ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“ไตโซ” แหล่งรับขยะอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค หรือ E-Waste


ไตโซ เป็นเมืองอุตสาหกรรมทางด้าน ตอ. ของจีน ซึ่งในแต่ละวันจะมีเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ลำเลียงสินค้ามุ่งหน้าไปยังสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจอีกอย่างที่ทำให้เมืองนี้คึกคักขึ้นมา คือการเป็นแหล่งรับขยะจากอุปกรณ์ของใช้ ซึ่งชาวโลก ตต. ไม่ต้องการ

คุณลิว หวินเซน ทำงานอยู่ที่เมืองนี้บอกว่า เศษขยะเหล่านี้อาจเป็นพิษเป็นภัยและให้โทษ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะที่สำคัญกว่านั้นก็คือเขามีงานทำเพื่อเลี้ยงครอบครัว คุณลิวทำงานอยู่ที่โรงงานแยกสลายชิ้นส่วนโลหะไตโซ อันเป็นจุดหมายปลายทางของวัสดุเหลือใช้ และเศษชิ้นส่วน จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค หรือที่เรียกว่า E-Waste วันละเกือบ 4,000 ตัน

โรงงานเเห่งนี้มีคนงานอยู่หลายร้อยคน ซึ่งแต่ละคนจะมีหน้าที่ถอดแผงวงจรคอมพิวเตอร์ และสายไฟเพื่อแยกโลหะมีค่า อย่างเช่นทองคำ และทองแดงออกมา แต่หลักฐานของกลุ่มด้านสิ่งแวดล้อมแสดงว่า หลังจากการสกัดโลหะมีค่าออกมาแล้ว เศษขยะส่วนที่เหลืออยู่นั้นจะถูกนำไปโยนทิ้งตามแม่น้ำลำธาร

คุณเชน เจนเยน เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมคนหนึ่งบอกว่า กบในแม่น้ำลำธารของเมืองนี้มีความพิกลพิการต่างจากที่อื่น เพราะบางตัวจะมีแขนขาพิเศษงอกออกมา และเขาเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นผลมาจากโลหะ หรือสารเคมีในอุปกรณ์เครื่องใช้อิเล็คทรอนิคที่สร้างมลภาวะในแหล่งน้ำ เพราะในบริเวณนี้ไม่มีอุตสาหกรรมอื่นใดอยู่เลย

ถึงแม้มลภาวะดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อผู้คน และจีนจะมีกฏหมายที่ห้ามนำเข้าเศษขยะ E-Waste นี้ก็ตาม แต่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคเหลือใช้จากต่างประเทศ ก็ยังคงมุ่งหน้าไปที่เมืองไตโซนี้อย่างไม่หยุดยั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธุรกิจนี้ช่วยสร้างงานให้กับผู้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก และอีกส่วนนั้นเป็นเราะว่ารัฐบาลจีนไม่มีทางที่จะควบคุม หรือตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ทุกเมืองท่าได้

กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอีกกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า บาเซิล แอคชั่น เนตเวิร์ค เคยติดตามเส้นทางขยะ E-Waste และได้พบว่าส่วนหนึ่งมีเส้นทางมาจากสหรัฐ อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ จอภาพ หรือเครื่องถ่ายเอกสารเก่า ที่รัฐบาลของรัฐอิลลินอยส์นำออกประมูลขายนั้น แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอิลลินอยส์จะไม่รู้ หรือไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ ว่าผู้ที่มาประมูลซื้ออุปกรณ์อเล็คทรอนิคเก่าของตนในราคาถูกๆ จะมีวัตถุประสางค์อย่างไรก็ตา แต่คุณจิน ทัคเก็ต ผู้ประสานงานของกลุ่มบาเซิล แอคชั่น เนตเวิร์ค ชี้ว่าประเทศอื่นๆ หลายประเทศมีกฏหมายที่ห้ามการส่งเศษขยะประเภท E-Waste ไปยังต่างประเทศ แต่สหรัฐนั้นยังไม่มีกฏหมายควบคุมเรื่องนี้

นอกจากจะไม่มีกฏหมายควบคุมการส่งออกขยะอิเล็คทรอนิคประเภท E-Waste เพื่อนำไปทิ้งในต่างประเทศแล้ว สหรัฐยังเป็นหนึ่งในบรรดาไม่กี่ประเทศทั่วโลกด้วยที่ไม่ยอมลงนาม และให้สัตยาบัญรับรองอนุสัญญาบาเซิลอันเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ห้ามการส่งขยะ E-Waste ไปยังประเทศหนึ่ง โดยมีจุดหมายปลายทางไปทิ้งในอีกประเทศหนึ่ง

XS
SM
MD
LG