขัดข้อง
ในขณะเดียวกันกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ได้รณรงค์ให้คนหันมาใช้ตะเกียบซึ่งนำมาจากบ้าน และพกติดตัวไว้ใช้เวลารับประทานอาหารที่ภัตตาคาร ซึ่งนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้แล้ว ยังสามารถลดปริมาณขยะได้คนละ 11 กิโลกรัมต่อปี