ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“โรคเบาหวาน” ที่กำลังลุกลามในเอเชีย


จากนครบอมเบย์ ไปจนถึงกรุงปักกิ่ง ชาวเอเชียชั้นกลางที่เป็นเศรษฐีใหม่ นำวิถีชีวิตแบบตะวันตก มาใช้กันมากขึ้น ผู้อยู่อาศัยตามเมืองต่างๆ เลือกที่จะรับประทานอาหาร ฟาสต์ฟู้ดที่มีแคลอรี่สูง แทนที่จะรับประทานอาหารแบบถูกสุขลักษณะ และยังออกกำลังกายกันน้อยลงทุกวัน

ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ “โรคเบาหวาน” ที่ลุกลามอย่างรวดเร็วในเอเชีย ซึ่งส่วน ใหญ่แล้วมีสาเหตุมา จากน้ำหนักตัวที่มาก เกินไป และการไม่ออกกำลังกาย โรคนี้ขยายตัวอย่าง รวดเร็วในเอเชียมากกว่า ที่ใดๆ ในโลก และเริ่ม ส่งผลกระทบต่อคนหนุ่มสาวด้วย

“โรคเบาหวาน” กำลังลุกลามอย่างรวดเร็วในเอเชีย 4 ใน 10 ของประเทศที่มีประชากรเป็นโรคเบา หวานมากที่สุดในโลกอยู่ในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และปากีสถาน เฉพาะที่อินเดียเพียง แห่งเดียว คาดว่ามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 35 ล้านคน นับว่ามากกว่า ประเทศอื่นๆ ในโลกเลยก็ว่าได้

สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ตับอ่อนจะปล่อยสารอินซูลิน ซึ่งเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้กลาย เป็นพลังงาน. แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจเป็นได้ทั้งจากการที่ร่างการสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกาย ไม่สามารถใช้อินซูลินที่ผลิตขึ้นมาได้ ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในกระแสเลือด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากการที่เป็นโรคอ้วน หรือขาดการ ออกกำลังกาย สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักเรียกกันว่าเป็นโรคเบาหวานสำหรับคนที่อายุยังน้อย โดยปกติแล้ว จะเกิดกับเด็ก และผู้ใหญ่ตอนต้น และจะเกิดขึ้นต่อเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไปทำลายสารอิน ซูลินที่ร่างกายสร้างขึ้นมา โรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดสามารถนำไปสู่ภาวะโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ไตวาย และตาบอดได้

ในตำราแพทย์มักจะอธิบายถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ว่าเป็นโรคของคนวัยกลางคน และผู้สูงอายุ แต่คุณโจนาธาน ชอว์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคเบาหวานระหว่างประเทศ ในออสเตรเลีย กล่าวว่า คนที่อายุต่ำกว่า 40 ปีเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย

คุณโจนาธาน ชอว์บอกว่า ปัจจุบันในเอเชียมีผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20 และ 30ปีเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 กันทั่วไป และยังมีรายงานว่าวัยรุ่น หรือแม้แต่เด็กก็เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้กันด้วย จะเห็นได้ ว่าอายุเฉลี่ยของคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้กำลังลดน้อยลงทุกที

สาเหตุหลักของโรคเบาหวานคือรูปแบบการดำเนินชีวิต ชาวเอเชียที่มีฐานะร่ำรวยหันมาใช้ชีวิตแบบ ตะวันตกกันมากขึ้นเช่นการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูง และใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ หรือไม่ก็นั่งทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์วันละนานๆ

และเนื่องจากโรคเบาหวานนี้เกี่ยวโยงกับรูปแบบการดำเนินชีวิต จะเห็นได้ว่าผู้คนตามเมืองใหญ่ๆ ในเอเชียมักจะเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่อาศัยอยู่ตามชนบท ตัวอย่างเช่นที่อินเดีย คนที่อาศัย อยู่ในเมืองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน มากกว่าคนที่อยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ถึง 4 เท่า

คุณโจนาธาน ชอว์บอกว่าโรคเบาหวานลุกลามในเอเชียรวดเร็วกว่าที่อื่นๆ ยกตัวอย่างในประเทศ ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานราว 67 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 99 ล้านคนภายในปี พศ. 2568, หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 48 เปอร์เซนต์ ส่วนประเทศที่อยู่ทางอนุทวีปอย่างบังคลาเทศ ปากีสถาน และศรีลังกา นั้นคาดว่าในปัจจุบันมีผู้ ป่วยโรคเบาหวานอยู่ 47 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 80 ล้านคนภายในระยะเวลา 18 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานกล่าวว่า การทำให้รัฐบาลต่างๆ ในเอเชียตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมาก ต้องได้รับ ยาทุกวันเพื่อให้มีชีวิตรอด บางคนต้องกลายเป็นคนพิการ หรือต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงอยู่ใน โรงพยาบาล สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่บั่นทอนงบประมาณของรัฐบาลให้น้อยลงไป

XS
SM
MD
LG