ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การใช้แม่เหล็ก หรือ TMS ช่วยชะลออาการของโรคอัลไซเมอร์


นิตยสาร New Scientist รายงานว่า ดร. ฟอร์จูนาโต บัตแทคเกลีย และ ดร. โหว ยานวอง แห่งมหาวิทยาลัย City University ที่รัฐนิวยอร์ค ศึกษาวิจัยผลกระทบของการกระตุ้นกระโลหกศีรษะด้วยแม่หล็ก หรือ TMS ด้วยการนำเทคนิคที่ว่านี้ไปใช้บำบัดให้กับหนูทดลองเป็นเวลา 5 วัน แล้วจึงตรวจสมองของหนูเหล่านั้น

นักวิจัยทั้งสองคนพบว่าการกระจายของเซลล์พื้นฐาน หรือ Stem Cell เกิดขึ้นมากมายในสมองของส่วนที่เรียกว่า เดนเทต ไจรัส ฮิปโปแคมปัส เซลล์เหล่านี้แบ่งแยกตัวตลอดช่วงที่มีชีวิต และเชื่อกันว่ามีบทบาทสำคัญในการควบคุมความจำ และพื้นอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยทั้งสองพบว่า ตัวรับความรู้สึกตัวหนึ่งในเซลล์ ได้รับการกระตุ้นให้ทำงาน

ผลการศึกษาวิจัยในอันดับต่อมา ซึ่งจะได้รับการพิมพ์ออกเผยแพร่ในอีกไม่ช้า แสดงว่าการทำงานของตัวรับความรู้สึกที่ว่านี้เสื่อมลงในหนู และในคนที่เป็นโรคสมองฝ่อ หรืออัลไซเมอร์ ดร. ฟอร์จูนาโต บัตแทคเกลีย กล่าวว่าเมื่อนำผลการวิจัยทั้งสองรายมาพิจารณาประกอบกันจะเห็นว่า มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญสำหรับการฟื้นฟูบำบัดเซลล์ประสาท เขากล่าวว่าเมื่อคนเป็นสโตรคนั้น จะมีบริเวณหนึ่งที่ชำรุดเสียหาย และมีหลายวิธีที่จะทำให้สมองของคนเรากลับฟื้นคืนตัวได้ วิธีหนึ่งได้แก่บริเวณที่ชำรุดเสียหายจะต้องทำงานหนักขึ้น และนั่นคือเรื่องที่เราสามารถช่วยส่งเสริมด้วยการกระตุ้นสมอง เขากล่าวเสริมด้วยว่า บริเวณที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัสนั้น อยู่ลึกมาในสมองของคนเรา ดังนั้นเราจะต้องมั่นใจได้ว่าเทคนิค TMS จะสามารถก่อให้เกิดผลกระทบแบบเดียวกันกับที่ก่อให้เกิดขึ้นในหนู เขากล่าวต่อไปว่าเทคนิคดังกล่าวอาจทำให้อาการ หรือช่วยหน่วงเหนี่ยวโรคอย่างเช่นโรคสมองฝ่อ มิให้รุนแรงมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ถ้าเทคนิค TMS ทำงานได้ผล เทคนิคดังกล่าวมีลู่ทางว่าจะช่วยชะลออาการสมองฝ่อมิให้เป็นรุนแรงหนักขึ้น มากกว่าที่จะช่วยรักษาโรคนั้นให้หายขาดได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การวิจัยที่ว่านี้ ก่อให้เกิดกำลังใจ แต่จำเป็นจะต้องนำไปทดลองกับมนุษย์เพื่อดูว่าจะได้ผลแบบเดียวกันนั้นหรือไม่

XS
SM
MD
LG