นอกจากจะมีการกล่าวหาและคาดคะเนไปต่างๆ นาๆ เกี่ยวกับเหตุจูงใจและผู้ที่อาจอยู่เบื้องหลังการวางยาพิษแล้ว ตัวยาพิษที่แพทย์พบก็เป็นข่าวด้วย เพราะเป็นยาพิษที่หายาก
เจ้าหน้าที่สืบสวนของอังกฤษพบร่องรอยของสารโพโลเนี่ยม 210 ตามสถานที่ที่นายอเล็กแซน เดอร์ ลิทวิเนนโค่ ไปปรากฎตัวในวันที่ล้มป่วยลง, และคนอีกสามคนถูกส่งตัวไปรับการตรวจสอบกัมมันต ภาพรังสี เพื่อจะดูว่าถูกปนเปื้อนด้วยสารดังกล่าวด้วยหรือไม่ ตำรวจกรุงลอนดอนได้ปิดร้านอาหาร ญี่ปุ่นที่เขาไปรับประทานในวันนั้น รวมทั้งโรงแรมมิลเลนเนี่ยมที่เขาไปพบกับบุคคลสองคน และบ้านที่ พักของเขาเอง เจ้าหน้าที่พบร่องรอยของโพโลเนี่ยม 210 ในทั้งสามสถานที่
มีการคาดเดากันเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการฆาตกรรมครั้งนี้ ที่ไม่ต้องคาดเดาเลย คือข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของใครก็ตาม คนผู้นั้นจะต้องมีความเชี่ยวชาญและมีเส้นสายใหญ่ เพราะโพโลเนี่ยมเป็นสารที่หายาก ไม่มีให้หยิบฉวยได้ง่ายๆตามห้องแล็บโดยทั่วไป
คุณไกย่า วิ๊นซ์ ของนิตยสาร New Scientist ให้ความเห็นไว้ว่าสารนี้มาจากการผลิต และจะต้องมา จากแหล่งผลิตนิวเคลียร์เพราะจะต้องใช้นิวทรอนจำนวนมากในการผลิต ซึ่งทำไม่ได้ง่ายๆ โพโลเนี่ยม 210 มีกัมมันตภาพรังสี และถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ล้มป่วย มีความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก และถึงแก่ชีวิตในที่สุด
ดร. รอดเจ้อร์ ค้อกซ์ (Roger Cox) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวัสดุที่มีกัมมันตภาพรังสี อธิบายว่าถ้ารับประทานโพโลเนี่ยม 210 เข้าไป โดยจะเข้าไปกับเชื้อไวรัส เมื่อรับประทานเข้าไป สูดเข้าไป หรือเข้าไปทาง บาดแผล สารนี้จะแพร่ไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว ไปตามอวัยวะส่วนใหญ่ และถ้าเข้าไปในปริมาณที่ มากพอ จะทำลายเนื้อเยื่อในลักษณะเดียวกับการฉายรังสี
นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลก ปีแอร์ และมารี คูรี่ เป็นผู้ค้นพบโพโลเนี่ยมเมื่อปี ค.ศ. 1897 มาดามคูรี่ เป็นผู้ตั้งชื่อโดยอาศัยชื่อประเทศบ้านเกิดคือ โปแลนด์เป็นพื้นฐานด้วยความหวังว่า จะเรียกร้องความ สนใจจากชาวโลกให้กับความทุกข์ยากของโปแลนด์ ซึ่งเวลานั้นอยู้ใต่อิทธิพลของรัสเซีย ปรัสเชีย และ ออสเตรีย กล่าวได้ว่าโพโลเนี่ยมอาจเป็นสารที่ถูกตั้งชื่อขึ้น เพื่อยกประเด็นปัญหาทางการเมืองให้โดด เด่นเป็นที่สนใจ และกว่าร้อยปีให้หลัง โพโลเนี่ยมก็กำลังเป็นจุดสนใจอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้เสียชีวิต กล่าวหาไว้ว่า ทำเนียบเครมลินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมครั้งนี้