ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แนวทางเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ขององค์การอนามัยโลก


การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอาจไม่เป็น ผลดีต่อผู้ป่วยเสมอไป รายงานขององค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีผู้ป่วย อย่างน้อย 1 ล้าน 4 แสนคนที่มีอาการแย่ลงหลังจากที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล เพราะมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในระหว่างที่รักษาตัว

องค์การอนามัยโลกแนะแนวทางเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วย ซึ่งก็ไม่ใช่วิธีที่ยากเย็นอะไรเลยนะครับ ปัจจุบันมีคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ทุกแห่งทั่วโลกราว 10% ที่อาจต้องบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิตเนื่องจาก กระบวนการรักษาผิดพลาด หรือการขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างคนไข้กับหมอ หรือพยาบาล ดร. Liam Donaldson ประธานของพันธมิตรเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย แห่งองค์การอนามัยโลก กล่าวในที่ประชุมแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตันเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ระบบสาธารณสุขทั่วโลกจะหันมาใส่ใจความต้องการของผู้ป่วย ให้มากขึ้น

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความ ผิดพลาดในการรักษาคือความสับสน ในเรื่องของชื่อยาที่คล้ายคลึงกันหรือชื่อยาที่ออกเสียงคล้ายๆกัน องค์การอนามัยโลก ระบุว่ามียาตามท้องตลาดหลายหมื่นชนิด ที่มีชื่อทางตระกูลยาหรือชื่อเครื่องหมาย การค้าที่คล้ายกัน รวมทั้งใบสั่งยาของหมอที่เขียนด้วยลายมือที่แทบจะอ่านไม่ออก ใบสั่งของโรงพยาบาลและฉลากยาข้างขวด ก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดพลาด ในการรักษาเช่นกัน

นอกจากนี้ การพยายามให้มีการสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ด้าน การแพทย์ก็เป็นแนวทางแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง นายแพทย์ Dennis O'Leary หนึ่งใน คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานสำหรับโรงพยาบาลในอเมริกาบอกว่า ความล้มเหลวในการสื่อสารทำให้ทุกอย่างเสียหาย ตั้งแต่การรักษาผิดจุดไปจนถึงความเข้าใจผิดๆ ในการรักษาผู้ป่วย นายแพทย์ Dennis O'Leary กล่าวด้วยว่าปัญหาดังกล่าว เป็นสาเหตุที่ทำให้มีคนไข้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุดสาเหตุหนึ่ง

ในขณะเดียวกัน คุณหมอ Tebogo Letlape จากอัฟริกาใต้ อดีตนายกแพทยสมาคม โลก เชื่อว่าการใช้เข็มฉีดยาเพียงครั้งเดียวและการล้างมือเป็นประจำ คือแนวทาง ที่สำคัญ 2 แนวทางในการแก้ปัญหาความผิดพลาดจากการรักษา นายแพทย์ผู้นี้เชื่อว่าการแพร่เชื้อไวรัส HIV AIDS และโรคติดต่ออื่นๆ สามารถควบคุมได้ด้วยการฆ่าเชื้อในเข็มฉีดยาหรือใช้เข็มฉีดยาเพียงครั้งเดียว และล้างมือกันให้บ่อยขึ้นครับ

แนวทางแก้ปัญหา ขององค์การอนามัยโลกเหล่านี้จะได้รับการเผยแพร่ไปสู่ ระบบสาธารณสุขของบรรดาประเทศสมาชิกทั้ง 193 ประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว สถาบันการแพทย์สหรัฐตีพิมพ์ รายงานที่มีคำแนะนำทำนองเดียวกัน นายแพทย์ Albert Wu แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอบกิ้นส์ ผู้ร่วมเขียนรายงานชิ้นดังกล่าวบอกว่า คนไข้ก็ควรจะ ดูแลตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย ไม่เช่นนั้นรายงานต่างๆก็คงจะไร้ประโยชน์

นายแพทย Albert Wu คิดว่าการที่หมอมีความรู้ในเรื่องการรักษาโรคมากกว่า ไม่ได้หมายความว่าหมอจะทราบทุกเรื่องเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ดังนั้นถ้าหากคนไข้ ต้องการจะบอกอะไร หมอก็จำเป็นต้องรับฟังและควรใส่ใจฟังสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้มากขึ้น เพื่อนำมาพิจารณาเพื่อใช้ในการตัดสินใจต่างๆ ประกอบการรักษา

XS
SM
MD
LG