ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไรในอนาคต?


หนึ่งในหลายๆ กองทุนของชุมชนที่เจริญแล้วก็คือ คลังเก็บข้อมูลและความ รู้ที่เรียกกันว่า “ห้องสมุด” แต่ในยุคดิจิตัล ผู้คนจำนวนมากต่างหาข้อมูลจากอินเตอร์เนต หรือสื่อในรูปแบบ ดิจิตัลต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น ในขณะเดียวกัน ข้อมูลต่างๆ ก็ขยาย ตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นสำคัญในการ ประชุมเกี่ยวกับ อนาคตของห้องสมุดที่มหาวิทยาลัย Rice ในนคร Houston

ห้องสมุดแบบดั้งเดิมมีหนังสือนิตยสารและวารสารมากมาย ที่พิมพ์ไว้บนหน้ากระดาษ แต่ข้อมูล จำนวนมากที่พบได้ในห้องสมุดทุกวันนี้ ยังสามารถพบได้ทางคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการ ที่เราสามารถหาข้อมูลมากมายได้สะดวกง่ายดายทางอินเตอร์เนต จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า “ห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไรในอนาคต” ตามมา

คำถามดังกล่าวเป็นหัวข้อสำคัญในการประชุมที่ห้องสมุด เดอ ลาง ที่ซึ่งแม้แต่บรรดาบรรณารักษ์ ที่เข้าร่วมประชุมเองยังอดไม่ได้ที่จะใช้อินเตอร์เนตในระหว่างที่นั่งฟังการบรรยายไปด้วย

คุณชัค เฮนรบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไรส์กล่าวว่า ห้องสมุดเป็นสถาบันที่มีมา นานหลายพันปี และตอนนี้ก็กำลังมีการ เปลี่ยนแปลงรูปโฉมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คุณเฮนรี่ตั้งข้อ สังเกตว่า เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มวลมนุษยได้สร้างข้อมูลข่าวสารขึ้นมา มากกว่าที่เคยสร้างมาทั้ง หมดในช่วง 1 พันปีก่อน การเก็บรักษาและติดตามให้ทันข้อมูลทั้งหมด นับว่าเป็นความท้าทายที่ ใหญ่หลวง แม้ว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บไว้ในเซิฟเวอร์ของคอมพิวเตอร์มากมายทั่วโลกก็ตาม

บรรณารักษ์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไรส์ผู้นี้กล่าวอีกว่า แม้ว่าจะมีเรื่องของการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน มากมาย แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ก็ยังเสี่ยงต่อการสูญหาย ดังนั้นจึงมีคำถามว่า เราจะสามารถจัดการ กับเวบเพจเป็นพันๆ ล้านเวบเพจ หนังสือหลายสิบล้านเล่ม ตลอดจนบทความวารสาร และ ภาพศิลปะ และเอกสารที่จัดเก็บในรูปของการบันทึกเสียงอย่างไรให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ข้อมูล เหล่านี้ได้รับการเก็บรักษาและดูแลซ่อมบำรุงอยู่ตลอดเวลา แต่ในตอนนี้ยังไม่มีนโยบายสำหรับ เรื่องนี้เลย

นอกจากนั้นยังมีคำถามอีกว่า บรรณารักษ์จะมีบทบาทอย่างไร ในยุคที่มีข้อมูลมากมาย ออนไลน์ คุณไบรอัน กู้ดวิน บรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัย Mount Holyoke ในแมสซาชูเส็ท กล่าวว่า บรรดานักเรียนและนักวิจัยยังต้องการความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์อยู่ แม้ว่าในปัจจุบันจะ มีคำถามน้อยลง แต่ก็ได้มีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น เมื่อคนเหล่านั้นไม่สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ได้ พวกเขาก็จะกลับมาขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ นี่ก็เป็นบทบาทของมนุษย์ซึ่งคุณ ไบรอัน กู้ดวินเชื่อว่า จะช่วยให้ห้องสมุดคงไว้ซึ่งความเป็นสถาบันต่อไปอีกนาน

การกระหายในความรู้ และความจำเป็นในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของ ความเจริญมาเป็นเวลาหลายพันปี

คุณ Noha Adly บรรณารักษ์ชาวอียิปต์ ซึ่งบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ห้องสมุด คือสถาบันหอสมุดอเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นห้อง สมุดที่เก่าแก่ ที่สุดในโลก 1,600 ปีหลังจากที่หอสมุดแห่งนี้ถูกทำลายลงไป ตอนนี้มีการสร้าง หอสมุดอเล็กซานเดรียใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นผลงานชิ้นเอก และเป็นโครงการที่มี ความท้าทายมาก ความสูญเสียหอสมุดออเล็กซานเดรีย ยังคงทำให้นักประวัติศาสตร์และนักวิจัยโหยหาข้อมูล ความรู้ที่สูญเสียไปจนถึงทุกวันนี้นะคะ บรรณารักษ์ผู้นี้เชื่อว่า ห้องสมุดคือกองทุนแห่งความ พยายามของชาติต่างๆ ในการที่จะยกระดับการพัฒนา และ ความก้าวหน้า และว่าห้องสมุด เป็นเเหล่งข้อมูลที่จะช่วยหล่อเลี้ยงบรรดานักวิจัย และเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์พืชผลซึ่งจะเป็นสิ่ง หล่อเลี้ยงประเทศต่างๆ

คุณ Noha Adly และบรรณารักษ์คนอื่นๆ มองเห็นอนาคตที่น่าตื่นเต้นของห้องสมุดต่างๆ ทั้งในโลกคอมพิวเตอร์ และในอาคารซึ่งเป็นที่รวบรวมจัดเก็บความรู้ต่างๆ เอาไว้

XS
SM
MD
LG